ผู้สูงอายุชาวไทยถูกผลักล้มจนเสียชีวิต ลูกครึ่งชาวอเมริกันเชื้อสายฟิลิปปินส์ถูกมีดกรีดหน้าจนเป็นแผลบนรถไฟใต้ดิน หญิงชาวจีนถูกตบและจุดไฟเผา
เหล่านี้เป็นเพียงเหตุการณ์ส่วนหนึ่งของความรุนแรงที่เกิดกับชาวเอเชีย และชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชียในประเทศสหรัฐอเมริกา ยังไม่ร่วมเหตุการณ์กราดยิงล่าสุด (วันที่ 17 มี.ค. 64) ที่เกิดขึ้นในร้านสปาในเมืองแอตแลนต้า รัฐจอร์เจีย ส่งผลให้พนักงานหญิงชาวเอเชียจำนวน 6 คนเสียชีวิตในที่เกิดเหตุ
คดีที่ชาวเอเชียตกเป็นเหยื่อความรุนแรงยังมีจำนวนพุ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ นับตั้งแต่เกิดการระบาดของไวรัสโควิด19 นักวิชาการหลายคนแสดงความเห็นว่าเหตุการณ์เหล่านี้คือ "อาชญากรรมที่เกิดจากความเกลียดชัง" อันถูกเชื่อมโยงมาจากต้นตอของไวรัสตัวร้าย ที่ทำให้ชาวเอเชียตกเป็น "เป้า" ให้ผู้มีอคติโจมตีเสมอมา ไม่ว่าจะทางวาจา หรือทางร่างกาย
สถิติพุ่ง คนเอเชียเป็นเหยื่อ Hate Crime เพิ่มขึ้น 150% จากปีที่ผ่านมา
ในประเทศสหรัฐอเมริกา สถานการณ์ของชาวเอเชียทวีความน่าเป็นห่วงขึ้นทุกวัน สถิติล่าสุดจาก Center of the Study of Hate and Extremism จาก California State university เผยว่า จากการสำรวจคดีที่เกิดจากการเกลียดชังคนเอเชียในเมืองใหญ่ในสหรัฐอเมริกา พบว่าคดีที่มีเหยื่อเป็นคนเอเชียมีจำนวนมากขึ้นกว่า 150 เปอร์เซ็นต์ในปี 2020
ผู้เชี่ยวชาญ Karthick Ramakrishnan ผู้ก่อตั้ง AAPI Data ยังเชื่อว่าพฤติกรรมที่ผ่านมาของอดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ยังมีส่วนทำให้การเหยียดเชื้อชาติในอเมริกาทวีความรุนแรง ด้วยทัศนคติของเจ้าตัวที่เคยออกมาพูดว่าโควิด19 คือ "ไวรัสจีน" หรือ "Kung flu"
โดยประเภทของการเหยียดที่เกิดขึ้นมากที่สุดได้แก่ การทำร้ายด้วยคำพูด อย่าง การก่นด่าหรือพ่นคำหยาบคายใส่ รองลงมาคือการผลักไส ถัดมาคือการทำร้ายร่างกาย ต่อด้วยการทำเป็นไอใส่ หรือทำเหมือนชาวเอเชียคือเชื้อโรค และลำดับสุดท้ายได้แก่การเลือกปฏิบัติในที่ทำงาน หรือการปฏิเสธไม่รับการบริการจากพนักงานบริการที่เป็นชาวเอเชีย
ดาราชาวเอเชียร่วมเป็นกระบอกเสียง
ศิลปินและนักแสดงชาวเอเชียจำนวนมากออกมาแสดงความเห็นต่อเหตุการณ์นี้ เกิดแฮชแท็ก #StopAsianHate และ #AsiansArehuman ติดเทรนด์โลกในทวิตเตอร์ โดยเหตุการณ์กราดยิงล่าสุด Simu Liu นักแสดงจากจักรวาลMarvel ซึ่งเป็นชาวแคนาดาเชื้อสายจีนที่มักร่วมเคลื่อนไหวต่อต้านการเหยียดชาวเอเชียเสมอ ก็ออกมาแสดงความเสียใจต่อครอบครัวผู้เสียชีวิต ด้านLana Condor นักแสดงสาวขวัญใจวัยรุ่นจากภาพยนตร์เรื่อง To All the Boys I've Loved Before ก็ได้ทวีตข้อความแสดงความเป็นห่วงต่อครอบครัวและเพื่อนชาวเอเชียเช่นกัน
Feeling overwhelming grief at the senseless murder of 8 people in Atlanta. Still much we don't know, but it's clear to me that the shooter specifically targeted Asian women.
Praying for the victims' families, and for my Asian sisters. Action to follow.https://t.co/DjMcG0sBbv— Simu Liu (@SimuLiu) March 17, 2021
Wake up… your Asian friends and family are deeply scared, horrified, sick to their stomachs and wildly angry. Please please please check in on us, please please please stand with us. Please. Your Asian friend needs you, even if they aren’t publicly grieving on social media. x
— Lana Condor (@lanacondor) March 17, 2021
ไม่เพียงเท่านั้น บริษัทผลิตเกมยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่นอย่างBandai Namco ยังออกแถลงการณ์เรียกร้องให้แฟนๆ ร่วมต่อต้านการเหยียดชาวเอเชียอย่างจริงจัง
As a company based in Japan, the recent rise in anti-Asian hate has truly hit home for our employees.
