โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

ที่มาของ "เป็ดก้าบก้าบ" และสิ่ง "มุ้งมิ้ง" ที่เคยนำมาเคลื่อนไหวทางการเมือง

LINE TODAY ORIGINAL

เผยแพร่ 25 พ.ย. 2563 เวลา 18.29 น. • AJ.
ภาพโดย Jason Richard / unsplash.com
ภาพโดย Jason Richard / unsplash.com

ตั้งแต่มี #ม็อบคณะราษฎร 

กลุ่มผู้ประท้วงได้หยิบยกสัญลักษณ์มากมายมาใช้เป็นตัวแทนความเคลื่อนไหวทางการเมือง ย้อนไปก่อนหน้านี้ก็มีตั้งแต่การชูสามนิ้ว ริบบิ้นขาว มาจนถึงปัจจุบันที่มี "น้องเป็ดยางสีเหลือง" สุดน่ารักมาร่วมต่อต้านเผด็จการกับเขาด้วย

ประวัติ "น้องเป็ดเหลือง"

วันที่ 17 พฤศจิกายน 2563 เป็นวันที่กลุ่มคณะราษฎรนัดหมายชุมนุมที่รัฐสภา ถนนเกียกกาย เพื่อสังเกตการณ์การยื่นร่างธรรมนูญฉบับประชาธิปไตย แต่ก่อนหน้านั้นมีประกาศจากทางรัฐบาลว่าจะบล็อกการเดินทางมารัฐสภาทุกทิศทาง แน่นอนรวมถึงทางน้ำด้วย จึงมีการ "ปั่น" กันว่าจะปั่นเรือเป็ดเข้าไป สุดท้ายก็ปรับเปลี่ยนจนกลายมาเป็นการพกเป็ดยางไปด้วยอย่างที่เห็น

แต่เมื่อสถานการณ์พลิกผัน มีการฉีดน้ำสลายการชุมนุม เป็ดยางจึงถูกนำขึ้นมาที่แนวหน้าเพื่อทำหน้าที่เป็นโล่ป้องกันแรงดันน้ำให้มวลชนไปโดยปริยาย

Rubber ducks being passed to the front line by protesters to use as shields against the water cannons and tear gas. #ม็อบ17พฤศจิกา #รับทุกร่างคือทางออก pic.twitter.com/wD1e9YvsBj

— Thai Enquirer (@ThaiEnquirer) November 17, 2020

อาบน้ำในคลองอยู่ดี ๆ ก็มีซีนในการเมืองโลก

ราวปี 2007 ศิลปินชาวดัตช์ โฟลเรินไตน์ โฮฟมัน (Florentjin Hofman) ออกแบบเป็ดยางขนาดยักษ์และนำไปวางแสดงไว้ในสถานที่ต่าง ๆ ทั่วโลก เช่น ฮ่องกง และซิดนีย์

ไม่กี่อาทิตย์หลังจากเจ้าเป็ดของโฮฟมันเดินทางมาถึงวิกตอเรียเบย์ ที่ฮ่องกงช่วงเดือนพฤษภาคม 2013 ก็มีนักเคลื่อนไหวนำเจ้าเป็ดไปตัดต่อให้กลายเป็นเป็ดน้อยขบวนรถถัง ล้อเลียนขบวนรถถังของจริงในการประท้วงที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน ในปี 1989 ทำให้ถูกทางการจีนแบนภาพเป็ดเหลืองในทุกแพล็ตฟอร์ม

ที่บราซิลก็ใช้เป็ดเหมือนกัน ในปี 2016 กลุ่มคนที่ต้องการฟ้องร้องประธานาธิบดีในขณะนั้น เลือกใช้เจ้าเป็ดเหลืองเป็นมาสคอตในการเคลื่อนไหว มูฟเมนต์นี้ยังมีความหมายเล็ก ๆ ซ่อนอยู่เนื่องจากในภาษาโปรตุเกส คำว่า "จ่ายเป็นเป็ด" มีความหมายว่า "ชดเชยความผิดที่ตนไม่ได้ก่อ" อีกด้วย

ที่รัสเซียก็เช่นกัน เมื่อปี 2017-2018 ชาวรัสเซียนำเป็ดเหลืองมาประท้วงให้นายวลาดิเมียร์ ปูตินลาออกจากการเป็นประธานาธิบดี

กลับมาที่เป็ดเหลืองของไทย ที่เมื่อไปปรากฏกายในม็อบแล้ว ชาวเน็ตก็ต่อยอดความคิดสร้างสรรค์ ด้วยการช่วยกันสร้างแฟนอาร์ตเป็ดเหลืองในอิริยาบถต่าง ๆ โดยรูปที่ฮิต ๆ ก็ได้แก่เจ้าเป็ดเหลืองรูปร่างบึกบึน คอยปกป้องประชาชนจากรถฉีดน้ำและแก๊ซน้ำตา ซึ่งโจชัว หว่อง แกนนำม็อบชาวฮ่องกงก็ได้ทวีตถึงกรณีนี้ด้วย

Apart from #policebrutality, the world should also pay attention to #Thaiprotestors' creativity. Probably the first place where the powerless citizens use #RubberDuck to fight against tyranny.
Creativity wins.
Long live rubber ducks.#whatishappeninginthailand #MilkTeaAlliance pic.twitter.com/zwYpjFIDjv

— Joshua Wong 黃之鋒 😷 (@joshuawongcf) November 18, 2020

ไม่ใช่แค่เป็ดเหลือง น้อง ๆ เหล่านี้ก็ได้ฟีตเจอริ่งในการประท้วงด้วย!

