‘ สุขาอยู่หนใด? ’ ขอที่สะอาด ๆ ได้มั้ย ฉันไม่อยากอั้น…
‘ห้องน้ำ’ ที่เหมือนจะเป็นเรื่องที่ถูกมองข้ามไป แต่พอมานึกดูแล้ว การเข้าห้องน้ำที่ไม่ใช่บ้านของเรา ก็ดูน่าจะเป็นปัญหาหนักใจอยู่เหมือนกัน
ปัญหาของ ห้องน้ำสาธารณะ ที่ประชาชนอย่างเรา ๆ รู้สึกยี๊…
หนีไม่พ้นเรื่องความสะอาด ถ้าจะให้นึกภาพห้องน้ำที่นอกเหนือจาก ห้าง กับ ปั๊มน้ำมันยักษ์ใหญ่เจ้านึง แล้วนั้น ก็แทบไม่อยากเข้าไปอัดอยู่ในห้องสี่เหลี่ยมเหล่านั้นเลย ที่ตีคู่สูสีคือ ความปลอดภัย ข่าวแอบถ่าย อาชญากรรมมากมายทำให้ไม่ค่อยอยากใช้ห้องน้ำสาธารณะเสียเท่าไหร่
มาตรฐานของ ‘สุขาสาธารณะ’
แน่นอนว่า ความสะอาด โดยรวมของห้องน้ำ , โถ ต้องมาอันดับหนึ่ง
กระดาษเพียงพอ ต่อการใช้งาน
อ่างล้างมือพร้อมสบู่ ให้ความรู้สึกว่าล้างแล้วสะอาดกลับไป
กลิ่นไม่เหม็น ให้ได้หายใจสะดวกในการใช้บริการ
และมาตรฐานอีกหลายข้อที่บ่งบอกถึง 'สุขาสาธารณะ' ควรจะเป็น…
เกณฑ์มาตรฐานห้องน้ำสาธารณะของกรุงเทพมหานคร
‘สุขาสาธารณะ’ ที่ขึ้นชื่อว่า สะอาด
' จากผลการสำรวจของกรมอนามัย ในปี 2558 พบว่า สุขาสาธารณะที่คนทั่วไปเลือกใช้มากที่สุด 3 อันดับเเรก คือ ห้างสรรพสินค้า 86.64% ปั๊มน้ำมัน 73.09% และแหล่งท่องเที่ยว 58.66% '
แต่จะเป็นไปได้มั้ย ที่ห้องน้ำสาธารณะนี้ จะกระจายตัวให้ได้ใช้กันอย่างทั่วถึง… ตามนโยบายของกทม. ที่ให้ความสำคัญในการดูแลสุขภาพและสุขอนามัยของประชาชน ซึ่งสำนักอนามัยได้ดำเนินโครงการการพัฒนาการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมของกรุงเทพมหานคร (Bangkok Clean and Green) เพื่อรณรงค์ส่งเสริมให้มีการพัฒนาสุขลักษณะห้องน้ำสาธารณะให้ได้เกณฑ์มาตรฐาน และจัดให้มีกิจกรรมการประกวดสุดยอดห้องน้ำแห่งปีของกรุงเทพมหานคร ให้ยังคงพัฒนาสุขลักษณะที่ดีให้ห้องน้ำสาธารณะ
และคนหลายกลุ่มที่มองเห็นปัญหาเหล่านี้ ทั้งรัฐและเอกชน ที่พยายามปลุกปั้น โปรเจคอัพเกรด ห้องน้ำสาธารณะ ให้ สาธารณะ ได้ใช้จริง แบบไม่มีอะไรมากั้น!
.
สถาปนิก นึกอะไร?
