โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

รวม 4 นักเขียนไทยผู้ล่วงลับ กับผลงานอมตะที่แฟนน้ำหมึกไม่เคยลืม : เสาร์นี้ในอดีต

LINE TODAY ORIGINAL

เผยแพร่ 17 ก.ย 2564 เวลา 17.00 น. • O.J.

'นักเขียน' ถ้าให้ผู้อ่านนึกถึงวรรณกรรมที่มีชื่อเสียงในไทย ก็มีหลายเรื่องพอสมควรที่ถูกตีพิมพ์แทบนับครั้งไม่ถ้วน ด้วยความการใช้ภาษาที่สามารถสร้างจินตนาการให้กับผู้อ่านดุจถูกดึงเข้าไปสู่โลกแห่งวรรณกรรมและเพลิดเพลินไปกับสถานการณ์ที่ผู้เขียนได้สื่อสารผ่านตัวละครในเรื่องนั้น ๆ 

ปัจจุบัน 'วรรณกรรม' ก็มีให้ผู้อ่านได้เลือกสรรหลากหลายประเภท ทั้ง สารคดี บันเทิง เรื่องสั้น นวนิยาย ฯลฯ ก็ล้วนแต่ใช้เทคนิคที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับผู้ประพันธ์ในเรื่องนั้น แต่สิ่งที่เปรียบเป็นใจความสำคัญของนักเขียนทุกนั้นคือ การถ่ายทอดความรู้ ความคิด ความเชื่อ ทัศนคติ ความรู้สึกและความประทับใจไปสู่ผู้อ่าน 

ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา เหล่าแฟนหนังสือต่างโศกเศร้ากับการจากไปกับเจ้าของนามปากกา 'ทมยันตี' หรือ 'คุณหญิงวิมล ศิริไพบูลย์' ในวัย 85 ปี สาเหตุการเสียชีวิต เบื้องต้นทางครอบครัวแจ้งว่านอนหลับไปเฉยๆ ถึงแม้จะจากไปแต่ก็ได้ทิ้งผลงานไว้มากมาย อาทิ ทวิภพ ล่า ใบไม้ที่ปลิดปลิว คู่กรรม ฯลฯ

เสาร์นี้ในอดีต : การจากไปของ 'ทมยันตี' ก็ทำให้หวนนึกถึงนักเขียนท่านอื่นที่จากไปเช่นกัน แต่ยังคงมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ ไม่ว่าเวลาจะผ่านพ้นไปเพียงใดก็จะถูกเป็นที่พูดถึงเสมอ LINE TODAY จึงได้รวบรวม 5 นักเขียนไทยที่จากไป แต่ผลงานยังคงอยู่ให้แฟนหนังสือได้คิดถึง

'หมู นินจา'

ภาพเฟซบุ๊ก : ขายหัวเราะ
ภาพเฟซบุ๊ก : ขายหัวเราะ

เริ่มด้วยวงการการ์ตูนไทยกับ สุชาติ พรหมรุ่งโรจน์ หรือที่รู้จักกันในนามปากกา 'หมู นินจา' เสียชีวิตในปี 2560 ด้วยโรคเบาหวานและมีอาการแทรกซ้อน ทำให้ดวงตามองไม่เห็น และมีภาวะปอดติดเชื้อร่วมด้วย

ร้อยทั้งร้อยก่อนที่จะมีสื่อสังคมออนไลน์จะต้องเคยเคยเห็นผลงานของ หมู นินจา อย่างแน่นอนด้วยลายเส้นของการ์ตูนที่คงเอกลักษณ์และสอดแทรกมุกตลกขบขัน เข้าไปอยู่ภายในผลงานหนังสือการ์ตูน 'ขายหัวเราะ' (เด็กยุคนี้อาจไม่รู้จัก แต่สมัยนั้นคือนัมเบอร์วันเลยนะ ฮ่า ๆ)

นอกจากขายหัวเราะ ยังมีผลงานอีกมากมาย อาทิ จอมยุทธ์นินจา สามก๊ก มหาสนุก กระบี่หยามยุทธภพ บ้านนี้ 4 โชะ ฯลฯ ซึ่งผลงานสุดท้ายที่ฝากไว้กับผู้อ่านคือ 'คำ หมู หมู' หนังสือที่รวบรวมความฮาและแฝงไปด้วยประสบการณ์การทำงานจนสู่ความสำเร็จในสไตล์ 'หมู นินจา'

