แน่นอนว่าที่มาของกติกา ข้อบังคับในการทำงานของแต่ละองค์กรคงต้องประกอบไปด้วยกฎ ระเบียบที่ต้องไม่ขัดกับกฎหมายแรงงานและรวมไปถึงมารยาทต่างๆในการทำงานร่วมกัน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาความขัดแย้ง และสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่น
ทีนี้พอมาพูดถึงข้อบังคับในการทำงานที่ทุกๆองค์กรควรจะต้องมี ซึ่งต้องสอดคล้องกับกฎหมายและพระราชบัญญัติต่างๆที่เกี่ยวข้องกับสถานประกอบการและแรงงานด้วยนะ เข้าใจว่านอกจากข้อบังคับตามกฎหมายที่เกี่ยวกับการจ่ายค่าจ้างแล้ว อีกเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคนทำงานในแต่ละวันมากที่สุดก็คือเรื่อง “การลางาน” นั่นเอง
เราได้เกริ่นไปแล้วว่าการลางานอ่ะ เป็นสิทธิที่ลูกจ้างอย่างพวกเราจะต้องได้ตามกฎหมาย แต่อย่างไรก็ตาม การใช้สิทธิการลาต่างๆ ก็ควรปฏิบัติตามระเบียบขั้นตอน และมารายาทในการทำงานร่วมกันด้วยนะ #ใจเขาใจเราอ่ะเนอะ คิดดูว่าถ้าเราต้องเข้าไปอยู่ในทีมที่ใครๆก็จะหยุดงานเมื่อไหร่ก็ได้แบบไม่ต้องบอกกล่าวใคร ไม่บอกหัวหน้า ไม่บอกเพื่อนร่วมงาน มันจะเป็นอย่างไร
แล้วตามกฎหมายแรงงานต่างๆเนี่ยะ มีเรื่องอะไรบ้างที่เกี่ยวข้องกับการลางาน หรือ หยุดงาน มาดูกันนิดนึงนะคะ เผื่อว่าน้องคนไหนเพิ่งเริ่มทำงานจะได้ทำความเข้าใจไว้ก็ดีค่ะ
• วันหยุดประจำสัปดาห์ เป็นสิทธิที่เราต้องได้อย่างน้อย 1 วันต่อสัปดาห์ค่ะ (โดยให้มีระยะห่างกันไม่เกิน 6 วันนะคะ) ยกเว้นงานบางประเภทค่ะ เช่น สำหรับงานโรงแรม งานขนส่ง งานในป่า งานในที่ทุรกันดาร หรืองานอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวงอาจตกลงกันสะสมและเลื่อนวันหยุดประจำสัปดาห์ไปหยุดเมื่อใดก็ได้ภายในระยะเวลา 4 สัปดาห์ติดต่อกัน
• วันหยุดตามประเพณีค่ะ ซึ่งก็คือวันสำคัญทางศาสนาและวันสำคัญตามขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่นค่ะ ซึ่งต้องไม่น้อยกว่า 13 วันต่อปีนะคะ โดยจะต้องรวมวันแรงงานแห่งชาติด้วยเป็น 1 ใน 13 วันหยุดนั้นค่ะ ซึ่งถ้าวันหยุดตามประเพณีตรงกับวันหยุดประจำสัปดาห์ให้หยุดชดเชยวันหยุดตาม ประเพณีในวันทำงานถัดไป ยกเว้นงานในกิจการโรงแรม สถานมหรสพ ร้านขายอาหาร ร้านขายเครื่องดื่ม อาจตกลงกันหยุดวันอื่นชดเชยวันหยุดตามประเพณี หรือจ่ายค่าทำงานในวันหยุดให้ก็ได้ค่ะ
ซึ่งวันหยุดตามประเพณีในแต่ละปีกฎหมายกำหนดให้ทุกบริษัทต้องประกาศให้พนักงานทราบล่วงหน้านะคะ แต่ทีนี้ก็จะมีวันหยุดที่เกิดขึ้นจากวันสำคัญๆ หรือเหตุการณ์เฉพาะกิจตามช่วงเวลา ที่มีประกาศจากทางราชการตามมาภายหลังจากที่บริษัทได้ประกาศไว้ อันนี้ก็ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของแต่ละบริษัทแล้วค่ะว่าจะหยุดเพิ่มหรือไม่ พนักงานอย่างเราๆจะไปคิดเอาว่าต้องได้หยุดเพิ่มแน่นอนไม่ได้นะคะ