คุณเต้ จีรเวช หงสกุล สถาปนิก Idin Architechs ให้สัมภาษณ์กับสมาคมสถาปนิกสยาม ไว้ว่า ‘ไม่ได้สร้าง Architechture ที่ไม่ได้ตอบแค่ห้องน้ำ แต่ตอบไลฟ์สไตล์ของเมืองด้วย’
‘อย่างสะพานลอย ตรงพื้นที่ที่เปล่าประโยชน์ เราใช้มันได้ , ตู้โทรศัพท์ที่มันไม่ได้ใช้แล้ว เอามาเปลี่ยนได้มั้ย สเกลมันได้มั้ย นั่งได้มั้ย เราก็เลยคิด โมดูลที่สามารถเอาฟาซาสไปล้อมกรอบเดิมแล้วเปลี่ยนมันเป็นห้องน้ำ’
‘ดีไซน์มันแก้ปัญหาเรื่องคนได้ พอคนอยู่กันเยอะ ๆ มันก็เลยไปแก้ปัญหาสังคมได้’
‘ซึ่งการออกแบบออกมาเป็น 3 ขนาด ที่มีไซส์ใหญ่-เล็ก ลดหลั่นกันไป จะเข้าไปอยู่กับเมืองอย่างไร ยิ่งกว่านั้น ห้องน้ำควรเปลี่ยนรูปแบบได้ตามบริบทของสภาพแวดล้อมเหล่านั้น'
และสุดท้าย ‘เราจะสร้างแล้ว จะให้มันคงอยู่ ได้อย่างไร’
จากก้าวแรก ไปสู่การขยับขยายโครงการต่อไปให้ทั่วถึง ในวันข้างหน้าไม่ไกล เราคงได้ใช้ สุขานอกบ้าน ที่ทั้งเก๋ไก๋ ไม่อึดอัดใจ แน่นอน
ไอเดีย และการคิดออกแบบ ของสถาปนิกที่ว่ามานี้ เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยประโยชน์ของสังคมได้ เป็นก้าวแรกที่จะพัฒนา ‘ห้องน้ำสาธารณะ’ ให้ประชาชนใช้ได้จริง ดูสะอาด ปลอดภัย รวมทั้งเป็นหน้าตาของประเทศไทย ให้ชาวต่างชาติที่มาพักผ่อนหย่อนใจ ให้หย่อน…ได้อย่างมีความสุข เราแฮปปี้ คุณก็แฮปปี้ สุขีที่สุขขา : )
.
ครั้งหน้า สถาปนึก จะพาไปพักผ่อนหย่อนใจที่ไหน ติดตามกันได้ทุกวันเสาร์ ทาง LINE TODAY ที่เดียวค่ะ
.
อ้างอิง
ความเห็น 25
Note Kc33 🎒☕️🏃🏻♂️👨🍳
BEST
ไม่ต้องหรู
พฤติกรรมจิตสำนึกคนใช้สำคัญที่สุด
ความสะอาดเรื่องใกล้ตัว
08 ส.ค. 2563 เวลา 07.50 น.
มันอยู่ที่คุณภาพของคนที่ใช้ ไม่ใช่คนที่สร้าง
เคยเห็นห้องน้ำในเอ็มโพเรียม สยามพารากอน มีเขียนเลอะเทอะบนกำแพงไหมละ นั่นล่ะคำตอบ!
08 ส.ค. 2563 เวลา 02.48 น.
SUNSHlNE
ไม่ต้องสวยเก๋ ไม่ต้องแพงหรูหรา เอาแค่ธรรมดาและขอให้สะอาดถูกสุขลักษณะ ปลอดภัยต่อผู้มาใช้ มีจำนวนเพียงพอ กระจายให้ครบทุกจุด
08 ส.ค. 2563 เวลา 05.29 น.
Chaiwat
Design ออกมาเป็นรูปร่างก่อน
ได้ไหมว่าจะสะอาดหรือเป็นบ่อขยะ
08 ส.ค. 2563 เวลา 05.20 น.
ณัฐเชษฐ์ จำรัส
เปลี่ยนพฤติกรรมคนให้ได้สำนึกการใช้ของสาธารณะร่วมกันต้องดี
08 ส.ค. 2563 เวลา 13.06 น.
ดูทั้งหมด