โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

จบแล้วไปไหน? “บัณฑิตใหม่” เรียนมาแทบตาย จบมาไม่มีงานทำ!

Another View

เผยแพร่ 23 ธ.ค. 2561 เวลา 01.00 น.

จบแล้วไปไหน?บัณฑิตใหม่เรียนมาแทบตายจบมาไม่มีงานทำ!

ในช่วงเวลาที่ยากลำบากของเศรษฐกิจไทยทุกวันนี้ ที่บริษัทเอกชนพากันปลดพนักงานจำนวนมากออก คนกลุ่มหนึ่งที่ได้รับผลกระทบนี้ไปเต็ม ๆ ก็คือนักศึกษาจบใหม่ ที่กำลังหางานทำ บริษัทส่วนใหญ่มักไม่อยากเปิดรับพนักงานใหม่เพราะต้องการประหยัดงบรายจ่าย และหากเปิดรับก็มักจะรับแค่ไม่กี่ตำแหน่ง ทำให้เกิดการแข่งขันกันอย่างมากในหมู่นักศึกษาที่จบใหม่ ตัวเลขล่าสุดของสำนักงานสถิติแห่งชาติในปีนี้ พบว่ามีคนว่างงานอยู่ที่ประมาณ 450,000 คน จากกำลังแรงงานทั้งหมด 38 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 100,000 คน (สถิติเดิม 350,000 คน) แบ่งเป็นระดับประถมศึกษาและต่ำกว่าประมาณ 100,000 คน ระดับมัธยมต้น 90,000 คน ระดับมัธยมปลายและ ปวช.90,000 คน ระดับอุดมศึกษาทั้งอนุปริญญาและปริญญาตรี 160,000 คน สูงที่สุดกว่าทุกระดับการศึกษา

แล้วอะไรเป็นสาเหตุของการว่างงาน?

1. เกิดจากจำนวนนักศึกษาจบใหม่เพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็วและมีการผลิตนักศึกษาจบใหม่ออกมาเป็นจำนวนมาก ซึ่งไม่สอดคล้องกับตลาดแรงงานในสังคม

2. เนื่องด้วยปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำในปัจจุบัน ส่งผลให้ค่าครองชีพในปัจจุบันสูงขึ้น นักศึกษาที่จบใหม่ย่อมคาดหวังค่าตอบแทนที่สูงและงานที่มีความสะดวกสบายแก่ตัวเอง ทำให้เกิดการเลือกงาน

3. สภาวะเศรษฐกิจในสังคมที่เกิดการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เป็นสาเหตุให้ผู้ประกอบการต่าง ๆ พากันปลดพนักงานออกบางส่วนเพื่อให้เกิดความสมดุลในการประกอบอาชีพ 

นักศึกษาจบใหม่ต้องวางแผนระยะยาว

ปัจจุบันนักศึกษาจบใหม่ยังคงว่างงาน ส่วนหนึ่งเพราะต้องการรายได้สูงเกินประสบการณ์ ขาดทัศนคติเชิงบวก และขาดการวางแผน ควรมองหาอาชีพที่มีตลาดรองรับ ศึกษาว่าตลาดต้องการอะไร และดูว่าตัวเองชอบอะไร ถ้าหากเรามีแพสชันที่ไม่เพียงพอ ก็อาจจะทำอาชีพนั้นได้ไม่ดี ส่วนคนที่เรียนจบมาแล้วอาจจะต้องพัฒนาทักษะเพิ่มเติม

ขณะเดียวกันภาคเอกชนต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาคนให้มากขึ้น ภาคเอกชนเองได้เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องในการผลิตบุคลากรเฉพาะทาง ยกตัวอย่างเช่น ปตท. สร้างโรงเรียนกำเนิดวิทย์ขึ้นมาเพื่อมุ่งเน้นการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ เพราะเขามีปัญหาเวลาหาพนักงานที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง โดยเฉพาะเรื่องพลังงาน ส่วนสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ที่มาจากบริษัท CP ก็ตั้งใจจะผลิตบุคลากรด้านการจัดการธุรกิจค้าปลีกเป็นหลัก บริษัท SCG มีโรงเรียนทักษะพิพัฒน์ ซึ่งมุ่งเน้นการสอนเกี่ยวกับการขนส่งเดินทางและโลจิสติกส์

นอกจากนี้แรงงานที่หายไปอีกส่วนยังเป็นเรื่องของภาคอาชีวศึกษา ซึ่งมีความได้เปรียบเมื่อเทียบกับอุดมศึกษา เพราะได้ทดลองฝึกงานหรือลงไปทำงานจริง ๆ ภาคเอกชนเองก็ควรเปิดโอกาสให้คนที่ยังศึกษาอยู่ได้เข้าไปเรียนรู้ตั้งแต่แรก ๆ

"ประสบการณ์" ไม่ได้มาง่ายๆมันต้องใช้เวลานานเช่นเดียวกับคำว่า"โอกาส" ถ้าเรามัวแต่ปิดหูปิดตาเมื่อไหร่เราจะเจอคำว่า"โชคดี"

อ้างอิง

http://news.ch3thailand.com/economy/42384

https://www.smartsme.co.th/content/84533

https://themomentum.co/momentum-feature-unemployment-higher-rate-and-graduate-degree-unemployed

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0