ใช่ค่ะ ลาออกได้ไม่ผิดอะไร ถ้าการตัดสินใจลาออกจะทำให้เรามีชีวิตที่ดีขึ้น !!!
พระอาทิตย์ไม่ได้ขึ้นเพราะไก่ขัน เช่นกัน ทุกองค์กรนั่นแหละ ขาดเราไปคนนึงยังไงซะเค้าก็ต้องหาทางไปต่อของเค้าให้ได้อยู่แล้ว
แต่เราต่างหากที่ต้องรับผิดชอบชีวิตตัวเอง เราก็ต้องตอบตัวเองให้ได้ว่าการลาออกแต่ละครั้งของเรา เป็นไปตามเหตุและผล หรือแค่อารมณ์ชั่ววูบ
โดยธรรมชาติของมนุษย์ ถ้าเรายึดตามหลักทฤษฎีความต้องการตามลำดับขั้นของมาสโลว์ (Hierarchy of Needs) จะเห็นว่าพวกเราแต่ละคนใช้ชีวิต รวมไปถึงทำงานเพื่อเป้าหมายแต่ละ step ในชีวิตเรา และแน่นอนว่าในแต่ละช่วงเวลา ความต้องการก็แตกต่างกันไปตามสถานการณ์ รวมถึงอาจจะต้องการมากกว่าแค่ 1 อย่างในเวลาเดียวกันด้วยก็เป็นไปใช่มั้ยคะ
นำมาเชื่อมโยงกับธรรมชาติของคนทำงานอย่างเราๆ เป้าหมายในการตื่นเช้าออกจากบ้านมาทำงานของแต่ละคนย่อมแตกต่างกัน
• บางคนมาทำงานเพื่อมีรายได้มาใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน เพื่อตอบสนองความต้องการทางกายภาพพื้นฐาน เพื่อนำไปซื้ออาหาร จ่ายค่าที่พัก ซื้อเสื้อผ้า รวมไปถึงค่าใช้จ่ายที่จำเป็นอื่นๆ เพราะฉะนั้นการลาออกเพื่อหางานใหม่ที่มีรายได้เพิ่มขึ้น ที่ต้องเพียงพอกับค่าใช้จ่ายจึงเป็นเหตุผลสำคัญในการต้องเปลี่ยนงาน
• บางคนทำงานเพื่อสร้างความมั่นคงปลอดภัยให้ชีวิต เช่นเพื่อให้เกิดความมั่นคงทางการเงิน มีเงินเพียงพอที่จะใช้จ่ายในกรณีฉุกเฉิน กลุ่มนี้นอกจากจะเลือกงานใหม่จากรายได้แล้ว ยังพิจารณาถึงความมั่นคงขององค์กร และสวัสดิการ การดูแลพนักงานที่ดีอีกด้วย
• บางคนที่มีรายได้อยู่ในระดับที่ดีและมีงานที่มั่นคงแล้ว ก็อาจจะมองหาความรักและความเป็นเจ้าของ ซึ่งหลายคนเลือกจะเปลี่ยนงานเพราะต้องการสภาพพแวดล้อมในการทำงานที่ดีขึ้น มีเพื่อนร่วมงานที่ดี ต้องการความเป็นทีม และความเป็นส่วนหนึ่งของทีมที่ดี ซึ่งรวมไปถึงการได้รับการชื่นชมจากเพื่อนร่วมงาน และหัวหน้างานด้วยนะคะ
• ในอีก step ของการทำงาน จะช้าจะเร็ว ขึ้นอยู่กับความคาดหวังของแต่ละคน แต่จะมีจุดนึงที่เราจะมองหาความก้าวหน้าในการทำงาน การต้องการตำแหน่งที่สูงขึ้น ไม่ใช่แค่เพราะต้องการแค่เงิน แต่ยังต้องการความยอมรับนับถืออีกด้วย เมื่ออายุมากขึ้น ประสบการณ์ในการทำงานมากขึ้น ความมั่นใจในตัวเองมากขึ้น และที่สำคัญคือมีความคาดหวังในตัวเองและความคาดหวังจากคนอื่นมากขึ้น การต้องการการยอมรับนับถือด้วยตำแหน่งที่สูงขึ้นจึงเป็นเป้าหมายในการทำงานของบางคน เมื่อไม่ได้รับจากที่ทำงานปัจจุบันจึงต้องหางานใหม่เพื่อ ให้ได้สิ่งนี้
