‘จากแดดร้อน ๆ พอเดินเข้าไปอยู่ใต้ร่มไม้ ก็รู้สึกดีอย่างบอกไม่ถูก’
‘ต้นไม้’ คำนี้ถูกพูดถึงโดยกลุ่มคนรุ่นใหม่เป็นอย่างมากในปัจจุบัน อย่างเทรนด์การปลูกต้นไม้ หรือการพักผ่อนผ่านการเที่ยวธรรมชาติ ที่มีให้เห็นผ่านตากันมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งนับว่าเป็นกระแสของแนวคิดที่ดีมากเลยทีเดียว เพราะเทรนด์เหล่านี้ จะนำไปสู่ ‘ความยั่งยืน’ ในวันข้างหน้า
‘สถาปนึก’ ก็ถูกนึกผ่านแนวคิดที่อยากนำเสนอ สิ่งที่สร้างขึ้น โดยนึกถึงใจสังคม ให้ชีวิตดีขึ้นและยั่งยืน เราจึงของประเดิมอาทิตย์แรก ด้วยการนำเสนอ‘2 พื้นที่สีเขียวสาธารณะ’ ที่แฝงตัวอยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯ อาจจะเป็นHidden Place สำหรับใครหลาย ๆ คน หรือหลังจากอ่านบทความนี้ จะกลายเป็น ที่ประจำ ของคุณก็เป็นได้
รู้มั้ย มีพื้นที่สีเขียวในเมือง ช่วยอะไร?
ถ้าพูดให้เข้าใจง่ายคือ ‘การมีจำนวนต้นไม้ที่ครอบคลุมกับจำนวนคนหรือมากกกว่า’ ซึ่งส่วนมากจะอยู่ในรูปแบบ สวนสาธารณะ สวนหย่อม หรือสวนป่า ที่ทุกคนสามารถใช้ประโยชน์ร่วมกันได้
ยิ่งมีเยอะ เขาจะช่วยเราปรับคุณภาพของอากาศ ที่เราสูดหายใจเข้าไป , เพื่อความร่มรื่น และใครจะรู้ว่า ความเหนื่อยล้า ความเครียดที่คนเมืองเจออยู่ในปัจจุบัน สามารถบำบัดได้ด้วย ‘พื้นที่สีเขียว’ นี่แหละ :)
The Bird Wave Bridge (สะพานคลื่นนก)
สะพานที่ทอดอยู่ท่ามกลางความสงบ ที่ความตั้งใจแรกเพื่อใช้เป็นสะพานดูนก เชื่อมสวนวชิรเบญจทัศ และสวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ เข้าด้วยกัน
(ภูมิ)สถาปนิก นึกอะไร?
คุณ นำชัย แสนสุภา ภูมิสถาปนิก บริษัท ฉมา จำกัด ได้ให้สัมภาษณ์กับ The Cloud ว่า ‘ทำอย่างไร ให้สิ่งปลูกสร้างใหม่ ไม่ไปรบกวนและเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมเดิม’ โดยสะพานไม้ยาว 50 เมตรนี้ ทำมาจากไม้รีไซเคิลทั้งสิ้น ซึ่งจากที่เราได้ไปใช้เวลาอยู่ที่สะพานนี้ เราได้เห็นธรรมชาติที่ยังคงอยู่เหมือนเดิม มีกระรอก นก และความร่มรื่นที่เขาตั้งใจไว้จริง ๆ
พระปกเกล้า สกายพาค
อีกฟากของคนเมือง มีการปรับปรุง สะพานทิ้งร้าง ให้กลายเป็นสวนสาสารณะ เชื่อมระหว่าง ฝั่งพระนครกับฝั่งธนฯ ที่ใช้เวลากว่า 5 ปี ในการปรับปรุงภูมิทัศน์เกาะกลางสะพานปกเกล้าเสียใหม่ โดยศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC) ให้กลายเป็นสวนลอยฟ้า ที่ทำให้นึกถึงครั้งที่ไป The High Line ที่นิวยอร์คที่ปรับรางรถไฟร้างให้เป็นสวนสาธารณะประโยชน์ของทุกคน
สถาปนิก นึกอะไร?
