รู้หรือไม่? ประเทศไทยเคย "หิมะตก"!
หลาย ๆ คน โดยเฉพาะเด็กเจน Y ลงไป ได้ยินแบบนี้แล้วคงทำใจเชื่อยาก เพราะตั้งแต่จำความได้ พวกเรามีโมเมนต์หยิบเสื้อกันหนาวออกมาสวมใส่เพื่อความอบอุ่นช่างน้อยนิด ต่อให้มีก็กินเวลาเพียงไม่กี่วัน และต้องจัดเต็มให้ได้มากที่สุด สเวตเตอร์ ขนเฟอร์ โค้ตยาว งัดออกมาใส่ให้หมด!
ร้อน ๆ แบบนี้ เอลซ่าก็เคยมาเยือนทีนึง!
ย้อนไปเมื่อปี 2498 ที่จังหวัดเชียงรายเคยมีปรากฏการณ์ "คล้าย" หิมะตกเป็นเวลาสั้น ๆ หลังจากฝนตกเล็กน้อยในวันที่อากาศเย็นของเดือนมกราคม เกิดเป็นลูกเห็บขนาดเล็ก และเกล็ดน้ำแข็งสีขาว ๆ ปกคลุมพื้นดินขาวโพลน สร้างความประหลาดใจแก่คนเชียงราย ซึ่งหลังจากนั้นไม่นานฝนก็ตก เกล็ดน้ำแข็งขาว ๆ ที่ดูคล้ายหิมะจึงจางหายไป โชคดีที่มีผู้บันทึกภาพไว้ได้ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ "เกือบ ๆ จะหิมะตก" ครั้งสุดท้ายในไทย
ภาวะโลกร้อน มีจริง!
ไม่ใช่แค่ไทย แต่ฤดูหนาวทั่วโลกก็กำลังหดสั้นลง แต่ฤดูหนาวในอีกซีกโลกหนึ่งอย่างสหรัฐอเมริกาหรือนิวซีแลนด์ก็หดสั้นลงมาตลอด อย่างในปี 2562 กรมอุตุฯ สหรัฐถึงกับประกาศว่าปีนั้นเป็นปีที่อเมริกามีฤดูแสนสั้นที่สุดในรอบ 100 ปีเลยทีเดียว
ตั้งผิดที่ หนาวนี้เลยไม่มีจริง!
ขอปัดฝุ่นความรู้วิชาภูมิศาสตร์สักหน่อย เหตุผลแรกที่ประเทศไทยไม่หนาวสักที เป็นเพราะบ้านเราตั้งอยู่ในตำแหน่งละติจูดต่ำ ซึ่งอยู่เหนือเส้นศูนย์สูตรในเขตร้อนชื้น ทำให้มีอากาศอุ่น ร้อนสลับกับฝนตกชุกตลอดทั้งปี ต่อให้หนาวยังไงก็ไม่หนาวพอ จะหวังให้มีหิมะนั้นยิ่งเป็นไปไม่ได้เลย เพราะหิมะจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อในชั้นบรรยากาศมีอุณหภูมิต่ำกว่า 0 องศาฯ และด้วยภูมิประเทศแบบนี้ ประเทศเรายิ่งหนาวสั้นลงไปอีก
"เกาะความร้อน" ความร้อนในเมืองที่แก้ไม่หาย
ตึกรามบ้านช่องสูง ๆ ในเมืองก็เป็นสาเหตุให้ไทย "หนาวน้อย ร้อนนาน" ด้วยโครงสร้างอาคารต่าง ๆ มีวัสดุดูดซึมความร้อนจากแสงอาทิตย์ รวมทั้งความร้อนที่เกิดจากการเผาผลาญเชื้อเพลิง ไอเสีย หรือฝุ่นที่ลอยอยู่กลางอากาศก็ยังดูดซับความร้อนไปอีก
ไม่เพียงเท่านั้น ความร้อนที่ปล่อยออกมาจากโรงงานอุตสาหกรรม เครื่องปรับอากาศ ก็มีส่วนทำให้เกิดปรากฏการณ์ "เกาะความร้อน" เช่นกัน
