"ดรามาใครก๊อปใคร" ไม่เคยหมดไปจากวงการสร้างสรรค์ คนดังในวงการบันเทิง วงการงานเขียน วงการดนตรี หลาย ๆ คนผ่านคดีความขึ้นโรงขึ้นศาลมาแล้วแทบทั้งนั้น หากว่ากันในหัวข้อของการ "ก๊อป" ก็ย่อมมีทั้งแบบที่ละเมิดลิขสิทธิ์กันจะจะ ชนิดที่ว่ามีบทลงโทษจริงจัง รวมไปถึงลอกแบบ "เนียน ๆ " ที่ไม่ว่าจะกรณีไหน ก็ควรหลีกเลี่ยงทั้งหมด!
ทำความเข้าใจกฎหมายลิขสิทธิ์ไทย
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ได้ให้ความหมายของคำว่า "ลิขสิทธิ์" ว่า หมายถึง สิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะทำการใด ๆ ตามพระราชบัญญัตินี้ เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ทำขึ้น นั่นก็หมายความว่าเจ้าของลิขสิทธิ์เพียงผู้เดียวเท่านั้นที่มีสิทธิจะทำอย่างไรก็ได้ กับงานอันมีลิขสิทธิ์ของตนเอง
ยังมีการละเมิดลิขสิทธิ์โดยตรงอย่างการทำซ้ำ ดัดแปลง เผยแพร่โปรแกรมคอมพิวเตอร์ รวมทั้งการนำต้นฉบับให้เช่าโดยไม่ได้รับอนุญาต และการละเมิดลิขสิทธิ์โดยอ้อม อย่างการทำกำไรจากผลงานของผู้อื่น ในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อเจ้าของลิขสิทธิ์ เป็นต้น
ขโมยความคิด ผิดทางใจ
แต่นอกจากแง่กฎหมาย ยังมีการกระทำอีกแบบที่เรียกว่าเป็นการ "ขโมยความคิด" หรือในภาษาอังกฤษคือคำว่า Plagiarism (n.) เป็นคำที่ใช้กันทั่วไปในวงการวิจัย หรืองานเขียนทางวิชาการ คล้ายกับการนำงานคนอื่นมาสวมรอยให้เป็นงานของตัวเอง แต่ก็นับเป็นเรื่องที่คนวงการบันเทิง และสื่อต่าง ๆ ต้องให้ความสำคัญเช่นกัน
ว่าง่าย ๆ Plagiarism คือการเจตนาทำให้ผู้อื่นเข้าใจว่าผลงานชิ้นนั้น ๆ เป็นผลงานของตนเอง ทั้ง ๆ ที่ในความเป็นจริง ตนอาจไป "แอบก๊อป" ของคนอื่นมาโดยไม่ได้ขออนุญาต
ไม่เพียงแค่นั้น การนำงานของผู้อื่นมาเรียบเรียงใหม่ โดยไม่ได้ให้แหล่งที่มาอย่างละเอียด เช่น แปะ Google หรือ YouTube เป็นแหล่งอ้างอิงซะเฉย ๆ หรือแม้กระทั่งการรวมงานจากหลาย ๆ แห่งมายำรวมมิตร แล้วบอกว่าเป็นงานตัวเอง ก็นับเป็นการ "ขโมยความคิด" อีกอย่างหนึ่งเช่นกัน
ทำได้มากสุดคือ "Fair Use"
อย่างไรก็ตาม ยังมีสิ่งหนึ่งที่ผู้ผลิตคอนเทนต์ทำได้ คือการ "Fair Use" หรือการใช้ลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยชอบ ตัวอย่างเช่นการใช้เพื่อวิจารณ์ การรายงานข่าว การล้อเลียน งานวิจัย หรือการเรียนการสอน อย่างเช่น คลิปวิจารณ์หนัง เพลง หรือคลิปตลกล้อเลียนมิวสิกวิดีโอ (Parody) ที่เราเห็นบ่อย ๆ ใน YouTube นั่นเอง แต่อย่าลืมว่าทุกครั้งที่นำไปใช้ จะต้องขออนุญาตและใส่เครดิตเสมอ