We always appreciate support from our fans and we now ask for your support to #StopAsianHate and fight the rise in hate crimes committed against people of Asian descent. pic.twitter.com/QlUUryZZfx— Bandai Namco US (@BandaiNamcoUS) March 16, 2021
ก่อนหน้านั้นยังมี Chissy Teigan, Awkwafina และคนดังฮอลลีวู้ดเชื้อสายเอเชียมากมายที่ร่วมรณรงค์ยุติความรุนแรงผ่านแฮชแท็กเดียวกันนี้ หลังเกิดเหตุการณ์รุนแรงต่อชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชียมากมายในช่วงเวลาไม่กี่เดือนที่ผ่านมา
ความเกลียดชังที่เกิดจาก "อคติ"
กลุ่มคนเอเชียในสหรัฐอเมริกามักมีภาพจำเป็น "อีลีท" หรือชนชั้นสูงในภาพยนตร์หรือสื่อตะวันตก เรามักเห็นมีมคนเอเชียคิดเลขเก่ง คนเอเชียเป็นหมอ หรือภาพมหาเศรษฐีชาวเอเชีย อย่างในภาพยนตร์เรื่องCrazy Rich Asians หรือซีรีส์ Bling Empire ที่แม้แต่คนเอเชียอย่างเราดูก็ยังอดนึกอิจฉาไม่ได้ว่า "มันมีคนเอเชียที่รวยเบอร์นั้นจริงๆ เหรอ?"
ด้วยภาพจำเหล่านี้เอง ทำให้ชาวอเมริกันจำนวนมากมองว่าชาวเอเชียมีชีวิตที่ดี และมีเส้นทางชีวิตสุขสบายในประเทศของพวกเขา ซึ่งแน่นอนว่าเป็นชุดความคิดที่ผิดจากความจริงไปมากโข เพราะในทางกลับกันยังมีชาวเอเชียที่อพยพไปอยู่ประเทศสหรัฐอเมริกาจำนวนมากมีสภาพเป็นคนไร้บ้าน ซ้ำร้ายผู้อพยพเหล่านี้ยังเป็นกลุ่มคนที่มีคุณภาพชีวิตต่ำที่สุดในมหานครนิวยอร์ก
"การเหยียดเชื้อชาติ" จึงเกิดขึ้นจากชุดความคิดผิดๆ เหล่านี้ และทำให้ผู้มีอคติหลายคนคิดว่าการเหยียด การกลั่นแกล้ง หรือการทำร้ายชาวเอเชียไม่ใช่เรื่องผิด เหตุเพราะพวกเขาส่วนหนึ่งเข้าใจว่าเป็นเพียงการกระทำของผู้น้อย ต่อชนชั้นสูงที่มากอบโกยผลประโยชน์จากประเทศของพวกเขานั่นเอง
แม้ประธานาธิบดีโจ ไบเดน เคยกล่าวประณามการเหยียดเชื้อชาติไว้ว่า การเกลียดชังคนเอเชียนั้นเป็นสิ่งที่ "ไม่อเมริกัน" (Un-American) เอาเสียเลยและจำเป็นต้องหยุดพฤติกรรมเหล่านี้ให้เร็วที่สุด แต่ชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชียหลายคนก็ยังรู้สึกไม่ปลอดภัย ในขณะที่ "ชาวเน็ต" ทั่วโลกรวมถึงนักเคลื่อนไหวและองค์กรต่อต้านความเกลียดชัง ต่างก็รวมใจกันสุดแรงเพื่อรณรงค์ให้ทุกคนเข้าใจว่าการเหยียดคนเอเชียไม่ใช่เรื่องเล็กๆ และพวกเขาไม่ควรตกอยู่สถานะ "แพะรับบาป" ในอคติของคนบางกลุ่มอีกต่อไป
-
อ้างอิง
ความเห็น 82
Arms Vc
BEST
องค์กรสิทธิมนุษยชน ทนายสิทธิมนุษย์ชน,human right watch,แอมเนสตี้.....แสดงตัวและจุดยืนหน่อยเร็ว หายไปไหนหมด😂
17 มี.ค. 2564 เวลา 23.29 น.
เป้
BEST
การเหยียดผิวเป็นที่มาของวัฒนธรรมล่าอาณานิคม ที่อ้างความแตกต่างข้อด้อยล้าหลังแล้วเข้าข่มขู่รุกรานเข่นฆ่าแย่งชิงเอาทรัพยากรของชนชาติอื่นอย่างชอบธรรมในแบบของเขา อาจดูเหมือนหมดไปแล้วแต่มันยังแฝงอยู่ในรูปแบบที่เรียกว่า ปชต.ซึ่งแท้จริงแล้วคือมีเสรีภาพเสมอภาคในกลุ่มคนของตนเองประเทศตนเองแต่ปฏิบัติกับกลุ่มคนอื่นประเทศอื่นแบบล่าอาณานิคม
18 มี.ค. 2564 เวลา 05.25 น.
ปุ่น เมืองชล
BEST
สมกับเป็นประเทศแม่แบบแห่งประชาธิปไตยจริงๆ
จะเกลียดจะทำร้ายใครก็ได้เท่าที่ตัวเองต้องการ
สามกีบน่าจะย้ายไปอยู่กันให้หมดนะ 🐃🐃🐃🤣
17 มี.ค. 2564 เวลา 22.49 น.
GяέέηÇţŽёη..¸.•´ɱc
.
ความอิจฉาริษยา
นั่นแหละ
คือ ต้นเหตุ
กลับถิ่นกำเนิดของตนเถิด
จะอยู่เป็น ปชช ชั้น 2
อยู่ทำไม
17 มี.ค. 2564 เวลา 23.13 น.
aday
แล้วทำไมเราไม่ตีกลับความเกลียดชังกลับสู่ฝั่งโน้นบ้าง.
#ให้มันรู้บ้างไงว่าเราก็เกลียดมันไม่ต่างกัน.
17 มี.ค. 2564 เวลา 23.50 น.
ดูทั้งหมด