'เด็ก' เป็นที่ทราบกันดีว่าอยู่ช่วงวัยแห่งการเรียนรู้ และพยายามหาคำตอบในสิ่งที่เกิดความสงสัยด้วยตัวเองในช่วงแรก แม้จะเป็นการเรียนรู้แบบลองผิดลองถูกก็ตาม ยิ่งในช่วงอายุ 6-12 ปี ด้วยแล้วต้องจับตาเป็นพิเศษเพราะอยู่ในช่วงการเรียนรู้อย่างแท้จริง ไม่ว่าจะเป็นสิ่งแวดล้อม สังคม รวมถึงพฤติกรรมรอบตัว
'จับตาเป็นพิเศษ' ในที่นี้ไม่กล่าวถึงการสอดส่องเพื่อจับผิด แต่เป็นการสังเกตเพื่อให้บุตรหลานอยู่ภายในสายตาของผู้ปกครอง เพื่อไม่ให้เกิดสิ่งที่คาดไม่ถึง อย่างที่เป็นปรากฏให้เห็นอยู่หน้าสื่อ แต่ทว่าในบางครั้งกับการเป็นเรื่อง 'โอละพ่อ' ขึ้นแทนเหตุเพียงเพราะกลัวผู้ใหญ่ตำหนิติเตียนเพียงเท่านั้น
เสาร์นี้ในอดีต : อย่างที่เผยในข้างต้นที่ว่าเด็กที่กระทำความผิดในบางครั้งเลือกที่จะกุเรื่อง สร้างสถานการณ์เพราะเหตุใด LINE TODAY จึงขอรวบรวม 3 เหตุการณ์โอละพ่อ ซึ่งส่วนใหญ่ล้วนมีเหตุผลที่คล้ายคลึงกัน
เด็กสี่คนหนีเล่นน้ำ ครอบครัว-จนท.ตามวุ่น สุดท้ายหลบหลังบ้าน เพราะกลัวโดนลงโทษ
'หนองน้ำ' หนึ่งจุดที่มักพรากชีวิตของผู้ประสบเหตุ แม้จะว่ายน้ำเก่งขนาดไหนก็ไม่ควรประมาณเด็ดขาด เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นสด ๆ ร้อน ๆ ในที่ม่อนปิ่น อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ หลังเจ้าหน้าที่ได้รับแจ้งว่ามีเด็กถึง 4 คน หายไปจากบ้าน
จากนั้นได้เริ่มปฏิบัติการณ์ตามหาทุกจุดโดยเฉพาะหนองน้ำปกติเวลาที่ได้รับแจ้ง ซึ่งใช้เวลากว่า 6 ชม.ในการตามหา แต่สุดท้ายสายตรวจพบว่าเด็กทั้ง 4 คนอยู่ที่บ้านพักเป็นที่เรียบร้อย
ซึ่งทั้ง 4 คน อายุระหว่าง 8-10 ปี ชาย 2 หญิง 2 โดย 1 ใน 4 เผยว่า ได้ออกมาเล่นน้ำกันตั้งแต่ช่วง 4 โมงเย็น แล้วกลัวผู้ใหญ่ว่าจึงได้ชวนกันหลบอยู่ที่กอหญ้าในสวนส้มหลังบ้านพัก ซึ่งระหว่างที่เจ้าหน้าที่ตามหา
"ยอมรับว่าได้ยินเสียงแต่ไม่กล้าออกมาเพราะกลัวผู้ปกครองว่าและถูกทำโทษ ด้วยความหิวจึงได้ชักชวนกับบ้านพร้อมขอโทษกับสิ่งที่ได้ทำไว้ "
โอละพ่อ! เล่นเกินเวลา จนต้องกุเรื่องไปเผชิญรถตู้จับเด็ก
'รถตู้จับเด็ก' หนึ่งเรื่องฝังใจอันดับต้น ๆ ของวัยเด็กหลายคน เนื่องด้วยเคยเกิดเหตุการณ์ลักษณะดังกล่าวและเป็นข่าวใหญ่โตมาแล้ว แต่ก็คงเป็นการปลูกฝังให้ระมัดระวังตัวและมั่นสังเกตรอบตัว
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในช่วงต้นปี 64 ในจังหวัดปทุมธานี กับ 2 หนูน้อยวัย วัย 7 ปี และ 10 ปี ที่กำลังเดินอยู่ริมถนน จากนั้นเห็นพ่อขับรถผ่านมา จึงได้เล่าเรื่องราวว่า
"ขณะเดินอยู่กับเพื่อน ได้มีผู้ชาย 3 คนแต่งชุดสีดำกระชากขึ้นรถตู้ พร้อมทั้งเอาผ้าคลุมหัว จากนั้นได้ทั้งคู่มาทิ้งไว้ที่บ้านร้างพร้อมบังคับห้ามส่งเสียงดังและให้รออยู่ตรงนี้ห้ามไปไหน เดี๋ยวจะมารับพาไปที่อื่น เมื่อทั้ง 3 ขับรถออกไปแล้ว ทั้งคู่จึงอาศัยจังหวะนี้หลบหนี ขณะเดียวกันได้ยินเสียงรถมอเตอร์ไซค์จึงวิ่งไปดูก็พบว่าเป็นพ่อของตนเอง"
จากนั้นพ่อก็ได้พาเด็กทั้ง 2 ขึ้นโรงพักเพื่อร้องทุกข์ หลังจากทั้งคู่ต้องเผชิญสถานการณ์ที่หวาดกลัว แต่ว่าจากการสอบถามและพูดคุยกับเด็กทั้งสองต้องสารภาพว่า