• What a man can be, he must be : อะไรที่เขาเป็นได้ เขาต้องเป็น … นั่นคือแต่ละคนจะมีภาพที่ตัวเองต้องการจะเป็น สุดท้ายแล้วจะมีคนกลุ่มนึงที่เลือกจะลาออกจากงานที่ดี เพื่อไปทำงานที่ต้องการ แต่จะช้าหรือเร็วก็ขึ้นอยู่กับความพร้อมในด้านต่างๆ หรือขึ้นอยู่กับ Passion ที่ แต่ละคนมี บางคนอาจจะยอมแลกกับความต้องการด้านอื่นๆเพื่อให้ได้ทำในสิ่งที่อยากทำ หลายองค์กรจึงเริ่มมีนโยบาย Work at home หรือนโยบายการจ้างงานแบบ Outsource ขึ้น เพื่อให้พนักงานบางคนที่ไม่ได้ต้องการเป็นพนักงานประจำมีเวลาในการไปทำงานที่ตัวเองรักควบคู่กับงานที่สร้างรายได้เพื่อให้ตัวเองยังมีความมั่นคงพื้นฐานอยู่
เมื่อเราเข้าใจความต้องการของตัวเองว่าเราทำงานไปทำไม สิ่งที่ควรต้องคิดไว้ตั้งแต่วันแรกที่เริ่มทำงานคือ นับตั้งแต่นี้ เราจะเป็นคนเลือกงาน ไม่ใช่แค่ให้งานเลือกเรา เราควรทำให้ตัวเองมีความพร้อม มีความสามารถ มีศักยภาพเพียงพอที่จะโดดเด่น และเป็นคนเลือก นึกถึงการประกวดร้องเพลงรายการนึง ที่นักร้องที่เก่งจะมีโอกาสเลือกได้ว่าจะอยู่กับโค้ชคนไหนที่ตัวเองต้องการ แบบนั้นเลยค่ะ การมีโอกาสในการเลือกมันสนุกดีนะคะ
ในมุมของผู้บริหารองค์กร หรือหัวหน้างานก็เช่นกัน นอกจากในฐานะที่เป็นพนักงานคนนึง พวกคุณยังเป็นคนที่ต้องรู้ว่าพนักงานคนไหนที่มีความสำคัญมากต่องานของคุณ เพื่อจะรักษาเค้าไว้ คุณจำเป็นต้องเข้าใจความต้องการของทีมงานแต่ละคนว่าเค้าทำงานไปเพื่ออะไร หน้าที่ของคุณไม่ใช่แค่ให้ในสิ่งที่เค้าต้องการ แต่เป็นการพัฒนาเค้าให้มีความสามารถ และมีผลงานเพียงพอกับความต้องการของทีมงานแต่ละคนของคุณด้วย
ในฐานะ HR นะคะ จากประสบการณ์ในการสัมภาษณ์พนักงานที่จะลาออก สิ่งที่เราต้องหารให้เจอไม่ใช่แค่ปัญหาในอดีตหรือปัจจุบันของเค้า แต่ยังต้องหาเป้าหมายในชีวิตของเค้าให้เจอด้วย คนที่ลาออกไม่ใช่แค่ไม่พอใจอะไรบางอย่าง แต่ความไม่พอใจหรือไม่มีความสุขในการทำงานมักจะมาจากการที่องค์กรไม่สามารถให้สิ่งที่เค้าต้องการได้ ซึ่งถ้า HR หรือหัวหน้างานไม่สนใจที่จะพัฒนาเค้าให้ได้รับสิ่งที่เค้าต้องการในเวลาที่เหมาะสม ก็จะนำไปสู่การต่อรองในช่วงสุดท้ายของการทำงาน ตอนจะลาออก ก็เป็นวิธีการดูแลพนักงานที่ไม่ค่อยดีเท่าไหร่นะคะ