หมีแพนด้า : เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ร้านอาหารในเมืองแฟรงเฟิร์ต ประเทศเยอรมนี ให้คนแต่งชุดมาสคอตหมีแพนด้าทำทีไปนั่งในร้าน และนำตุ๊กตาหมีแพนด้าจำนวนมากมาตั้งแทนลูกค้า เป็นสัญลักษณ์ของการประท้วงเงียบ เนื่องจากรัฐบาลเยอรมนีกลับมาใช้มาตรการล็อกดาวน์อีกครั้ง โดยเหตุผลที่เลือกใช้แพนด้า ก็เพราะออกเสียงคล้ายคำว่า Pandemic ที่แปลว่าโรคระบาด

มะเขือเทศมีหน้า : ผู้ประท้วงที่ฟลอริด้า วาดภาพมะเขือเทศมีหน้าคน แสดงให้ถึงแรงงานผู้อยู่เบื้องหลังการเก็บเกี่ยวมะเขือเทศเหล่านี้ ซึ่งส่วนมากเป็นแรงงานที่อพยพเข้ามาทำงานในประเทศอเมริกา และได้รับการปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม

น้องหมาน่ารัก (ตัวเป็น ๆ) : ราวปี 2017 ที่ประเทศโรมาเนียมีการประท้วงรัฐบาลเรื่องกฎหมายต่อต้านคอร์รัปชันที่ไม่เด็ดขาด ฝั่งรัฐบาลโจมตีผู้ประท้วงโดยการกล่าวหาว่ามีการจ่ายเงินให้ผู้ประท้วงออกมาเคลื่อนไหว (คุ้น ๆ เนอะ!) และจะยิ่งได้เงินมากขึ้นเมื่อพาน้องหมามาประท้วงด้วย! เท่านั้นแหละ ประชาชนจึงร่วมด้วยช่วยกันปั่นด้วยการพาน้องหมามาประท้วงจริง ๆ พร้อมแขวนป้ายว่า "ไม่ได้รับเงินใครมาค้าบ"

ไดโนเสาร์ : ในม็อบนักเรียนเลวที่ผ่านมา ผู้ประท้วงยังได้นำชุดทีเร็กซ์มาใส่เป็นมาสคอต เป็นตัวแทนแสดงถึงความคิดที่แสนจะล้าหลัง เหมือนไดโนเสาร์ยังไงยังงั้น

The clown confers with the dinosaurs near the main stage at today’s protests.#นักเรียนเลว #ม็อบ21พฤศจิกา #บ๊ายบายไดโนเสาร์ pic.twitter.com/T0NtvvBhQO

— Thai Enquirer (@ThaiEnquirer) November 21, 2020

ท่ามกลางสัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่ผู้ประท้วงทั่วโลกนำมาประยุกต์ใช้ ทุกสิ่งย่อมซ่อนความเกรี้ยวกราดและข้อความที่ทุกคนต้องการจะสื่อ บอกเล่าความไม่เป็นธรรมที่คนบางกลุ่มกำลังเผชิญ

และไม่ว่ากลุ่มผู้เรียกร้องจะมีขนาดใหญ่ หรือเล็กปะติ๋วแค่ไหน เราควรเปิดใจรับฟังทุกฝ่ายอย่างจริงใจ และเลิกยัดเยียดความ "มุ้งมิ้ง" ให้ใครสักที

-

อ้างอิง

abc.net.au

bbc.com

distractify.com

indianexpress.com

thaienquirer.com

tnnthailand

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0

ความเห็น 97

  • Nutchimaru
    เข้าใจหล่ะ มาตรฐานม๊อบเลย ก๊อบเค้ามาโดยที่ ไม่จำเป็นต้องมีความหมาย ถ้าใครติดตามม๊อบนี้ คงเห็น ไม่มีอะไรซักอย่างเดียวที่คิดเอง
    25 พ.ย. 2563 เวลา 21.45 น.
  • บ่าววี
    สมัยทักษิณ ยิ่งลักษณ์มีเป็ดเหลิม
    26 พ.ย. 2563 เวลา 01.12 น.
  • เทอดไทย (ต้น)
    เขียนข่าวยังไม่รู้จะเอาความหมายที่แท้จริงของเป็ดมาเลย เขียนแบบงง. ๆ ว่าจริงๆ เป็ดคืออะไร เป็ดเหลือง หมายถึง สันติภาพและเสรีภาพ แค่นี้เอง เขียนวนไปวนมา
    25 พ.ย. 2563 เวลา 23.41 น.
  • amp
    ขำในย่อหน้าสุดท้าย คนเขียนมุ้งมิ้ง
    26 พ.ย. 2563 เวลา 01.11 น.
  • 555ข่าวมุ้งมิ้ง
    26 พ.ย. 2563 เวลา 01.15 น.
ดูทั้งหมด