โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

ย้อนเปิดเทศนา 'พระมหาไพรวัลย์' เนื้อหาธรรมะแน่นจากคนดูหลักสิบสู่หลักแสน : เสาร์นี้ในอดีต

LINE TODAY ORIGINAL

เผยแพร่ 10 ก.ย 2564 เวลา 17.00 น. • O.J.

นาทีนี้แทบไม่มีใครไม่รู้จักกับ 2 พระนักเทศน์ 'พระมหาไพรวัลย์และพระมหาสมปอง ' แห่งวัดสร้อยทอง ที่ได้ปรับวิธีการเผยแพร่ศาสนาให้เข้ากับยุคไทยแลนด์ 4.0 โดยนำระบบการไลฟ์สดจากโลกออนไลน์มาใช้ พร้อมกับคำศัพท์ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาได้ง่ายขึ้น จนสร้างปรากฏการณ์ยอดผู้เข้าชมพุ่ง 200,000 มาแล้ว 

แต่ทว่าความร้อนแรงจากแสงแห่งธรรมกลับกลายเป็นที่จับตามอง ซึ่งวันที่ 9 ก.ย.64 ที่ผ่าน ทั้ง 2 พส. (พระสงฆ์) ได้เข้าพบ กมธ.ศาสนา ตามที่ได้นิมนต์ เพื่อชี้แจงการไลฟ์สดและได้ข้อตกลงที่ว่า  

'ลดความตลกขบขันให้เหลือ 30% และเพิ่มเนื้อหาธรรมะ 70% ก่อนที่ ทั้ง 2 พส.ข้อต่อรองเป็น ธรรมะ 50 % และตลก 50%'

เสาร์นี้ในอดีต : จากการไลฟ์สดของ พส. (พระสงฆ์) ที่ฟีเวอร์ในช่วงสัปดาห์นี้ ถึงจะมีการหัวเราะขบขันในระหว่างการเทศน์ แต่ก็มีแง่คิดให้ผู้ฟังนำกลับไปใช้ได้ไม่มากก็น้อย ซึ่งตลอดระยะที่ผ่านมาพระมหาไพรวัลก็มักจะทำคลิปธรรมะต่าง ๆ ทั้งการทำบุญ,อธิบายถึงวันสำคัญทางศาสนาพุทธ รวมถึงรายการธรรมไปเรื่อย ที่พาไปวัดต่าง ๆ และบอกเล่าเรื่องราวของสถานที่นั้น 

LINE TODAY จึงขอหยิบธรรมะหลักคำสอนที่ลึกซึ้งที่พระมหาไพรวัลได้เทศนาไว้ ซึ่งแต่ประโยคนั้นได้ข้อคิดดี ๆ ไว้เตือนใจและนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

'ข้อธรรมจากวันเข้าพรรษา' 

หัวข้อดังกล่าวได้ถูกโพสต์ 25 ก.ค.64 ที่ผ่านซึ่งตรงกับวันเข้าพรรษา พระมหาไพรวัลได้เทศนาพร้อมกับไขข้อสงสัยที่ว่า วันเข้าพรรษา เกี่ยวกับญาติโยมหรือไม่นั้น 

โดย พส. (พระสงฆ์) เผยว่าทางวินัยสงฆ์ญาติโยมก็ไม่ได้เกี่ยวข้องกันแต่อย่างใด เพราะเป็นเรื่องของพระที่จะอธิฐานตั้งใจขณะที่จำพรรษา ซึ่งภาษาบาลีที่พระสงฆ์จะต้องอธิฐาน 'อิมสฺมิ อาวาเส อิมํ เตมาสํ วสฺสํ อุเปมิ' แปลว่า ข้าพเจ้าขอจำพรรษาในกุฏินี้ตลอด 3 เดือน แต่ทว่าติดกิจจำเป็นก็ไปได้ภายใน 7 วัน เท่านั้น ซึ่งทางสงฆ์เรียกว่า 'สัตตาหกรณียะ' 

พระมหาไพรวัล เกรงว่าญาติโยมจะไม่เข้าใจ จนเกิดความสงสัย จึงได้ขยายความอีกว่า ถ้าเห็นพระไม่จำวัดในช่วงวันเข้าพรรษาก็ขอให้คำนึงว่าท่านอยู่ในช่วง 'สัตตาหกรณียะ' มีเหตุจำเป็นเช่นเพื่อไปพยาบาลภิกษุสามเณรหรือบิดามารดาที่ป่วย ฯลฯ ซึ่งถ้าเกิน 7 วัน นับว่าพรรษาขาดทันที 