คุณ ปิยา ลิ้มปิติ สถาปนิกโครงการกรุงเทพฯ 250 ให้สัมภาษณ์กับทาง A Day Magazine ว่า ‘สะพานด้วนเป็น Leftover Asset หรือทรัพย์สินที่ไม่ได้ใช้ โครงสร้างมีความแข็งแรง ถูกคำนวณรับน้ำหนักได้มหาศาล การทำเป็นพื้นที่สาธารณะจะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพราะใครก็สามารถมาใช้พื้นที่นี้ได้’ นอกจากจะเป็นสะพานให้ได้เดินกินลมชมวิวแล้ว จากที่เราไปสัมผัสก็เห็นว่า เขาใช้พื้นที่อย่างคุ้มค่า โดยด้านล่างเป็นพื้นที่สำหรับกิจกรรมต่าง ๆ เช่น วิ่ง หรือสนามบาส , ต้นไม้ที่เขาเลือกปลูกมีผักสวนครัว สลับกับ ต้นที่มีสรรพคุณทางยาต่าง ๆ ที่สำคัญคือ วิวหลักล้านที่มองเห็นทั้งวัดอรุณราชวรารามและเห็นวิถีชีวิตทางเรือให้สบายตาอีกด้วย
2 พื้นที่สีเขียวที่ยกมานี้ เป็นส่วนหนึ่งของการเชื่อมพื้นที่สีเขียวไปสู่ชุมชน ที่จะทำให้ใครหลายคนได้มีโอกาสไปสัมผัสธรรมชาติมากขึ้นนะคะ และครั้งหน้า สถาปนึก จะพาไปพักผ่อนหย่อนใจที่ไหน ติดตามกันได้ทุกวันเสาร์ ทาง LINE TODAY ที่เดียวค่ะ
อ้างอิง
ความเห็น 18
MontriDanu
ปัญหาห้องนำ้ ห้องส้วม เมื่อไหร่ชาวบางกอกจะมีสิทธิได้ใช้ ปวดหนัก ปวดเบา ต้องใช้บริการ ร้านอาหาร โครงการที่กทม.ทำขึ้นมาเคยถามประชาชนไหมมีความเห็นอย่างไรเปิดใจ ถามความต้องการ ประชาชนก่อน สอบตก การตลาด เฟอร์นิเจอร์รกเต็มไปหมด ทั้งทางเท้า ถนน
01 ส.ค. 2563 เวลา 06.16 น.
นุชิต ฉัตรกมลกุล
ต้องขอบคุณความคิดเพื่อส่วนรวม จนทำให้พื้นที่สาธารณะทั้ง 2แห่ง กลายเป็นพื้นที่สีเขียวของคนกรุงเทพ ตบมือให้กับทีมสถาปนิก
31 ก.ค. 2563 เวลา 22.55 น.
sumana
"พระปกเกล้าสกายพาร์ค" ไม่ใช่ "พระปกเก้า"
31 ก.ค. 2563 เวลา 21.54 น.
ตรงใหนว่างก็จัดให้เขียวชะอุ่มได้ด้วยกระถางไม้ต้นไม้ดอกอยู่ต่างประเทเศเห็นเขาทำให้ร่มรื่นได้ด้วยการเอากระถางตั้งเรียงกันในห้องรับแขก็ดูร่มรื่นดีค่ะส่วนหน้าระเบียงก็จัดกระถางใหญ่ปลูกไม้ใบหนาๆเปิดประตูรับลมก็เป็นธรรมชาติร่มรื่นได้แต่ต้องใส้ใจดูแล
01 ส.ค. 2563 เวลา 02.16 น.
San
ไม่ต้องก่อสร้างหรือประดิษฐ์อะไรให้มันวิลิสมาหราหรอก แค่มีพื้นที่สีเขียวให้มากขึ้น เดี๋ยวมันก็สวยงามขึ้นมาได้เอง เมืองหลวงเรามองไปทางไหนก็เจอแต่ตึกๆเต็มไปหมด ต้นไม้ใหญ่แทบไม่มี น่าหดหู่นะ
02 ส.ค. 2563 เวลา 01.55 น.
ดูทั้งหมด