โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

“โหราศาสตร์ผ่าน 4G” จริงบ้างมั่วบ้าง! แล้วทำไม “คนไทย” ถึงยังเชื่อในการดูดวง?

Another View

เผยแพร่ 10 ก.พ. 2562 เวลา 01.00 น.

“โหราศาสตร์ผ่าน4Gจริงบ้างมั่วบ้าง!แล้วทำไมคนไทยถึงยังเชื่อในการดูดวง?

สังคมไทยกับการดูดวงนั้นอยู่คู่กันมายาวนาน ไม่ว่าเทคโนโลยีจะก้าวหน้าไปไกลเพียงใด การดูดวงก็ยังมีอยู่และได้รับความนิยมเสมอ ทำไมเราถึงยังเชื่อในศาสตร์แห่งการทำนายอยู่ การดูดวงปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัยอย่างไร

โหราศาสตร์นับว่าเป็นศาสตร์ที่เก่าแก่มาก ที่กำเนิดขึ้นมาตั้งแต่สมัย "บาบิโลเนีย" ชาวบาบิโลนใช้การเคลื่อนที่ของดวงดาวมาผูกเข้ากับดวงชะตาแล้วนำมาทำนายเหตุการณ์สำคัญต่าง ๆ ทั้งการเมือง สงคราม รวมทั้งชะตาชีวิต พวกเขาเชื่อว่าการเคลื่อนที่ของดวงดาวเป็นสารที่ส่งมาจากพระเจ้า ในปัจจุบันการดูดวงได้กลายเป็นสิ่งที่คนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้ง่าย ครอบคลุมทั้งเรื่องของความรัก สุขภาพ การงาน รวมทั้งเรื่องใกล้ตัวทุก ๆ คน

ก่อนหน้านี้ไม่นานนักการดูดวงในนิตยสารได้รับความนิยมอย่างมาก อย่างนิตยสาร "คู่สร้างคู่สม" รวมถึงนิตยสาร "ILIKE" ซึ่งเป็นที่ชื่นชอบของเหล่าวัยรุ่น แต่การเข้ามาของอินเตอร์เน็ตและโทรศัพท์มือถือทำให้บทบาทของนิตยสารลดน้อยลง ความนิยมในการดูดวงด้วยนิตยสารจึงลดน้อยลง คอลัมน์การดูดวงได้มีการปรับตัวเข้าสู่เว็บไซต์ เช่น Pantip, Sanook, Mthai ที่มีคนกดเข้าไปชมต่อวันเป็นจำนวนมาก

การดูดวงได้ปรับตัวเข้ากับแพลตฟอร์มใหม่ ๆ ทั้งการไลฟ์สดที่กำลังได้รับความนิยมอย่างมาก รวมถึงแอพพลิชั่นดูดวงที่รวบรวมหมอดูออนไลน์ชื่อดังมาไว้ด้วยกัน แพลตฟอร์มลักษณะนี้จะมีการคิดค่าบริการเป็นครั้ง ๆ โดยอาจจะจำกัดเวลาหรือคำถามที่จะถามหมอดูในแต่ละครั้ง

การดูดวงผ่านแอพพลิเคชั่นมีให้เลือกหลากหลายรูปแบบ เช่น การเสี่ยงเซียมซี ไพ่ยิปซี ไพ่ทาโร่ ก็กลายร่างมาอยู่ในรูปแบบแอพพลิเคชั่นทั้งสิ้น ทำให้การดูดวงในปัจจุบันนี้เราไม่จำเป็นต้องไปหาหมอดูอีกต่อไป เพียงแค่มีอินเตอร์เน็ตและโทรศัพท์มือถือก็สามารถที่จะดูดวงได้ทุกที่ ทุกเวลา การดูดวงในลักษณะนี้ทำให้หมอดูสามารถติดต่อสื่อสารกับกลุ่มผู้ดูดวงได้ง่าย และสามารถใช้ช่องทางของโซเชียลมีเดียต่าง ๆ ในการหาลูกค้าเพิ่มได้

