ใครที่ผ่านไปผ่านมาบนถนนวิภาวดี-รังสิต คงจะเคยสังเกตเห็น ‘เสาตอม่อเลียบรางรถไฟ’ รกร้างอยู่มาเป็นเวลานาน… เราเอง ก็เป็นหนึ่งคนที่บ้านอยู่ละแวกนั้น การเดินทางไป-กลับ จากที่ทำงานทุกครั้ง จะเห็นเสาร้างตั้งตระหง่าน ทรุดโทรมไปตามเวลา จนกลายเป็นที่ที่ กราฟฟิตี้ มักมาละเลงงานศิลปะลงที่เสา ประโยชน์เดียวของตอม่อเหล่านี้ คงจะเป็นที่นั่งหลบแดดหรือจุดให้อาหารนกเพียงเท่านั้น
มหากาพย์โครงการ ‘โฮปเวลส์’
เริ่มจาก ปัญหาการจราจรติดขัดในกรุงเทพฯ เป็นจุดเริ่มต้นของ โครงการระบบการขนส่งทางรถไฟและถนนยกระดับในเขตกรุงเทพมหานคร ในปี 2532 ซึ่งบริษัทที่ชนะประมูลคือ บริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) ของนักธุรกิจชาวฮ่องกง โดยตลอดทั้งโครงการ รัฐไม่ต้องลงทุน ซึ่งข้อแม้คือ โฮปเวลส์จะได้สัมปทานตลอดเส้นทาง สามารถเก็บค่าผ่านทาง ซึ่งระหว่างทางก็มีเสียงจากหลายฝ่ายว่า มีใครได้ผลประโยชน์จากเรื่องนี้มั้ย? จะไปรอดรึเปล่า? เพราะกำหนดเวลาคือ 8 ปี เป็นการ ‘ออกแบบไป ก่อสร้างไป’ ทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ รวมถึงเกิดความล่าช้า จนเมื่อปีที่ 7 การก่อสร้างทั้งหมดเพิ่งคืบหน้าไปแค่ 20 % เท่านั้น และเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2541 ก็ถึงจุดจบโครงการ(ไร้)ความหวังนี้
‘ค่าโง่’ ที่ต้องจ่าย
เมื่อไม่นานมานี้ โครงการโฮปเวลส์ ได้บทสรุป คือ รัฐต้องเสียค่าโง่ ถึง 1.2 หมื่นล้าน ให้กับโฮปเวลส์ ตามคำวินิจฉัยของศาลปกครองสูงสุด
ไม่ใช่แค่การสูญเสียเงินจำนวนมหาศาล แต่ยังรวมไปถึงเวลาที่เสียไปของการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะที่ประชาชนควรได้รับ จากคำมั่นสัญญาที่ไร้ความหวัง…
จากโครงการโฮปเลส(Hopeless) สู่รถไฟชานเมืองเฮลพฟูล(Helpful)
ปัจจุบัน เสาตอม่อโฮปเวลล์ถูกแทนที่ด้วยโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง และรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรลลิงก์ ที่การรถไฟฯ ตัดสินใจให้ บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) รับช่วงต่อ ความจริงใกล้เข้ามาเมื่อเราเริ่มเห็นแนวทางรถไฟยกระดับที่เป็นรูปเป็นร่าง และจะมีการทดสอบการวิ่งให้บริการเสมือนจริง ก่อนจะเปิดให้บริการในต้นปี 2564
เราขับรถตามเส้นรถไฟนี้ จากสถานีวัดเสมียนนารี จนมาถึงสถานีดอนเมือง เห็นความคืบหน้าที่เกือบเสร็จสมบูรณ์ ถ้าโครงการนี้พร้อมใช้งาน จะช่วยลดปัญหาการติดขัดบนถนน , ทำให้ความเจริญไม่กระจุกอยู่แค่ในกรุงเทพฯ ชั้นในเท่านั้น และเชื่อมการเดินทางให้ครอบคลุมทำให้รถไฟชานเมืองสามารถเดินรถเชื่อมต่อกับระบบรถไฟฟ้าในเส้นทางอื่นได้ กลายเป็นความหวังที่กล้าจะหวังอีกครั้ง…
สถาปนิก นึกอะไร?
ทางการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ให้ข้อมูลผ่านเว็บไซด์ ถึงรายละเอียดของโครงการว่า ‘ในอนาคตโครงการนี้จะมีเส้นทางต่อเนื่องไปจนถึงจังหวัดนครปฐม เพื่อให้การเดินทางระหว่างชานเมืองกับ ใจกลางเมืองสะดวกและรวดเร็วขึ้น แนวทางรถไฟสายนี้อยู่ในเขตทางของทางรถไฟสายใต้ จึงไม่มีปัญหาในการเวนคืนและการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินซึ่งเป็นปัญหาที่มีผลกระทบต่อประชาชน’
ที่นี่ตื่นเต้นกว่า คือ ขบวนรถไฟผ่านการคิดและออกแบบเฉพาะสำหรับสภาพอากาศประเทศไทย ภายในขบวนออกแบบเพื่อลดความร้อน เพิ่มความโฟลวของอากาศในตู้ จำนวนที่นั่งมากขึ้น หน้าต่างใหญ่มองเห็นมองเห็นทัศนียภาพได้สบายตา ทั้งหมดนี้คือความร่วมมือกันของกลุ่มบริษัท MHSC ที่รับช่วงต่อในเรื่องรถไฟทั้งหมด
ระบบขนส่งเปลี่ยนไปตามยุคสมัย จากโครงการ(ไร้)ความหวังในวันนั้น ไม่ถูกทอดทิ้งให้รกร้างไปตามเวลา โครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ – รังสิต จะเป็นเส้นทางที่เชื่อมการคมนาคมให้คล่องตัวมากยิ่งขึ้น เป็นความหวังใหม่ที่ช่วยแก้ปัญหาให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าเดิม…
.
ครั้งหน้า สถาปนึก จะพาไปสำรวจที่แห่งไหน หรือ มีสถานที่แปลกใหม่ที่รอให้เราไปค้นหา ก็คอมเมนต์กันมาได้ / ติดตามกันได้ทุกวันเสาร์ ทาง LINE TODAY ที่เดียวค่ะ
.
อ้างอิง
ความเห็น 99
WasBurana
อัพเดตข่าวปี66กรือยังคะ
26 ก.ย 2566 เวลา 05.39 น.
Oat Oat
ทำไมรัฐถึงต้องเสียให้บริษัทโฮปเวลล์มันในเมื่อมันทำให้โครงการล่าช้าเอง งง
28 ส.ค. 2563 เวลา 14.12 น.
พญาจ่า24
👎😡😭🤮🤑🤨😫🤑☠😤🤬🚮
28 ส.ค. 2563 เวลา 14.09 น.
PJT ⚪🟣🔵🟢🟡🟠🔴
ทำไมไม่สร้างสวนสาธารณะ จะได้กลายเป็นสวนสาธารณะบนตอหม้อที่ยาวที่สุดในโลก
25 ส.ค. 2563 เวลา 17.02 น.
Kom 456
โกงกิน ตักตวงผลประโยชน์เกือบทุกรัฐบาล...
ตั้งแต่เด็กยันแก่...
25 ส.ค. 2563 เวลา 11.37 น.
ดูทั้งหมด