ในขณะที่ต้นไม้ในเมืองนั้นมีจำนวนน้อยลง ตัวช่วยดูดซับความร้อนและสังเคราะห์แสงก็ยิ่งน้อย ทำให้แสงอาทิตย์ส่องลงมาโดนวัตถุที่ต่างสะท้อนความร้อนไปมาดูดซับไว้ และทำให้อากาศร้อนขึ้น เป็นเหตุผลที่คนเมืองไม่ค่อยได้สัมผัสหน้าหนาวเท่าคนต่างจังหวัด หรือคนในภาคเหนือ และภาคอีสาน ซึ่งเป็นจุดที่ลมหนาวจากภูมิภาคอื่นพัดเข้ามามากที่สุด
อย่างไรก็ตาม กรมอุตุฯ ได้คาดหมายฤดูหนาวของประเทศไทยในปีนี้ไว้ว่าจะสิ้นสุดประมาณปลายเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า (2564) ซึ่งหากอยากสัมผัสอุณหภูมิเย็นจัดจริง ๆ ต้องเดินทางไปสัมผัสที่ภาคเหนือ และภาคอีสาน โดยช่วงเวลาที่หนาวที่สุดจะอยู่ในเดือนธันวาคม ถึงปลายเดือนมกราคม 2564 หมายความว่าเราจะยังได้ลุ้นอากาศหนาวกันอีกหนึ่งระลอกในช่วงปลายปี เย่!
อดทนกับ "หน้าหนาว" แบบไทย ๆ ไปพลาง ๆ เพราะช่วงโควิด19 แบบนี้ จะให้ออกไปท่องโลกชมหิมะอย่างที่ผ่านมาก็คงไม่ได้ ช่วงนี้ก็เริ่มโครงการ "ไทยเที่ยวไทย" ด้วยตัวเองไปก่อน อย่าปล่อยให้อากาศเย็น ๆ ต้องหมดไปอย่างสิ้นเปลืองเลย มาใช้หน้าหนาวที่มีให้คุ้มค่ากันเถอะ!
--
อ้างอิง
ความเห็น 104
HULK
BEST
กรุงเทพ 50ปีก่อน หนาวครั้งละ3เดือน แบบหนาวสั่น
ต้องใส่เสื้อกันหนาว แบบหนาหนาเลย แล้วก็หายไป40ปีแล้วปีเล่าเพราะชอบหน้าหนาวที่สุด
19 พ.ย. 2563 เวลา 01.31 น.
老頑童
BEST
เพราะธรรมชาติมันถูกทำลายไปเยอะไง !!
19 พ.ย. 2563 เวลา 01.43 น.
Suvit Patt
BEST
เราทำลายสิ่งแวดล้อมกันมากสมัยก่อนมีงานฤดูหนาวที่ลพบุรีทุกปีอากาศหนาวเย็นแต่มีการระเบิดภูเขาที่หน้าพระลานและตัดต้นไม้ที่สวนสวรรค์พุแคสระบุรีสมัยก่อนรถไม่มีแอร์ขับผ่านสวนสวรรค์ก็มีลมเย็นจนรู้สึกได้
19 พ.ย. 2563 เวลา 01.26 น.
ʝʊռɢ_աɨռ
ว่าตามภูมิศาสตร์ ละติจูดก็มีส่วน
แต่ทำไมเวียดนามละติจูดเดียวกัน กลับเย็นกว่าไทยมาก
ปัญหาจริงๆคือ เทือกเขาหิมาลัย คือตัวกั้นความกดอากาศสูงจากจีน
ไม่ให้แผ่ลงล่างมาไทย ดูได้จากแผนที่อากาศกรมอุตุ
จะเห็นเส้นความกดอากาศสูง ไหลอ้อมเทือกเขาหิมาลัยลงลาวเวียดนาม
ซึ่งไม่มีเทือกเขาหิมาลัยบัง
18 พ.ย. 2563 เวลา 22.47 น.
J
กรุงเทพสามสิบกว่าปีก่อนมีหนาวนานอยู่บ้างแต่ก็ปรกติของเมืองร้อน
18 พ.ย. 2563 เวลา 22.39 น.
ดูทั้งหมด