หลังกิจกรรมชุมนุมนักเรียน #หนูรู้หนูมันเลว ที่เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้
หลายคนเริ่มให้ความสนใจกับความเคลื่อนไหวของเด็กนักเรียน และคนรุ่นใหม่ ที่ต่างออกมาเรียกร้องและส่งเสียงเพื่อสิทธิของตัวเองอย่างฉะฉาน ไม่ว่าจะเป็นประเด็นของกฎระเบียบในโรงเรียน ระบบการศึกษา ไปจนถึงประชาธิปไตย ทำให้เรานึกคำว่า 'Youthquake' ขึ้นมา (ออกเสียงว่า 'ยูธเควก' เป็นการผสมคำระหว่างYouth ที่แปลว่า เยาวชน และ Earthquake ที่แปลว่า แผ่นดินไหว ) ว่าแต่ Youthquake คืออะไร? และมันแน่ขนาดจะสั่นสะเทือนโลกทั้งใบได้เชียวหรือ?
ในปี 2017 คำว่า 'Youthquake' ถูกยกให้เป็นคำศัพท์แห่งปีจาก Oxford Dictionaries โดยมีนิยามว่า "การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม การเมือง หรือสังคม ที่ถูกขับเคลื่อนหรือได้รับแรงบันดาลใจจากเยาวชน"
ปรากฏการณ์ที่มี "เยาวชน" เป็นศูนย์กลางกำลังเกิดขึ้นทั่วโลก ปัจจัยหนึ่งอาจมาจากการที่หลายประเทศเริ่มมีนักการเมืองหรือนักเคลื่อนไหวรุ่นใหม่มากขึ้น เริ่มจากประธานาธิบดีฝรั่งเศสแอมมานูเอล มาครง (Emmanuel Macron) อายุ 41 ปี จาซินดา อาร์เดิร์น (Jacinda Ardern) นายกฯ นิวซีแลนด์ที่เราเห็นจากไวรัลในอินเทอร์เน็ตบ่อย ๆ (40 ปี) และที่ขาดไม่ได้คือ น้องเกรตา ธันเบิร์ก (Greta Thunberg) วัย 17 ปี ที่ทุกคนน่าจะจดจำได้จากมาดขึงขังจริงจังกับภาวะโลกร้อนตามสื่อต่าง ๆ
ใกล้เข้ามาหน่อยก็คงหนีไม่พ้น#พันธมิตรชานม (Milk Tea Alliance) ที่รวมกลุ่มวัยรุ่นจากไต้หวัน ฮ่องกง และวัยรุ่นไทย โดยมีชานมของแต่ละประเทศเป็นสัญลักษณ์ พันธมิตรชานมเริ่มต้นจากดราม่าที่มีนักแสดงไทยคนหนึ่งเรียก "ฮ่องกง" ว่าประเทศ ตามมาด้วยการถูกโจมตีจากชาวจีนในนโยบาย "จีนเดียว" ว่าด้วยทั้งฮ่องกงและไต้หวันไม่ใช่ประเทศ แต่เป็นส่วนหนึ่งของจีน เดือดถึงชาวเน็ต ไทย ไต้หวัน และฮ่องกง ที่จับมือกันคัดค้านชาวเน็ตจีนอย่างสามัคคี รวมถึงกรณี #แบนมู่หลาน เมื่อไม่นานนี้ ที่กลุ่มพันธมิตรชานมก็ร่วมกันต่อต้านหนังดังเรื่องดังกล่าว ด้วยเหตุผลที่นักแสดงนำของเรื่องเคยออกมาสนับสนุนจีนเดียว และต่อต้านการประท้วงของชาวฮ่องกง
หรือแม้กระทั่งในการผลักดันเรื่องแก้รัฐธรรมนูญและยุบสภา ที่กำลังระอุในไทย ก็มีการขับเคลื่อนโดยกลุ่มคนรุ่นใหม่อย่าง "เยาวชนปลดแอก" ในขณะที่ฝั่งรัฐบาลก็มีคนรุ่นใหม่อย่าง "คชโยธี เฉียบแหลม" วัยรุ่นอายุ 15 ปี ที่ขึ้นแสดงความคิดเห็นบนเวทีของกลุ่ม"ไทยภักดี" ด้วย
การเคลื่อนไหวของเยาวชนยุคนี้ยังมีจุดเด่นไม่เหมือนใคร จุดประสงค์ของแต่ละการชุมนุมก็ค่อนข้างหลากหลาย ไม่ยึดติดอยู่ที่การ "ลงถนน" เพียงอย่างเดียวเหมือนที่คนรุ่นก่อน ๆ เคยทำอีกต่อไป ลองดูตัวอย่างกลยุทธ์ที่คนรุ่นใหม่ทำแล้วสั่นสะเทือนสังคมกันบ้าง
- พา "ทัวร์ลง" ในโซเชียลมีเดีย
การช่วยกันถล่มหรือพากัน "แบน" บุคคลหรือสิ่งใด ๆ ที่ขัดต่อแนวคิดของกลุ่มผู้เรียกร้องทางโซเชียลมีเดีย ดูเหมือนจะเป็นไม้ตายสำคัญในทุกการเคลื่อนไหว ตั้งแต่มูฟเมนต์ #BlackLivesMatter ไล่มาถึง#ป่ารอยต่อ จนถึงการแบนคนในวงการบันเทิงเช่นเดียวกับกรณี #แบนมู่หลาน