• วันหยุดพักผ่อนประจำปี หรือที่เรียกติดปากกันว่าวันพักร้อน เป็นสิทธิที่ต้องได้ไม่น้อยกว่า 6 วันทำงานต่อปี สำหรับลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันมาครบ 1 ปี ถ้าในปีนั้นๆใช้วันหยุดพักผ่อนประจำปีไม่หมด อาจตกลงกันล่วงหน้าในปต่ละบริษัทว่าจะสามารถสะสมและเลื่อนวันหยุดพักผ่อนประจำปี ไปรวมหยุดในปีต่อ ๆ ไปได้แค่ไหน อย่างไรบ้าง เป็นต้น ซึ่งหลายๆบริษัทต้องทำความเข้าใจก่อนนะคะว่าการหยุดพักผ่อนประจำปีเป็นสิทธิที่พนักงานจะสามารถใช้เพื่อหยุดงานไปทำอะไรก็ได้ หยุดงานไปนอนเล่นเฉยๆอยู่บ้านก็ได้ค่ะ สิ่งที่บริษัทควรทำก็คือกำหนดข้อตกลงเรื่องการใช้วันหยุดพักร้อนให้พนักงานทราบล่วงหน้าว่ามีกติกาอย่างไร เช่น ระบุว่าต้องแจ้งล่วงหน้ากี่วัน หรือต้องแจ้งให้ใครรับทราบ เป็นต้น แต่ในการกำหนดข้อบังคับเรื่องนี้ บริษัทต้องอธิบายเรื่องความจำเป็นของการที่จะให้พนักงานทำตามขั้นตอนเหล่านี้ด้วยนะคะว่ามีความสำคัญอย่างไร และถ้าไม่ทำจะเกิดผลกระทบอะไรกับงานและบริษัทบ้าง
เหล่านี้ก็เป็นสิทธิการหยุดงานที่พนักงานทุกคนต้องได้รับตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดให้ค่ะ แต่จะมีการหยุดงานอีกประเภทนึงซึ่งก็คือ “การลา” เนื่องจากเหตุผลบางอย่างที่กฎหมายกำหนดว่านายจ้างต้องให้สิทธิกับลูกจ้างเพื่อลางานตามความจำเป็นค่ะ ก่อนอื่นมาดูกันว่าเราลาไปทำอะไรได้บ้าง
• ลาป่วยได้ตามจริงนะคะ บางคนอาจจะเข้าใจว่าลาป่วยได้แค่ 30 วันต่อปี ตามกฎหมายแล้วลูกจ้างสามารถลาป่วยได้ตามจริงค่ะ ซึ่งบริษัทจะต้องให้สิทธิในการลาป่วยแบบยังได้ค่าจ้างไม่น้อยว่า 30 วันต่อปี ซึ่งบริษัทส่วนใหญ่ก็ให้ตามนี้ค่ะ เอาจริงๆนะ การลาป่วยนี่เป็นการลาที่พนักงานใช้มากที่สุดละ ก็เลยต้องมาทำความเข้าใจเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการลาป่วยกันซะหน่อยนะ เช่น บริษัทสามารถกำหนดให้ลูกจ้างที่ต้องลาป่วยตั้งแต่ 3 วันทำงานขึ้นไป ต้องมีใบรับรองของแพทย์แผนปัจจุบันชั้น 1 หรือของสถานพยาบาลของทางราชการมาประกอบการลาเท่านั้นได้ หากลูกจ้างไม่เอามายื่นประกอบการลาให้นายจ้างทราบ ก็ #ไม่ถือเป็นวันลาป่วย นะคะ อย่าเข้าใจผิดว่าชั้นมีสิทธิ์ ชั้นจะลา อะไรงี้ไม่ได้นาจา