ในปัจจุบันหลายๆองค์กรจึงให้ความสำคัญกับ Existing Interview มากกว่า Exit Interview แล้วค่ะ นั่นคือการสนใจสอบถามเป้าหมาย และความต้องการของพนักงานที่ยังอยู่ด้วย ไม่ใช่แค่ไปรอถามตอนเค้าจะลาออก เพื่อให้ได้มีโอกาสรู้ก่อนว่าจะต้องทำอย่างไรเพื่อรักษาพนักงานของเราไว้กับองค์กรได้
ตามกฎหมายแรงงาน มองแบบภาพรวมนะคะ สิทธิ์ในการลาออกเป็นสิ่งที่ลูกจ้างอย่างพวกเราทำได้ง่ายกว่าการที่ฝั่งนายจ้างจะไล่เราออกค่ะ นั่นเพราะเรามีสิทธิ์เลือกที่จะทำ หรือไม่ทำงานไหน (ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงการเป็นลูกจ้าแต่ไม่ทำงานให้นายจ้างนะคะ แหะๆ) แต่ก็นั่นแหละค่ะ ขอให้มั่นใจว่าเราลาออกเพื่อทำให้ชีวิตตัวเองดีขึ้น และทุกครั้งที่เลือกงานใหม่ นอกจากจะต้องเลือกที่ที่ตอบสนองความต้องการของเราได้แล้ว เมื่อเข้าไปทำงานแล้วก็ต้องสร้างโอกาสให้ตัวเอง ทำให้ตัวเองเก่งขึ้น มีผลงานที่ดีอยู่เสมอนะคะ เพราะอย่างไรก็ตามเราควรลดความเสี่ยงในการกลายเป็นคนไม่สำคัญขององค์กรให้น้อยที่สุด เพราะการเปลี่ยนแปลงต่างๆในวงจรธุรกิจปัจจุบันมันรุนแรงและรวดเร็วเหลือเกิน นอกจากการจะทำให้ตัวเองมั่นคงแล้วเพื่อความอยู่รอดของตัวเองแล้ว ควรต้องเป็นคนที่มีส่วนทำให้องค์กรมั่นคงด้วยนะคะ เราถึงจะมีโอกาสเลือกสิ่งที่ต้องการได้มากกว่าค่ะ
#รักนะคะ
#เจ้าหญิงแห่งวงการHR
ความเห็น 9
Off
Gen zเลยลาออกกันทุก2-3เดือนนี่เอง หาจ้างรุ่นทำงานทนๆดีกว่า ออกกันบ่อย เจ้าของเจ๊งได้จ้า
11 ต.ค. 2562 เวลา 00.09 น.
Rainny L.(อิมกึมบี)🌦
ลาออกเพื่อแลกกับเอาสุขภาพจิตที่ดีคืนมา ไม่มีคำว่าอารมณ์ชั่ววูบ ถ้าอยู่ทำงานที่นั่นต่อไป จะกลายเป็นคนประสาทเสีย ชีวิตดีขึ้นมาจริงๆ ดีกว่าทำงานต่อไปแล้วกลายเป็นคนโรคจิต
10 ต.ค. 2562 เวลา 23.54 น.
พวกมีปัญหาในองค์กรควรออก
10 ต.ค. 2562 เวลา 23.00 น.
โชค
น่าจะบอกพวกราชการนะาายได้ไม่ดีเงินเดือนไม่แพงแต่หน้าด้านทำจนเกษียน
10 ต.ค. 2562 เวลา 13.53 น.
อย่างที่บทความว่า ไม่มีอะไรซับซ้อน
การลาออกไม่ใช่ความผิด เช่นเดียวกับการไล่พนักงานที่ไม่มีศักกยภาพออก
10 ต.ค. 2562 เวลา 11.52 น.
ดูทั้งหมด