ทำไมเด็กไทยมีสิทธิ์เลือกแค่“วิทย์”กับ“ศิลป์” อนาคตมีให้เลือกแค่นี้จริงหรือ?
เด็กต่างจังหวัดVS เด็กในเมือง
เป็นที่รู้กันดีถึงความแตกต่างเหลื่อมล้ำทางการศึกษาของประเทศไทย โดยเฉพาะเด็กในต่างจังหวัดที่มักถูกปลูกฝังว่าถ้าเรียนเก่งให้เลือกสายวิทย์-คณิต แหล่งรวมของเด็กที่เรียนไม่เก่งนักจึงกลายเป็นสายศิลป์ไปโดยปริยาย ทั้งสายศิลป์-ภาษา และศิลป์-คำนวณ ทั้งที่จริงแล้วในระบบการศึกษาของไทยมีการแบ่งสายไว้หลากหลายอยู่ประมาณหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็น วิทย์-คณิต, วิทย์-คอมฯ, คณิต-อังกฤษ หรือ ศิลป์–คำนวณ, คณิต-ภาษา, ศิลป์-ภาษา, ศิลป์ – ทั่วไป (ศิลป์-สังคม / ศิลป์-คหกรรม / ศิลป์-คอมฯ / ศิลป์-ธุรกิจ) ศิลปกรรม, สหศิลป์ แต่ด้วยทรัพยากรและบุคลากรที่มีจำกัด เด็กต่างจังหวัดจึงไม่มีตัวเลือกมากนักที่จะได้เล่าเรียนในสายวิชาที่ตนถนัด ต่างจากเด็กในกรุงเทพฯ และหัวเมืองใหญ่ๆ ที่มีความหลากหลายของสายวิชาให้ได้เลือกมากกว่า
ม.ปลายเมืองนอกเขาเรียนกันอย่างไร
การเรียนในระดับม.ปลาย หรือไฮสคูล ในสหรัฐอเมริกา เด็กๆ จะได้เรียนวิชาพื้นฐานเหมือนๆ กัน แต่จะมีโอกาสเลือกวิชาเฉพาะทางตามที่ตนถนัดหรือเน้นหนักในวิชาที่ตนสนใจ ซึ่งแต่ละคนมักตั้งเป้าหมายอยู่แล้วว่าจะเรียนต่อมหาวิทยาลัยในสาขาใด ก็จะเลือกเรียนวิชาที่จะช่วยส่งเสริมให้ตนเองได้เรียนต่อหรือก้าวไปในในเส้นทางอาชีพที่คาดหวัง ขณะที่ระบบการศึกษาไทยกลับเป็นระบบที่ค่อนข้างสำเร็จรูป มีการกำหนดที่ตายตัวว่าเมื่อเลือกเรียนสายใดสายหนึ่ง ก็จะต้องเรียนตามวิชาที่ถูกกำหนดไว้ให้ครบตามหลักสูตร ซึ่งแม้จะดูเหมือนจัดการได้ง่าย ทว่ากลับกลายเป็นการปิดกั้นโอกาสของเด็กที่อาจจะกำลังค้นหาตัวเอง หรือมีความสนใจแตกต่างจากที่หลักสูตรวางไว้
ฟินแลนด์ประเทศที่ได้ชื่อว่ามีระบบการศึกษาที่ดีที่สุดในโลก
ที่ฟินแลนด์กำหนดการศึกษาขั้นพื้นฐานไว้ที่ 9 ปี หรือเทียบเท่ากับวุฒิ ม.3 ในเมืองไทย เมื่อเด็กๆ ก้าวสู่ระดับ ม.ปลาย ก็จะแยกเรียนเป็นสายวิชาการ (สายสามัญ) กับสายวิชาชีพ (อาชีวะ) ซึ่งไม่ต่างจากไทยนัก ดังนั้นปัจจัยสำคัญของความสำเร็จในด้านการศึกษาของประเทศฟินแลนด์จึงไม่ใช่การแบ่งสายการเรียน เมื่อศึกษาให้ลึกลงไปก็จะพบว่าสิ่งสำคัญที่ทำให้การศึกษาในฟินแลนด์มีคุณภาพ คือการเรียนการสอนที่มุ่งเอาปัญหาต่างๆ มาเป็นจุดศูนย์กลาง ให้เด็กได้ศึกษาค้นคว้าหาทางแก้ปัญหา ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ไปพร้อมๆ กับการพยายามแก้ปัญหา ซึ่งไม่เพียงแต่ได้ความรู้ แต่เด็กจะสามารถนำความรู้ไปใช้จริงได้ด้วย ต่างจากการศึกษาไทยซึ่งตั้งต้นที่การได้ความรู้ แล้วจึงกำหนดแบบทดสอบหรือการทดลองเพื่อพิสูจน์ความรู้เหล่านั้น
ถึงเวลาเปลี่ยนระบบการศึกษาไทยหรือยัง?