ซึ่งปัจจุบันพระสงฆ์ก็ไม่ได้จาริกไปที่ใด เนื่องจากมีสังกัด ซึ่งจะแตกต่างจากสมัยพุทธกาลที่จะมีการตั้งพุทธบัญญัติเรื่องการอยู่จำพรรษา นั้นก็เพราะในสมัยก่อนไม่มีวัดเป็นที่อยู่ประจำและมีหน้าที่จะจาริกไปทั่ว แต่ปัจจุบันถ้าพระสงฆ์จาริกไปทั่วก็จะถูกจับสึกทันที 

ทั้งนี้คนไทยก็ยังเข้าใจผิดกับคำว่า 'ธุดงค์' เป็น 'การเดิน' ซึ่งธุดงค์บางอย่างก็ไม่จำเป็นต้องเดินอยู่กับที่ก็ได้ อาทิ ถือธุดงค์ด้วยอิริยาบถ 3 คือ ยืน เดิน นั่ง จะไม่เอนตัวลงให้หลังสัมผัสพื้น ก็เป็นการธุดงค์อย่างหนึ่ง แต่การเดินบางครั้งก็ไม่เรียกว่าธุดงค์เพราะไม่ได้อธิฐาน เป็นเพียงการจาริกเท่านั้น 

ก่อนทิ้งท้ายคำคมที่ว่า "พูดให้ผู้ที่เป็นพระและญาติโยม รู้เรื่องพระสงฆ์ไว้บ้างก็ดี เป็นคนพุทธจะได้ช่วยกันบอก"

เมื่อพระมหาไพรวัลย์เจอ IO ป่วนไลฟ์สด

หัวข้อดังกล่าวได้ถูกโพสต์ 27 ก.ค.64 เริ่มประเด็นแรกด้วยคำถามญาติโยมที่ว่า "ท่านกำลังทำผิดประเพณีหรือไม่ แต่ก่อนการถวายเทียนเข้าพรรษามีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล ? "

พระมหาไพรวัลจึงให้คำตอบที่ว่า "สมัยพุทธกาลไม่มีธรรมเนียมการถวายเทียนเข้าพรรษา อีกทั้งพระพุทธเจ้าไม่ได้บัญญัติเรื่องดังกล่าว แต่เป็นเพียงประเพณีค่านิยมทางสังคมที่ได้บัญญัติขึ้นเอง ซึ่งแต่ก่อนเทียนสำคัญเพราะต้องใช้ในการจุดดูหนังสือตำรา แต่ปัจจุบันมีไฟฟ้าและอยากให้โยมรู้จักคิด ไม่ใช่เพียงฟังตามคนอื่นมา 

ดั่งที่พระพุทธเจ้าตรัสว่าในพระธรรมบทที่ว่า สติปัญญามีไว้ใช้ไม่ได้มีไว้ต้มแกง ฉะนั้นเมื่อเกิดวิกฤติก็จะต้องรู้จักการดัดแปลงสิ่งต่าง ๆ ให้เข้ากับยุคสมัย"

หลังจากนั้นได้หยิบหลักเรื่อง ไฟ 3 (อัคคิ 3) ซึ่งมีไฟอย่างหนึ่งที่พระพุทธเจ้าได้เรียกว่าโมหัคคิ (ไฟคือความหลง) ถ้าเราใช้ชีวิตโดยทำทุกอย่างและอ้างว่านั้นคือสิ่งที่เขาทำตามกันมา และตัวเราไม่ฉุกคิด ไม่เกิดการตั้งคำถามและปล่อยให้ทำตามกันไปอย่างนั้น โดยไม่คำนึงว่าสิ่งที่ทำมันก่อให้เกิดประโยชน์,สร้างโทษหรือไม่ และอาจเป็นการเกื้อกูลกับบุคคลอื่นหรือไม่ 

แล้วถ้าไม่เกิดการตั้งคำถามก็จะไม่มีประโยชน์ ดังนั้นก็จะเข้าข่ายโมหัคคิไฟคือความหลงที่เผาอยู่ ถึงแม้ความหลงจะมีโทษน้อย แต่มันจะอยู่กับตัวเราไปอีกนาน และจงระวังความหลงจะพาไปสู่ความมืดบอด 

พระมหาไพรวัลได้เทศนาเพิ่มเติมอีกว่า อาตมาไม่มีสิทธิที่จะบังคับใครได้ และไม่สามารถฝืนใจใครได้ มีแต่ชักชวนและแนะนำ ส่วนใครเขาไม่เห็นด้วยหรือเห็นต่างเราก็ไม่สามารถบังคัญเขาไม่ได้ ซึ่งศาสนาก็เช่นกันเพราะเป็นเรื่องที่ต้องแล้วแต่ความสมัครใจของคนผู้นั้น