หลีกเลี่ยงการ "โดนหาว่าก๊อป" ได้ดังนี้
ในงานสร้างสรรค์ โดยเฉพาะงานเขียน ไม่ว่าจะวัยเรียนหรือทำงาน หากการขโมยไอเดียถูก "จับโป๊ะ" ขึ้นมาล่ะก็ ไม่เพียงเสียความน่าเชื่อถือ แต่เจ้าของผลงานอาจรวบรวมหลักฐานและเล่นงานคุณโดยกฎหมายได้ โปรดอย่าคิดว่าการขโมยไอเดียเป็นเรื่องขี้ปะติ๋ว และมาเรียนรู้ว่าต้องทำอย่างไรไม่ให้ "เผลอ" ขโมยงานคนอื่นโดยไม่รู้ตัวกันดีกว่า
- ใส่แหล่งอ้างอิงให้ชัดเจน
เมื่อต้องอ้างอิงความคิดเห็นที่ไม่ใช่ของตน ต้องใส่ที่มา ไม่ว่าจะเป็นลิงก์บทความ บรรณานุกรม อย่างละเอียด
- หากคัดลอกมาทั้งประโยค ก็ต้องระบุแหล่งอ้างอิง
ถ้าต้องใส่ประโยคใดประโยคหนึ่งจากนักเขียนท่านอื่น ให้ใช้เครื่องหมายอัญประกาศ (Quatation Mark) และระบุผู้กล่าว รวมถึงแหล่งที่มาให้ชัดเจน
- ถอดความแบบ "ห้ามลอก"
การถอดความ (Paraphrase) คือการนำเนื้อหามาเรียบเรียงหรือเขียนใหม่ด้วยสำนวนของเราเองอย่างไม่ทิ้งความหมายเดิม ข้อนี้ต้องระวังให้มาก เพราะหากละเลย การถอดความจะกลายเป็นการก๊อปไปโดยปริยาย
การถอดความอย่างมีชั้นเชิงทำได้โดยการเปลี่ยนถ้อยคำไม่ให้ซ้ำเนื้อความเดิม แต่ต้องให้ความหมายคงเดิม ข้อควรจำมีแค่การใส่เครดิตและแหล่งอ้างอิงด้วยเหมือนเดิม
ยังมีการลอกเลียนที่น่าสนใจอีกอย่างคือการลอกเลียนแบบ Self-Plagiarism หรือการ "รีไซเคิลงานตัวเอง" เป็นการทำงานซ้ำ ๆ เดิม ๆ แล้วนำมาเผยแพร่ซ้ำแล้วซ้ำเล่า ปกติการกระทำแบบนี้จะไม่มีปัญหา ยกเว้นเป็นการทำงานแบบมีผู้ว่าจ้าง หรือการทำวิจัยเพื่อเลื่อนตำแหน่ง ที่อาศัยความจริงจังในการผลิตชิ้นงาน
- แสดงความบริสุทธิ์ใจอย่างจริงใจ
ไม่เพียงวงการเขียน แต่ในวงการบันเทิงโดยเฉพาะวงการเพลง ก็มีเรื่องราวของการ "เอ๋ ก๊อปไม่ก็อป?" เกิดขึ้นเรื่อย ๆ เหตุการณ์ที่จริงใจและต้องนำมาเป็นกรณีศึกษาคือเพลง Purple Rain ผลงานดังจากพรินซ์ (Prince) ศิลปินผู้ล่วงลับ ที่ดันไปเหมือนเพลง Faithful ของวง Journey ซึ่งเจ้าตัวก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ และได้ติดต่อไปยังวง Journey เพื่อแสดงความบริสุทธิ์ใจว่าเขาไม่ได้ลอกเลียนผลงานของวงมา และยังเสนอให้ใส่เครดิตผู้แต่งเป็นสมาชิกของวงหรือไม่อีกด้วย
จำดราม่าเพลงวิญญาณกันได้มั้ยครับ วันนี้แสตมป์ออกมาชี้แจงแล้วเด้อ https://www.facebook.com/StampApiwat/posts/732090556839309
Posted by Drama-addict on Wednesday, October 15, 2014