- ใช้ "วัฒนธรรมป๊อป" ขับเคลื่อน
ทราบไหมว่าท่าชูสามนิ้วมาจากไหน? ที่จริงท่าชูสามนิ้วมีที่มาจากวรรณกรรมและภาพยนตร์เรื่อง เดอะฮังเกอร์เกมส์ (The Hunger Games) ในบริบทของการไม่จำยอมต่อการปกครองที่ไม่ยุติธรรมตามท้องเรื่อง ไล่เรียงมาถึง "ม็อบแฮร์รี่พอตเตอร์" ที่ใช้ "ลอร์ดโวลเดอร์มอร์" ตัวร้ายของเรื่องอุปมาถึงความไม่ถูกต้อง "ม็อบแฮมทาโร่" ที่แปลงเนื้อเพลงเพื่อเสียดสีรัฐบาล จนถึง "ม็อบไม่มุ้งมิ้งแต่ตุ้งติ้งค่ะคุณรัฐบาล" มีธีมจากหนังไทยเรื่อง "หอแต๋วแตก" ที่เรียกร้องสิทธิของ LGBTQ+ ไปพร้อม ๆ กับประชาธิปไตย ทั้งหมดล้วนได้รับแรงบันดาลใจจากสื่อบันเทิงสมัยใหม่ที่คนรุ่นใหม่เสพ และนำมาสื่อสารอย่างเข้าใจง่าย แต่ก็ตลกร้ายในคราวเดียวกัน
ตั้งแต่ช่วงโควิด19 จนถึงวันนี้ เชื่อว่าหลายคนเห็นการเรียกร้องสิทธิของวัยรุ่นมาหลายต่อหลายประเด็น อย่างหนึ่งที่เราได้เรียนรู้จาก Youthquake คือคนรุ่นใหม่มีพลังไม่สิ้นสุด และต่างตระหนักรู้ถึง "เสียง" อันหนักแน่นของตนเอง ก็เป็นหน้าที่ของผู้ใหญ่อย่างเราแล้ว ว่าจะเลือกรับฟัง โต้เถียง และช่วยกันแก้ปัญหาอย่างเป็นเหตุเป็นผลอย่างไร
-
อ้างอิง
ความเห็น 143
wiwat
BEST
ไม่ว่าจะคนรุ่นไหน ถ้ามีการรวมตัวกันชุมนุม ก็สร้างความเปลี่ยนแปลงได้ทั้งนั้นแหละครับ
แต่คนที่จะตัดสินก็คือ คนส่วนใหญ่ของประเทศ
เพราะถ้าคนส่วนใหญ่ของประเทศไม่เอาด้วย ก็ไม่มีทางที่จะเป็นไปได้
นักเรียน นักศึกษาก็เช่นกัน พวกเขา คือคนส่วนหนึ่งของประเทศที่มีสิทธิมีเสียงเหมือนประชาชนทั่วๆไป
แต่พวกเขาไม่ใช่ทั้งหมดของประเทศ
และก็มีนักเรียน นักศึกษาจำนวนไม่น้อยที่เขามีเสรีภาพทางความคิด มิได้ชื่นชมหรือตกอยู่ในอาณัติสัญญานของพรรคการเมืองใด
และพร้อมที่จะเป็นพลเมืองทีอยู่ภายใต้กฎหมาย เหมือนคนวัยอื่นๆ
09 ก.ย 2563 เวลา 21.35 น.
BEST
ฮ่องกง กับ ไทย เป็น 'Youthfake'
(ออกเสียงว่า ยูธเฟค)
ไม่อยู่บนพื้นฐานกระบวนคิดอย่างมีเหตุผล
ฮ่องกง รู้มา 99 ปีแล้วว่าหมดสัญญากับ UK
ไทย มีแต่เรื่องบิดเบือนในการแสดงออก
09 ก.ย 2563 เวลา 18.25 น.
CherryFirst
BEST
ทำไปเพื่ออะไรรู้อยู่แก่ใจ?
ทำเพื่อผลประโยชน์ของประเทศ หรือแค่เรียกร้องความสนใจ?
ทำเพราะต้องการความเปลี่ยนแปลงแต่แน่ใจเหรอว่าที่ต้องการมันดีกว่าที่เป็นอยู่?
เรียกร้องประชาธิปไตยแต่ใครเห็นต่างต้องไประรานเขา ยังแน่ใจว่าตัวเองยังเป็นประชาธิปไตยมั้ย?
เคารพสิทธิผู้อื่นเท่ากับที่เรียกร้องสิทธิของตัวเองรึยัง?
เข้าใจประชาธิปไตยมากพอรึยังก่อนว่าคนอื่น?
.... คำถามมีอยู่เยอะแต่ไม่กล้าถามกลัวทัวร์ลง นี่แหละประชาธิปไตยของคนสมัยนี้ ใครเห็นต่างจัดให้หนักจะได้ไม่มีใครกล้าแย้ง ....
09 ก.ย 2563 เวลา 19.40 น.
น้องคะนิ้ง ไก่อบโอ่ง
จนท.ตรวจเวปนี้ด้วย เข้าข่ายปลุกระดม!!
09 ก.ย 2563 เวลา 18.20 น.
168
ฉันไม่ชอบและไม่เห็นด้วยเพราะวัยรุ่นเอาแต่ใจตัวเองเคยตัว
09 ก.ย 2563 เวลา 21.08 น.
ดูทั้งหมด