โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

อีก 20 ปี คนจนหายไป! “สำนักงานแก้จน” แก้ความเหลื่อมล้ำ แก้ไขความจน ได้จริงหรือ?

Another View

เผยแพร่ 24 ธ.ค. 2561 เวลา 01.00 น.

อีก20 ปีคนจนหายไป! สำนักงานแก้จนแก้ความเหลื่อมล้ำแก้ไขความจนได้จริงหรือ?

"สำนักงานบูรณาการลดความเหลื่อมล้ำและแก้ไขปัญหาความยากจน"

เรียกเสียงฮือจากประชาชนไปได้ไม่น้อย หลังมีการเปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบให้จัดตั้งสำนักงานบูรณาการลดความเหลื่อมล้ำและแก้ไขปัญหาความยากจน เป็นหน่วยงานภายใต้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และตั้งคณะกรรมการขึ้น 2 คณะ คือคณะกรรมการนโยบาย ทำหน้าที่กำหนดนโยบายการแก้ปัญหา และมีคณะกรรมการบริหาร ทำหน้าที่ขับเคลื่อนงานต่าง ๆ สื่อหลายสำนักต่างก็ตั้งฉายาให้สำนักงานชื่อยาวนี้ มีชื่อเรียกเล่นๆ ว่า “สำนักงานแก้จน”

ความหวัง? หรือความฝัน?

เชื่อว่าคนไทยทุกคนคงจะหวังให้การจัดตั้งหน่วยงานนี้เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของประเทศไทย ในการต่อสู้กับปัญหาความเหลื่อมล้ำและความยากจน ที่พูดกันมานานแต่ยังไม่เคยทำได้สำเร็จ โดยหน่วยงานนี้ตั้งเป้าหมายแก้ไขปัญหาความยากจนให้ได้ภายใน 20 ปี ตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ แต่หากพิจารณาให้ดีแล้ว หากหน่วยงานนี้ไม่สามารถกำหนดนโยบายแก้ไขปัญหาได้ตรงจุด ก็อาจจะกลายเป็นอีกหน่วยงานที่ลองผิดลองถูก แถมยังผลาญเม็ดเงินของชาติไปเรื่อย ๆ

เข้าใจ ‘ความยากจน’ ฉบับไทยๆ

ปัญหาความยากจนในเมืองไทยนั้น มีความซับซ้อนหลากหลาย มีที่มาจากหลายสาเหตุ ยกตัวอย่าง กฎหมายที่จำกัดการเข้าถึงทรัพยากรและการกีดกันทางการค้า เช่นกฎหมายการผลิตเบียร์จำหน่ายที่ไม่เอื้อให้รายเล็กได้เติบโต การผูกขาดธุรกิจจากนายทุน เช่น การตายของร้านโชว์ห่วยจากการเติบโตของร้านสะดวกซื้อ 24 ชั่วโมง ปัญหาด้านความรู้และการศึกษาที่ไม่สามารถพัฒนาคนให้ได้มีศักยภาพเพียงพอที่จะหลุดพ้นจากความยากจน หรือแม้แต่วัฒนธรรมและความเชื่อบางอย่างที่ครอบงำความคิด จนไม่อาจจะก้าวข้ามชีวิตอันแร้นแค้นไปสู่สิ่งที่ดีกว่าได้ หรือแม้แต่การจัดระเบียบสังคมที่ทำให้บรรดาพ่อค้าแม่ค้าหาบเร่ต้องหมดหนทางทำกิน

 ความท้าทายของ “สำนักงานแก้จน” 

มาถึงจุดนี้แล้วก็ต้องขอส่งแรงเชียร์ให้กับสำนักงานแก้จนกับการตั้งปณิธานอันแน่วแน่ เพราะนี้จะเป็นหน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญไม่น้อยที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยให้ดีขึ้น ท่ามกลางความท้าทายที่รายล้อม โดยความท้าทายแรก คือการมองปัญหาให้แตก เราหวังว่าสำนักงานแก้จน จะให้โอกาสบรรดานักวิชาการและนักวิจัยจากสถาบันต่าง ๆ เข้ามาบูรณาการความรู้กัน เพื่อค้นหาสาเหตุที่เกี่ยวพันกันจนเป็นปัญหาความยากจน เพราะหากระบุปัญหาออกมาได้ชัดเจนแล้ว การแก้ปัญหาก็จะยิ่งตรงจุด

บูรณาการ…ที่ต้องการความร่วมมือ!

หลังจากการกำหนดนโยบายแก้ปัญหาได้แล้ว ความท้าทายอีกประการเห็นจะเป็นการทำงานแบบบูรณาการกับหน่วยงานรัฐอื่น ๆ ซึ่งก็ได้แต่อวยพรให้แต่ละส่วนส่งความร่วมมือให้กับสำนักงานแห่งนี้ ทั้งฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร หรือแม้แต่ฝ่ายตุลาการ ทั้งกระทรวงต่าง ๆ ก็ต้องให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ เรียกได้ว่าสำนักงานแห่งนี้จะใจบางหน้าบางไม่ได้ เพราะต้องแบกเอาปัญหาไปให้คนอื่นช่วย ดังนั้นสิ่งสำคัญที่สุดในวันนี้คือการทำให้คนไทยทุกคนและทุกหน่วยงานรัฐ เห็นพ้องต้องกันว่าปัญหาความยากจนและปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ เป็นสิ่งที่ห้ามรีรอและต้องเร่งแก้ไขอย่างเพิกเฉยไม่ได้.

อ้างอิงจาก

https://www.khaosod.co.th/politics/news_1971946

https://www.youtube.com/watch?v=1kCGr66DyT4

ภาพประกอบ

http://www.epochtimes.com

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0

ความเห็น 391

  • ใช่ท่านพูดถูกเพราะกว่าจะถึงวันนั้นคนจนคงตายหมดแล้ว อยู่เพื่ออะไรท่าน
    24 ธ.ค. 2561 เวลา 01.09 น.
  • pongsai klommit
    อีก20ปีเหรอ ถ้าคสช.อยู่ นานขนาดนั้นคนจนคงหายไปจากประเทศไทยหมด ตายแน่ๆเพราะไม่มีจะกิน
    24 ธ.ค. 2561 เวลา 01.12 น.
  • Vichai
    โม้อีกแล้ว แก้ราชการคอรัปชั่นให้ใด้ก่อน โม้ไปวันฯ
    24 ธ.ค. 2561 เวลา 01.11 น.
  • Benz
    เลือกเพื่อไทย
    24 ธ.ค. 2561 เวลา 01.05 น.
  • เบส
    ไปนอน รึรีบลาออกซะ แล้วช่วยเอาซุ่มออกจากสื่อด้วย
    24 ธ.ค. 2561 เวลา 01.08 น.
ดูทั้งหมด