ในไทยเองก็มีเคสหนึ่งที่เป็นที่เลื่องลือ คือเคสของ สแตมป์ อภิวัชร์ นักร้องนักแต่งเพลงชื่อดัง ที่เมื่อปล่อยเพลงวิญญาณ ออกมาเมื่อปี 2557 แล้ว ได้รับความเห็นว่ามีความคล้ายคลึงกับเพลง I Won't Give Up ของเจสัน มราซ (Jason Mraz) จึงได้ระงับการเผยแพร่เพลงดังกล่าวในหลาย ๆ ช่องทาง รวมถึงชี้แจงให้ต้นสังกัดของนักร้องทราบ กล่าวขออภัยแฟน ๆ ของเจสัน รวมถึงขอบคุณนักฟังที่คอยเตือนและให้กำลังใจมาตลอด
การลอกเลียนแบบที่ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์หรือ Plagiarism ไม่ถือเป็นอาชญากรรมก็จริง แต่เมื่อขึ้นชื่อว่าเป็นการคัดลอก หรือ "ลอกเลียน" แล้ว ย่อมไม่ส่งผลดีทั้งกับผู้ลอก และเจ้าของผลงาน โดยเฉพาะในยุคดิจิทัลที่ผู้เสพสื่อต่างก็มีวิจารณญาณและรอบรู้เท่าทันกับผู้ผลิตคอนเทนต์ การทำความเข้าใจทั้งเจ้าของผลงาน และผู้รับสื่อน่าจะเป็นการแสดงความรับผิดชอบที่ดีที่สุดในฐานะผู้สร้างผลงาน เป็นการสร้างมาตรฐานให้วงการศิลปะ ทั้งยังเป็นการให้เกียรติกันและกันอีกด้วย :)
-
อ้างอิง
ความเห็น 9
ด่าต้นสนุกสุด
08 มี.ค. 2564 เวลา 21.22 น.
supakorn แม่ทัพรหัส1
สิ่งที่ใด้กระทำ จึงต้องเรียกร้องให้ หมัด หรือเลาะทั้งหลาย
ใด้ช่วยกัน ร่วมมือร่วมใจกัน ลงนาม ลงชื่อร่วมกันต่อต้าน
การกระทำดังกล่าว เป็นเรื่องน่าเศร้าเพราะ ตอนนี้แพร่หลาย
มากมาย รวมถึงการทำหนังสือ เรียนแบบหลอกลวงประชาชน
เหตุผลอันใด ติดตามกันเอาเอง การทำลายหนังสือของซาอุ
เพราะอะไร และ ทำใมประเทศไทยยังใช้อยู่ ทั้งที่รู้ว่า ปลอม
การปลอม ต้องชดใช้ ห้าแสนบาท มีไว้หรือจำหน่าย บาป สี่สิบเท่า
หวังว่าเข้าใจตรงกัน รักษา ผลประโยชน์ร่วมกัน.ก่อนที่จะพังมากกว่านี้..!?+_×÷=%
06 มี.ค. 2564 เวลา 15.41 น.
supakorn แม่ทัพรหัส1
ปฏิรูปคือการป้องกัน...!?ดีกว่าแก้)))
หลายคนไม่เข้าใจในสิ่งที่กระทำ...!?
เมื่อถึงเวลาบาปกรรมตามทัน...!?
คำว่า สสส.คือเป็นการสงวนลิขสิทธส่วนบุคคล...!?
นี้คือเหตุผลทำใมต้องเตือนกันว่าสิ่งที่ทำมา...!?
หากว่าทำดีไม่เป็นไรแต่ทำให้เกิดความเสียหาย...!?
ไครจะรับผิดชอบ ต้องตอบให้ใด้ หลายรายการ...!?
ที่อ่านเห็นก็เข้าใจใด้ทันทีอย่างเช่นตอนนี้...!?
การแอบอ้างหรือเรื่องจริงไม่ว่า กล่าวหา...!?
ว่า อัลลเลาะ เป็นผู้สร้างเชื้อโรค โควิท 19.
เป็นเรื่องน่าเศร้า ที่มูฮัมหมัด ทะงหลาย
ต้องจดจำเอาไว้ ทำใมไม่คัดค้านต้าน
06 มี.ค. 2564 เวลา 15.34 น.
D🔺ENERYS🐉636
โพสต์นี้ตั้งใจแซะใครหรือเปล่าน้า
04 มี.ค. 2564 เวลา 16.51 น.
K 79 คิดถึงจัง
ก็อปปี้ เรื่องปกติ จีนถึงเป็นผู้นำเพราะก็อปทะเรียน ปลูกที่อื่นได้ นอกจากไทย
04 มี.ค. 2564 เวลา 15.55 น.
ดูทั้งหมด