อะไรๆ ก็สนุก ตอน เกิดอีกที…ขอดีบ้างเถอะ โดย หมู นินจา . #สำนักการ์ตูนไทยขายหัวเราะ

Posted by ขายหัวเราะ on Thursday, September 24, 2020

'พนมเทียน' 

กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม
กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม

'พนมเทียน' นามปากกาที่หลายคนรู้จักอย่างแน่นอน 'ฉัตรชัย วิเศษสุวรรณภูมิ' อีกทั้งศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ ประจำ พ.ศ. 2540 เสียชีวิตในปี 2563 ด้วยโรคหัวใจ และเป็นผู้สร้างตำนานนวนิยายที่มีความยาวมากที่สุดของไทยอย่าง ‘เพชรพระอุมา’

ซึ่งเป็นนวนิยายแนวผจญภัยที่สามารถครองใจผู้อ่าน ทำให้ตีพิมพ์ได้ต่อเนื่องยาวนานถึง 25 ปี มีความยาวทั้งสิ้นรวม 2 ภาคมากถึง 48 เล่ม 1,749 ยก กลายเป็นตำนานนิยายที่ยังไม่มีผู้เขียนท่านใดสามารถทำได้ 

‘พญาอินทรีแห่งสวนอักษร’

kapook
kapook

‘รงค์’ นามปากกาสั้นแต่ผลงานโดนใจผู้อ่านกับ 'รงค์ วงษ์สวรรค์’ ศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ พ.ศ. 2538 เสียชีวิตเมื่อปี 2552 จากอาการเส้นเลือดในสมองแตก  

ในยุคนั้นนับเป็นบุคคลที่คร่ำหวอดในวงนิตยสาร หนังสือพิมพ์ เรื่องสั้น นวนิยาย สารคดีและบทภาพยนตร์ และที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวนั้นคือการใช้ภาษาสวิงสวาย แต่กับเรียบเรียงถ้อยคำได้แตกต่างจากนักเขียนคนอื่นๆ จนได้เป็นเจ้าของฉายา ‘พญาอินทรีแห่งสวน

ซึ่งตั้งแต่ ปี 2502-2548 มีผลงานจนนับไม่ถ้วน แต่ก็ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากอาทิ ‘ป่าช้าความหลัง’ เป็นเรื่องสั้นที่ท่านได้ประพันธ์ มอบให้ลงไว้ในหนังสือสมานมิตร พ.ศ.2502 หนังสือประจำปีของโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย หรือ ดลใจภุมริน นวนิยายแถวอีโรติกร่วมสมัย ที่ได้เขียนเป็นครั้งแรก

‘ประภัสสร เสวิกุล’

Prabhassorn Sevikul - ประภัสสร เสวิกุล
Prabhassorn Sevikul - ประภัสสร เสวิกุล

‘ประภัสสร เสวิกุล’ ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ปี 2554 เสียชีวิตเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2558 ด้วยอาการหัวใจล้มเหลว และครั้งที่ยังมีชีวิตได้สร้างผลงานทั้งนวนิยาย เรื่องสั้น บทกวี สารคดี ไว้มากมาย ซึ่งส่วนใหญ่ล้วนให้ข้อคิดคติธรรมแก่ผู้อ่าน 

ด้วยความนิยมจากผู้อ่าน ผลงานเขียนจึงไปสู่จอแก้ว อาทิ ขอหมอนใบนั้นที่เธอฝันยามหนุน,ลอดลายมังกร และเวลาในขวดแก้ว ฯลฯ นับเป็นความสำเร็จอีกหนึ่งสิ่งที่ได้ฐานะคนรู้จักเพิ่มมากขึ้น 

ทั้งนี้ทุกงานเขียนของ ‘ประภัสสร เสวิกุล’ จะถูกสร้างมาตรฐานไว้ที่ว่า “การเขียนเราต้องเข้าใจถึงตัวละคร พร้อมสร้างตัวละครให้มีพื้นฐานอย่างควบคุมและความเชื่อ ถ้าตัวละครมีความแน่นตรงนี้พอเมื่อถึงจุดหนึ่งเขาแก้ปัญหาได้เอง เพราะฉะนั้นตัวละครทุกเรื่องของผมจะแก้ปัญหาด้วยตัวของเขาเอง ผู้เขียนไม่ได้แก้ปัญหาให้เขาหรอก” 

