โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

“เลือกตั้ง” ยังจำเป็นกับเมืองไทยมั้ย? เมื่อนายกรัฐมนตรีอาจไม่ได้มาจากเสียง ปชช.

TheHippoThai.com

เผยแพร่ 06 พ.ย. 2561 เวลา 01.00 น.

“เลือกตั้ง”ยังจำเป็นกับเมืองไทยมั้ย? เมื่อนายกรัฐมนตรีอาจไม่ได้มาจากเสียง ปชช.

24 กุมภาพันธ์ 2562 คือหมุดหมายสำคัญ ที่ประชาชนคนไทยจะได้ออกมาใช้สิทธิ์ใช้เสียงกันอีกครั้ง ในการเลือกตั้ง ดังที่ "พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา" นายกรัฐมนตรีผู้พ่วงตำแหน่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติหรือคสช. ได้ออกมากล่าวไว้ (และจะทำได้จริงหรือไม่คงต้องติดตามกันต่อไป เพราะที่ผ่านมาก็ได้ “เลื่อนวันเลือกตั้ง” ออกไปหลายครั้งแล้วเช่นกัน) 

นั่นหมายความว่าที่สุดแล้วประชาชนคนไทยจะได้ “เลือก” อนาคตของประเทศ ด้วยตนเอง ไม่ว่าจะดี หรือร้าย ในภายภาคหน้า แต่ถึงมันจะพังก็ยังมีความรู้สึกดีเล็กๆ ในใจว่า อย่างน้อยมันก็เป็นความผิดพลาดที่เรา “เลือก” ผิดเอง ไม่ใช่ความผิดพลาดที่คนอื่นส่งมาให้เรา “ร่วมรับผิดชอบ”

น่าดีใจ… แต่คำถามต่อไปคือ อนาคตประเทศไทยจากการใช้สิทธิ์ใช้เสียงของประชาชนนั้นเป็นอนาคตที่เราได้เลือกเองจริงๆหรือ? ….หรือว่าได้เลือกเท่าที่เขาเลือกให้?”

การเลือกตั้งครั้งใหม่นี้ผู้ร่วมเลือกนายกรัฐมนตรีไม่ได้มีแค่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(..)

จั่วหัวมาก็ดูเป็นการดี ที่การกระทำแบบนี้จะไม่นำพาเราไปสู่เผด็จการแบบรัฐสภา ที่พรรคใหญ่ๆ สามารถขึ้นมารวบเก้าอี้ ส.ส. แล้วตั้งรัฐบาลพรรคเดียวได้อีกต่อไป เมื่อเสียงที่จะใช้เลือกนายกรัฐมนตรี ไม่ได้มีแค่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) 500 คน แต่หมายรวมถึงสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) 250 คน รวม 750 คน นั่นหมายความว่าผู้ที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีได้ ต้องได้รับเสียงเกินกึ่งหนึ่งของรับสภา นั่นก็คือ 376 เสียง ขึ้นไป ! 

แต่อย่าเพิ่งดีใจไป ! เพราะคำถามที่ตามมาก็คือ แล้วเสียงจาก.. ทั้ง250 คนที่จะเข้ามาถ่วงตาชั่งอำนาจของพรรคใหญ่รวบตึงอำนาจในสภาที่นำมาสู่การรัฐประหารครั้งล่าสุดของคสช. นั้นมาจากไหน?

ตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันนั้น กำหนดให้ สมาชิกวุฒิสภา 250 คนนั้น ประกอบไปด้วย 

1. สมาชิกวุฒิสภาตามตำแหน่งโดยอัตโนมัติ6 คน คือ ปลัดกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือ ผู้บัญชาการทหารอากาศ และผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ

2. สมาชิกวุฒิสภาอีก196  คน มาจากการสรรหาจากคณะกรรมการซึ่ง คสช. เป็นผู้แต่งตั้ง คณะกรรมการก็จะสรรหาผู้ควรเป็น ส.ว. มา 400 คน ให้ คสช. ได้เลือกให้เหลือ196 คนอีกครั้ง