แม้ว่ายุคสมัยจะเปลี่ยนแปลงไปมากน้อยแค่ไหน แต่การดูดวงได้มีการปรับตัวให้คนรุ่นใหม่นั้นเข้าถึงได้ง่าย ใช้ภาษาและสัญลักษณ์ที่เข้าใจง่ายไม่ซับซ้อน ไม่ว่ารูปลักษณ์ของการดูดวงจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร หรือการดูดวงจะวิวัฒนาการไปมากแค่ไหน แต่จุดร่วมกันก็คือไม่ว่าเวลาจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร มนุษย์ก็ยังคงอยากรู้เรื่องของอนาคตอยู่เสมอ

คนเรามักจะมีความกังวลถึงอนาคตอยู่เสมอ ยิ่งในปัจจุบันที่มีการแข่งขันสูง เศรษฐกิจที่ไม่ค่อยจะดีเท่าไหร่ อนาคตก็จะยิ่งไปเรื่องน่ากลัวมากขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้ผู้คนในยุคนี้มีความเครียดเพิ่มขึ้นตามไปด้วย การดูดวงจึงเสมือนเป็นเครื่องมือที่ช่วยบรรเทาความเครียดของพวกเขาลงได้ เพราะจากงานวิจัยเรื่อง “พฤติกรรมการดูดวงของคนเมืองในเขตกรุงเทพมหานคร” ของ อัครกิตติ์สินธุวงศ์รี พบว่า หลังจากดูดวงแล้วกว่า 2 ใน 3 บอกว่าพวกเขามีความทุกข์ลดลงกว่าครึ่งหนึ่ง

แม้ว่าโลกเราจะซับซ้อนมากขึ้นเพียงใดหรือเทคโนโลยีจะเจริญก้าวหน้ามากแค่ไหนมนุษย์เราก็ยังมีความรู้สึกไม่มั่นคงเพราะเราไม่สามารถล่วงรู้ว่าอนาคตวันข้างหน้าจะเป็นอย่างไรตราบใดที่เรายังมีความกังวลอยากรู้อนาคตมนุษย์ก็ยังคงต้องพึ่งการดูดวงอยู่แม้ว่ามันจะเปลี่ยนรูปร่างหน้าตาไปเป็นแบบใดก็ตาม

 

อ้างอิง

http://digi.library.tu.ac.th/thesis/jc/1976/title-biography.pdf

https://www.tci-thaijo.org/index.php/socialresearchjournal/article/view/91100/71553

https://www.theatlantic.com/health/archive/2018/01/the-new-age-of-astrology/550034/

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0

ความเห็น 19

  • คนที่เขาเชื่อเพราะเขาพบและเจอกับตนเองเจอสิ่งที่คนส่วนมากไม่เชื่อ คนที่ไม่เคยที่คิดจะเชื่อก้อเชื่อเพราะเขาเห็นในสิ่งที่คนส่วนมากไม่เห็น นั้นและครับ สิ่งพวกนี้ยังมีอยู่ และเป็นส่วนน้อยที่จะพบและเจอสิ่งดีๆๆ กับชีวิต ส่วนตัวแล้วก็ไม่ค่อยเชื่อ แต่ก็เจอมาเยอะครับ เพราะยุคสมัยนี้คนเชื่อไม่ค่อยได้ จ้องแต่จะโกง ไม่มีความจริงใจ
    11 ก.พ. 2562 เวลา 10.02 น.
  • suthep subongkot
    โง่งัย
    11 ก.พ. 2562 เวลา 07.27 น.
  • แป๊ก
    กูไม่เคยเชื่ออย่ามาเหมารวม
    10 ก.พ. 2562 เวลา 17.04 น.
  • T.cho
    คนจะเชื่อเรื่องแบบนี้ส่วนใหญ่ก็เพราะขาดความมั่นใจในตัวเอง ถ้าเชื่อแบบกลางๆไม่งมงาย ก็ไม่มีอะไรเสียหาย เช่น ถ้ามันบอกวันนี้เราดวงไม่ดี. เราก็เเค่ระมัดระวังให้มากขึ้น ก็จบ ไม่ใช่กรูไม่ออกจากบ้านเลย แบบนี้ก็เกินไป
    10 ก.พ. 2562 เวลา 13.36 น.
  • Kanchit
    แค่ความบันเทิงรูปแบบหนึ่งแค่นั้นแหละ ใครจะเอาชีวิตไปฝากไว้กับคำพูดคนอื่น ไม่ใช่ผมคนนึงแหละ
    10 ก.พ. 2562 เวลา 12.44 น.
ดูทั้งหมด