• ลากิจ เดี๋ยวนี้กฎหมายให้สิทธิมากขึ้นแล้วนะคะ ถ้าเป็นเมื่อก่อนอ่ะกฎหมายกำหนดแค่ว่าให้นายจ้างจัดวันลาเพื่อให้พนักงานไปประกอบกิจธุระส่วนตัวที่จำเป็นของลูกจ้าง ซึ่งไม่ได้บังคับให้บริษัทต้องจ่ายเงินในวันลากิจด้วยนะ เลยมีบางที่ที่ให้ลาได้ แต่หักเงินเดือนในวันนั้นๆ แต่ในปัจจุบันนี้ กฎหมายใหม่กำหนดให้มีสิทธิลากิจได้ โดยได้รับค่าจ้างอย่างน้อย 3 วันทำงานต่อปี (บริษัทไหนให้มากกว่านี้ก็ไม่ผิดกฎหมายนะคะ ไม่ต้องกลัวๆ 55) และบริษัทสามารถกำหนดขั้นตอนการลากิจได้นะว่าลูกจ้างอย่างพวกเราต้องทำอย่างไรบ้าง เช่น บ่างบริษัทอาจจะระบุประเภทของกิจธุระอันจำเป็นไว้ในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเลยว่ามีเรื่องอะไรบ้าง (แต่ก็ต้องไม่ขัดกับกฎหมายแรงงานเนอะ) เพราะฉะนั้นบางคนที่คิดว่าจะบอกหัวหน้าแค่ว่าขอลากิจค่ะ แต่ไม่ระบุว่าไปทำอะไร หรือระบุแต่ไม่ตรงกับข้อบังคับในการทำงาน ก็ลากิจไม่ได้เด้อ อย่ามั่นหน้าจนเกินไปว่ากฎหมายคุ้มครองดิชั้น ดิชั้นจะลาไปทำอะไรก็ได้ 555 บอกเลยว่าไม่ได้จ้า
• และยังมีวันลาอืนๆอีกนะที่ลูกจ้าสามารถลาได้แบบได้รับค่าจ้างด้วย นั่นก็คือ ลาทำเพื่อทำหมัน อันนี้ไม่ต้องรวมกับลาป่วยนะ ลาเพื่อไปทำหมันนี่แหละ 55 เก๋ดีนะ ซึ่งก็มีสิทธิได้รับค่าจ้างตามวันหยุดที่แพทย์ระบุด้วยนะ และอีกอันคือการลาเพื่อรับราชการทหารค่ะ ลูกจ้าง มีสิทธิ์ลาเพื่อรับราชการทหารในการเรียกพลเพื่อตรวจสอบ เพื่อฝึก วิชาทหาร หรือเพื่อทดสอบความพรั่งพร้อม โดยลาได้เท่ากับจำนวนวันที่ทางการทหารเรียก และได้รับค่าจ้างตลอดเวลาที่ลาแต่ไม่เกิน 60 วันต่อปีไปเลยจ้า
เอาหละ มาถึงตรงนี้แล้ว เราต้องเข้าใจก่อนนะคะว่าเป็นสิทธิที่กฎหมายคุ้มครองให้ใช้ลาได้ แต่ต้องเป็นไปตามเหตุผลและตรงกับประเภทของการลานะคะ เรื่องเหล่านี้จะไม่มีปัญหาเลยถ้าเราทำให้ถูกต้อง แต่ถ้าเราใช้มันผิดประเภท ผิดวัตถุประสงค์ของการลา บอกเลยว่าความวุ่นวายจะตามมาอีกเยอะเลยค่ะถ้าบริษัทเค้าจะเอาจริงเอาจังกับคุณขึ้นมา เช่น กับพนักงานบางคนที่หัวหน้าเพ่งเล็งไว้ละว่าคนนี้วินัยก็ไม่ดี ผลงานก็ไม่ได้ แล้วถ้าเราสร้างจุดอ่อนให้ตัวเองด้วยการหยุดงานแบบไม่แคร์สื่อ ลาแบบไม่บอกว่าลาเพราคิดว่ากฎหมายให้สิทธิมาแล้ว คุณอาจจะต้องเจอกับการเลิกจ้างแบบไมได้รับค่าชดเชยได้นะคะ ถ้าเป็นการลาแล้วไม่ได้รับการอนุมัติจนทำให้มีการขาดงานติดต่อกัน 3 วัน หรือการลาผิดประเภท เช่นบอกว่าลาป่วยแต่ไปเดินห้างสวยๆกับแฟนไรงี้ บริษัทอาจจะลงโทษคุณจากความผิดอื่นๆได้อีก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการโกหก หรือการละทิ้งหน้าที่ทำให้เกิดความเสียหายต่องานและธุรกิจ อะไรต่างๆอีกมากมาย
ถึงแม้ว่าในปัจจุบันนี้หลายๆบริษืทจะลดความเข้มงวดเรื่องเวลางาน การลา หรือการหยุดงานลงไปแล้ว แต่ยังเชื่อว่าหลายๆที่ก็ยังให้ความสำคัญกับวินัยในการทำงาน และมารยาทในการร่วมทีมกันอยู่นะคะ การใช้สิทธิอย่างตรงไปตรงมา และการบอกกล่าวล่วงหน้าตามระเบียบของบริษัทเมื่อจะต้องหยุดงานถือว่าเป็นการให้เกียรติตัวเอง และเพื่อนร่วมงานค่ะ
#รักนะคะ
#เจ้าหญิงแห่งวงการHR