3. สมาชิกวุฒิสภาอีก50 คน มาจากการเลือกกันเองระหว่างกลุ่มอาชีพ 10 กลุ่ม ได้ 200 คน ซึ่งจะส่งให้คสช. เลือกเหลือ50 คน

นั่นหมายความว่า.. ที่เป็น1 ใน3 ของคะแนนเสียงที่ใช้เลือกนายกรัฐมนตรีนั้นเป็นคะแนนเสียงที่คสช. มีส่วนร่วมโดยตรงใช่หรือไม่?

2 ใน3 ของรัฐสภาก็ยังเป็น.. ที่มาจากเสียงของประชาชน และทัดทานการสืบทอดอำนาจของคสช. ได้ใช่ไหม?

แม้จะบอกว่ายังมีอีก 2 ใน 3 ของรัฐสภาที่มาจากคะแนนเสียงของประชาชนโดยแท้จริง และเป็นเจ้าของเสียงที่จะหักล้างการสืบทอดอำนาจของ คสช. ได้ แต่คำถามคือหักล้างได้จริงหรือ?

เพราะในกรณีที่เลวร้ายที่สุดที่ 250 เสียง ของ ส.ว. เทไปทางที่ คสช. มุ่งหวังทั้งหมด ก็ยังต้องการอีก 126 เสียงของ ส.ส. เพื่อจะเลือกนายกรัฐมนตรีได้ แต่เวลานี้พรรคการเมืองที่ประกาศชัดเจนว่าสนับสนุนคสช. สุดลิ่มทิ่มประตูก็ปรากฏตัวออกมาแล้วอย่างน้อย9 พรรคการเมือง ทั้ง 1) พรรครวมพลังประชาชาติไทย (นำโดยนายสุเทพ เทือกสุบรรณ) 2) พรรคประชาชนปฏิรูป (นำโดยนายไพบูลย์ นิติตะวัน) 3) พรรคพลังชาติไทย (ที่มีอดีตคณะทำงานของ คสช. ก่อตั้ง) 4) พรรคเห็นแก่ชาติ 5) พรรคพลังธรรมใหม่ 6) พรรคทางเลือกใหม่ 7) พรรคไทยธรรม 8) พรรคพลังพลเมืองไทย และ 9) และพรรคพลังประชารัฐ นำโดยนายสมศักดิ์ เทพสุทิน / นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ อดีตนักการเมือง และนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันในรัฐบาล คสช.

หลายคนอาจจะบอกว่า พรรคที่สนับสนุน คสช. นั้นก็เป็นพรรคเล็กพรรคน้อย ถ้าประชาชนเทคะแนนไปให้พรรคการเมืองที่ไม่สนับสนุนการสืบทอดอำนาจของ คสช. ถึง 376 เสียง จาก 500 เสียง ของ ส.ส. ก็มีสิทธิ์ที่จะล้มการสืบทอดอำนาจของ คสช. ได้ 

แต่เดี๋ยวก่อน เพราะระบบการได้ซึ่งที่นั่งในสภาของ ส.ส. ในครั้งนี้ จะใช้ระบบใหม่ล่าสุด ที่เรียกว่า ระบบเลือกตั้งแบบจัดสรรปันส่วนผสม(Mixed Member Apportionment system หรือMMA) โดยกำหนดให้มี ส.ส. แบบแบ่งเขตที่เราคุ้นเคยกันดี 350 คน และแบบบัญชีรายชื่อ ที่เราคุ้นเคยอีกเช่นกัน 150 คน แต่สิ่งที่เราจะไม่คุ้นเคยเลยก็คือ การเลือกตั้งโดยปกติ เราจะเลือก ส.ส. ทั้งสองแบบ แยกส่วนกัน แต่ในครั้งนี้ เมื่อเราลงคะแนนเสียงให้ ส.ส. แบบแบ่งเขตคนไหน คะแนนก็เข้าไปที่พรรค เพื่อใช้จัดสรรที่นั่ง ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อของพรรคนั้นด้วย 