‘วรรณกรรมเพื่ออาเซียน’ นวนิยายชุดครั้งสุดท้ายที่ ประภัสสร เสวิกุล ได้ทิ้งไว้ให้กับเหล่านักอ่าน โดยเรื่องราวของนวนิยายชุดนี้ กล่าวถึงความสัมพันธ์ของผู้คนหลายเชื้อชาติ ผ่านบนฉากหลังของประเทศในอาเซียนทั้งอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ถือเป็นเอกลักษณ์สำคัญของนวนิยาย นอกจากความสนุกแล้ว ยังหวังสร้างความเข้าใจตัวตนเพื่อนบ้านผ่านงานเขียนในครั้งนี้

ทว่าวรรณกรรมเพื่ออาเซียน แท้จริงแล้วมีทั้งหมด 10 เล่ม กับ 10 ประเทศ แต่เกิดเรื่องที่ไม่คาดฝัน ประภัสสรได้เสียชีวิตลง ซึ่งในขณะนั้นกำลังเขียนเล่มที่ 7 "หยาดน้ำฝนแห่งล้านช้าง หยดน้ำค้างแห่งล้านนา" เกี่ยวกับประเทศลาว ซึ่งยังไม่แล้วเสร็จถือเป็นผลงานเล่มสุดท้ายในชีวิตนักเขียน

จึงเหลือเพียง มี 6 เล่ม ได้แก่ จะฝันถึงเธอทุกคนที่มีแสงดาว (อินโดนีเซีย) รักในม่านฝน (เวียดนาม) มีเมฆบ้างเป็นบางวัน(ฟิลิปปินส์) กริชมะละกา (มาเลเซีย) ไชน่ามูน (สิงคโปร์) เห่ ชะเลรุ้ง (กัมพูชา)

‘ทุกงานเขียนของเหล่านักประพันธ์ ที่ได้หยิบยกมาเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่แฟนน้ำหมึกต่างคิดถึงฝีมืองานเขียน นอกจากการใช้ภาษาที่ถูกเรียบเรียงสละสลวยและความเพลิดเพลินแล้ว แต่ยังคงแฝงไปด้วยแง่คิด ทั้งการใช้ชีวิตหรือเปิดมุมมองใหม่ที่อาจหาไม่ได้จากโลกภายนอก’

อ้างอิง 

Prabhassorn Sevikul - ประภัสสร เสวิกุล

กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม

ขายหัวเราะ

thestandard

orionlibri.com

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0

ความเห็น 57

  • Anupap.
    ห้องสมุดชุมชน-หอสมุดประจำเมือง ปลูกฝังวัฒนธรรมรักการอ่าน เขียน หนังสือที่ดีเยี่ยงนานาอารยประเทศ ในยุคที่ทุกคนมีพื้นที่แสดงผลงาน🍃
    18 ก.ย 2564 เวลา 02.14 น.
  • €¥£
    คุณพนมเทียน เสียชีวิต ปี 63 จ๊ะ แก้ไขด้วย
    17 ก.ย 2564 เวลา 21.17 น.
  • chettha ชกส 13
    งานของรงค์วงค์สวรรค์ ผมชอบอ่านแล้วทุกตัวอักษรมันแล่นเข้าสู่จินตนาการ ตอนเป็นวัยรุ่นหาหนังสือมือสองเป็นพ้อกเกตบุคอ่าน 5-10 บาทท่าขึ้นเรือท่าพระจันท์
    18 ก.ย 2564 เวลา 14.36 น.
  • ภาวนา - Pawana
    อะไรคือ นิลุบล นวเรศ, คุณประภัสสร เสวิกุล คือชื่อจริง นามปากกาท่านก็ไม่มีชื่อนี้ ตรวจสอบด้วย
    18 ก.ย 2564 เวลา 00.25 น.
  • ดุสิต สุทธิพิบูลย์
    โดยเฉพาะ วิมล ศิริไพบูลย์ จะไม่มีวันลืมเลือน
    19 ก.ย 2564 เวลา 03.08 น.
ดูทั้งหมด