เชื่อว่าผู้อ่านหลายท่านก็คงจะเจ็บปวดจากระบบการศึกษาของไทยอยู่ไม่น้อย หลายคนอาจคิดว่าเสียโอกาสหลายอย่างในชีวิต บางคนอาจมองว่าเรียนไปตั้งมากมายแต่กลับไม่ได้ใช้ความรู้ และยังมีอีกไม่น้อยที่ไม่ได้ทำงานตรงกับสายที่เรียน ซ้ำร้ายยิ่งกว่าที่บางคนไม่รู้ด้วยซ้ำว่าชอบในสิ่งที่เรียนอยู่หรือเปล่า การกำหนดสายการเรียนที่ตายตัวของระบบการศึกษาไทย อาจเป็นปัญหาที่ถูกมองข้าม ทว่ากลับเป็นจุดสำคัญที่เป็นตัวจำกัดในการเรียนรู้ของนักเรียน และไม่ได้ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ค้นพบตนเอง ค้นพบสิ่งที่ตนเองรักและความปรารถนาในอาชีพ จะดีกว่าใหม? หากนักเรียนจะได้เลือกเรียนในสิ่งที่ตนเองชอบอย่างอิสระ โดยมีครูแนะแนวคอยให้คำปรึกษา เพื่อนำพาเด็กแต่ละคนไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ แทนการกำหนดเส้นทางที่ตายตัวให้เด็กๆ ไปแล้ว ตั้งแต่ยังไม่เริ่มเรียน ด้วยการแบ่งแผนการเรียนให้กับเด็กๆ ไปแล้ว
ความสำเร็จของระบบการศึกษาในประเทศอื่นๆไม่ใช่เพราะมีตัวเลือกหลากหลาย แต่สำคัญที่เด็กจะได้เลือกตัวเลือกต่างๆได้ตามใจต่างหาก
https://www.voicetv.co.th/read/491194
https://alittleparfait.com/2013/02/13/highschool/
https://thestandard.co/finland-education-lessons-learned/
https://www.dek-d.com/education/49342/
https://www.scholarship.in.th/7-reason-why-finland-designing-perfect-schools/
ความเห็น 43
BEST
พูดไปบอกไปก็ไม่เปลี่ยนหรอกครับ ตราบใดที่ยังหากินกับกระดาษและประเมินแบบแหกตากัน
17 ธ.ค. 2561 เวลา 01.06 น.
Boss Mod163
คำ2คำ ก้อ้าง ยุค4.0 จะพัฒนาการศึกษา
กฎระเบียบ ,กติกา ,วัฒนธรรม
ต่างๆ ที่ปฎิบัติกันมายาวนาน
ใช่ว่า จะดีทุกอย่าง จะดีเสมอไป
การแสดงออก ของนร. ที่อธิบาย หรือค้านด้วยเหตุผลให้อจ.ฟัง
แต่กลับโดนหาว่า "เถียง"
แล้วแบบนี้ นร.ที่ไหนจะกล้าแสดงออก
และวิชา การเรียนก็เช่นกัน
วิชาไหน ไม่จำเป็น ก้ยกเลิกไปเลย
อย่ายึดปฎิบัติ แบบเดิมๆว่า
นร.ต่องเรียน 8.00-15.30น.
ทำไมๆๆๆๆ
17 ธ.ค. 2561 เวลา 01.13 น.
ตุ๋น..เจตดิลก
มีสิทธิเลือกครับ ถ้าคุณกล้าพอ
17 ธ.ค. 2561 เวลา 01.11 น.
Note
อนาคตย่อมมืดมนแน่ ถ้าขนาดเรื่องที่อยากเรียนยังหาเรียนไม่ได้ อ้างนี่อ้างนั่น อ้างไปถึงการศึกษา สมัยนี้กับสมัยก่อนต่างกันเยอะแล้ว หาข้อมูล หาความรู้คุณไม่ต้องรออาจารย์สอนหรืือนั่งรถไปหอสมุดอีกแล้วครับ
17 ธ.ค. 2561 เวลา 01.06 น.
woraphot khunsit
ตราบใดที่ยังไม่ยุบกระทรวงศึกษา..การปฏิรูปการศึกษาที่แท้จริงก็จะไม่เกิดขึ้น...
17 ธ.ค. 2561 เวลา 01.30 น.
ดูทั้งหมด