ระบบนี้ทำให้พรรคการเมืองที่ไม่ส่ง.. แบบแบ่งเขตก็จะไม่มีที่นั่งของ.. แบบบัญชีรายชื่อโดยปริยายและที่สำคัญที่สุดการเลือกตั้ง.. แบบนี้จะทำให้ไม่มีพรรคการเมืองไหนเลยที่จะสามารถรวบตึงคะแนนเสียงหรือรวมพลังกันตั้งรัฐบาลและเลือกนายกรัฐมนตรีด้วยคะแนนเสียงจาก.. เพียงอย่างเดียว376 เสียงได้เลย!

แต่ถึงแม้จะรวมคะแนนเสียงของทุกพรรคจากฝั่ง.. เพื่อล้มการสืบทอดอำนาจคสช. ด้วยการไม่เลือกนายกรัฐมนตรี(ในร่างทรงคสช.) ได้ก็หมายความว่าคนของคสช. จะไม่มีทางกลับมานั่งเก้าอี้นายกรัฐมนตรีได้จริงหรือ?

คำตอบก็คือ ไม่ ! เพราะถึงแม้จะเกิดปรากฏการณ์ที่ยากยิ่งในการรวมพลังล้มการสืบทอดอำนาจ คสช. ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีหนทางอื่น เพราะยังมีท่าไม้ตาย นายกรัฐมนตรีคนนอกที่จะนำมาใช้เฉพาะการเลือกตั้งครั้งแรกนี้ได้ ! 

เพราะในรัฐธรรมนูญยังระบุไว้อย่างชัดแจ้งอีกว่า ในวาระเริ่มแรกนี้ หากไม่สามารถเลือกนายกรัฐมนตรีจากรายชื่อที่ทางพรรคแจ้งไว้ได้ ส.ส. กึ่งหนึ่ง ซึ่งก็คือ 250 คน สามารถเข้าชื่อ เพื่อเสนอให้เลือกนายกรัฐมนตรีคนนอกได้ โดยหลังจากที่มีการเสนอให้เลือกนายกรัฐมนตรีจากคนนอกแล้ว สมาชิกรัฐสภาต้องลงมติให้ได้คะแนนเสียง 2 ใน 3 คือ 500 จาก 750 เสียงของ ส.ว. และ ส.ส. เพื่ออนุมัติให้เลือกนายกรัฐมนตรีจากคนนอกได้ แล้วหลังจากนั้นก็ให้ ส.ส. ลงมติให้ได้คะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่ง (251 เสียง) เพื่อเลือกคนนอกมาเป็นรัฐมนตรี

ซึ่งทั้งหมดนี้เท่ากับว่าเป็นการปิดประตูตายให้กับการล้มล้างการสืบทอดอำนาจคสช.” ไปโดยปริยายหลักการเลือกนายกรัฐมนตรีที่ต้องมาจาก ส.ส. เท่านั้น ที่เพิ่งมีปรากฏหลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ซึ่งได้ถูกล้มเลิกไปในครั้งนี้สะท้อนอะไรบางอย่างหรือไม่ ? ที่มาของสมาชิกวุฒิสภาที่ไม่แคร์สื่อใดๆ กำลังจะบอกอะไรบางอย่างเราหรือเปล่า ? สุดท้ายนี้คงเป็นเรื่องที่ต้องดูกันกันต่อไป เพราะอย่างไร เราก็เหมือนได้แต่ “ดู” ไม่ได้ “เลือก” กันอยู่แล้ว ใช่ไหม ?

 

ข้อมูลเพิ่มเติม:

https://www.ilaw.or.th/node/4068?fbclid=IwAR1NP9zSLF1MvWQi5fMBniBwllXCo4PMquKWZLcjJbFlw-BOI0KAnl_c-7o

http://www.ispacethailand.org/political/16987.html

https://thaipublica.org/2018/07/senate-election-system-in-thailand-2560/

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0