"พาลา หเว นปฺปสํสนฺติ ทานํ. คนพาลเท่านั้น ไม่สรรเสริญทาน"

พระมหาไพรวัลย์ แนะนำวิธีทำบุญประเทศที่ถูกต้อง

ก่อนที่จะเข้าเรื่องการทำบุญ พระมหาไพรวัลได้พูดถึง 'ดอกหน้าวัว' หลังจากได้รับมาและได้โพสต์ขอบคุณบนเฟซบุ๊ก แต่ก็มีหลายคนเข้ามาแสดงความคิดเห็นที่ว่าเป็น 'ดอกไม้พวงหลีด' 

โดยท่านได้เทศน์ไว้ว่า มันก็เป็นเพียงความเชื่อของตัวคุณที่คิดว่าเป็นดอกไม้งานศพมันก็เป็นนัยยะของสิ่งที่ไม่เป็นมงคล ซึ่งเรื่องมงคลหรือไม่มงคลตัวคุณเป็นผู้กำหนดกันเองทั้งนั้น อย่างที่อาจารย์ถวัลย์ได้เคยบอกไว้ว่า แท้จริงดอกไม้ไม่ว่าจะอยู่ในสวนหรือฝาโลง หน้าที่ของมันคือส่งกลิ่นหอมและโชว์ความสวยงาม

'อริยสัจ' คือสิ่งที่ชาวพุทธไม่ว่าจะทำการเรื่องใดก็คงคำนึงไว้ถึงผลที่จะได้รับ ซึ่งชาวพุทธไม่ว่าจะทำพิธีอะไรก็จะทำการบวงสรวงใหญ่โตทั้งหัวหมู ผลไม้ ฯลฯ แต่กับไม่ถูกต้องตามหลักทางศาสนาเนื่องด้วยพระพุทธเจ้าไม่ได้สอนหลักการ 'ทำเทวะตาภิ' การเอาของมาเซ่นไหว้เพื่อทำให้เกิดความมงคล ซึ่งลักษณะนี้คือเข้าตำราหลัก 'พราหมณ์' 

วิธีการทำบุญประเทศที่ดีที่สุด คือทำแบบพระเจ้ามหาวิชิตราช ทำตามหลักธรรมในกูฎทันตสูตร เมื่อบ้านเมืองมีภัย ผู้คนทุกข์ยากลำบาก สิ่งที่ผู้ปกครองที่ดีควรทำ คือช่วยเหลือเกษตรกรให้สามารถหาซื้อเมล็ดพันธุ์ในการเพาะปลูกได้ในราคาที่ถูกและไม่เอาเปรียบ

ให้ต้นทุนแก่คนที่ค้าขาย ให้ลมหายใจแก่คนทำมาหากิน ช่วยพักชำระหนี้ที่สามารถช่วยพักชำระได้ คิดหาวิธีที่ประชาชนจะไม่ต้องเป็นทุกข์เพราะเรื่องของดอกเบี้ย ไม่เพิ่มภาระหนี้สินให้กับราษฎรในเรื่องที่ไม่จำเป็น 

สร้างขวัญกำลังสามารถมาปรับใช้ในปัจจุบันได้ อาทิ มอบชุดอุปกรณ์ มอบเครื่องมือสำหรับการบรรเทาสาธารณะภัย มอบวัคซีนที่มีคุณภาพเพื่อสร้างขวัญกำลังใจให้กับแพทย์และประชาชน

นี่คือวิธีบูชายัญ คือวิธีการทำบุญประเทศอย่างเกิดประโยชน์ที่สุด พระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้ชัดว่า "ผู้ปกครองที่ฉลาด พึงแสวงหาสิ่งที่เป็นความสุขเพื่อประชาชน"

ขอบคุณทุกคนที่ทำให้ธรรมะกลายเป็นกิจกรรมก่อนนอนของวันนี้

Posted by พระมหาไพรวัลย์ วรวณฺโณ on Thursday, September 9, 2021

"นี่เป็นเพียง 3 หัวข้อที่ได้เราหยิบยกมา ซึ่งทั้งหมดล้วนสอดแทรกหลักธรรมะอยู่เสมอ แต่ก็ยังคงมีออารมณ์ขบขันทำให้เรื่องพุทธศาสนาที่หลายคนอาจคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัว กลับกลายเป็นเรื่องใกล้ตัว และทำให้คนรุ่นใหม่เข้าถึงหลักธรรมคำสอนของพระพุทธองค์มากยิ่งขึ้น"

ขอบคุณ ยูทูบ พระมหาไพรวัลย์ วรวณฺโณ

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0