"เรื่องราวที่เกิดขึ้นนั้นเป็นเพียงการกุเรื่องขึ้นมาทั้งหมด เนื่องด้วยทั้งสองได้เดินมาเล่นแถวนี้จนเกินเวลา และไม่รู้จะทำอย่างไร จนเห็นพ่อขับรถมาพอดีจึงได้เริ่มแต่งเรื่องขึ้นว่าถูกลักพาตัว เพียงเพราะกลัวว่าพ่อแม่จะทำโทษที่ออกมาเล่นจนเกินเวลา"
โอละพ่อ! เด็กหญิง อ้างโดนรถฉุด สุดท้ายกุเรื่องขึ้นทั้งหมด
อุทาหรณ์วัยเด็ก ถ้าลองนับดูก็มีเพียงไม่กี่เรื่อง ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นสิ่งดี ไว้ให้ตัวเราในวัยที่ไม่รู้เรื่องรู้ราวต้องระมัดระวังตัวมากกว่าทุกช่วงวัย แต่ทว่าเรื่องที่เราสอนลูกหลานในวันนั้นกลับกลายผู้ใหญ่อย่างเรา ๆ โดนหลอกซะเอง
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อปี 63 'รถตู้จับเด็ก' เป็นที่เลื่องลือเพราะเคยมีนักเรียนหญิง 3 รายเคยต้องเผชิญกับเหตุการณ์ดังกล่าว แต่ก็ไม่ขึ้นว่าจะเกิดขึ้นอีกครั้งกับเด็กหญิงคนนี้
ได้เล่าเหตุการณ์ที่เผชิญว่า ขณะนั้นตนกำลังขี่จักรยานไปซื้อของในหมู่บ้าน แต่จู่ๆ มีคนมาพยายามฉุนขึ้นรถ แต่แต่เคราะห์ดีที่สะบัดหนีได้ แต่ก็ได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย
แต่ทว่าทุกอย่างก็ต้องถูกไขเพราะทางเจ้าหน้าที่ได้พยายามตรวจสอบสถานที่เกิดเหตุ ทั้งกล้องวงจรปิด และสอบพยานหลักฐานต่างๆ กลับไม่พบหลักฐานดังคำให้การ
สุดท้ายแล้วเด็กหญิงต้องออกมายอมรับความจริงที่ว่า เรื่องที่ได้เล่าไปในข้างต้นนั้นเป็นเพียงกุเรื่องเล่านั้น เนื่องจากเกรงว่าพ่อจะต่อว่า หลังจากให้น้องไปตลาดด้วยกันแล้วกลับบ้านเองไปก่อนหน้า ทำให้ต้องกุเรื่องขึ้นมาเพื่อป้องกันการถูกดุด่า และไม่คิดว่าเรื่องจะบานปลาย
กุเรื่องเพื่อปกปิดความผิด ??
ทั้ง 3 เรื่องราวได้ถูกยกขึ้นมานั้น แม้จะเกิดคนละที่ คนละเวลา แต่ถ้าเราสังเกตจากเหตุการณ์ในข้างต้น ส่วนใหญ่ล้วนเกรงกลัว 'การถูกดุ การถูกต่อว่าและการลงโทษ' จากครอบครัว จึงพยายามหาวิธีการเอาตัวรอด โดยไม่คิดว่าเรื่องจากบานปลายถึงขั้นขึ้นโรงพัก
แต่ถ้าเรากลับมาที่มุมมองของเด็กพวกเขาเหล่านั้นก็ไม่ได้อยากที่จะกุเรื่องมาหลอกผู้ปกครอง แต่ที่ต้องทำนั้น เพื่อให้คนที่ได้รับฟังเกิดความสบายใจ (สำหรับกรณีที่กุเรื่องที่ไม่ร้ายแรง)
รับมือการกุเรื่องอย่างไร ?
จริง ๆ แล้ว ถ้าเกิดเราได้รับรู้เรื่องราวที่เกิดขึ้นจากลูกหลานที่ต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่ไม่คาดคิด ขอให้คุณพยายามใจเย็นและคุยถึงข้อเท็จ ด้วยน้ำเสียงที่เป็นปกติ แสดงความห่วงใย และให้เล่าเรื่องราวทั้งหมดเสียก่อน ถ้าเรื่องที่เล่าเป็นความจริงก็ต้องนำไปสู่การจับกุม
แต่ถ้าจับได้ว่าเป็นเรื่องที่ถูกกุขึ้นมาทั้งหมด ผู้ใหญ่ควรพยายามทำความเข้าใจว่าเด็กโกหกเพราะอะไร เพื่อช่วยสอนและหาวิธีแก้ปัญหาอย่างเหมาะสมและไปสู่บทลงโทษที่ไม่ทำร้ายร่างกาย และแสดงให้เห็นว่าเด็กสำนึกผิด
"การโกหกไม่ว่าอายุจะมากหรือน้อยก็ปรากฏอยู่ในสังคมในทุกอาชีพ ซึ่งจุดประสงค์ของทุกคนเพื่อให้ผู้ที่รับฟังเกิดความสบายใจและเป็นประโยชน์ต่อตัวเองเพียงเท่า"
อ้างอิง