โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

“ศรีวราห์” วอน! ปชช. เห็นใจตำรวจ กฎหมายมีขั้นตอนของมัน!

Another View

เผยแพร่ 04 ธ.ค. 2561 เวลา 01.00 น.

“ศรีวราห์วอน! ปชช. เห็นใจตำรวจกฎหมายมีขั้นตอนของมัน!

ข่าวใหญ่ใจความที่สังคมไทยจับตามองกันทุกขณะในปีนี้ คงจะหนีไม่พ้น คดีเสือดำ ที่ล่าสุดนั้น ได้มีกระแสข่าวออกมามากมายถึงแนวทางการสู้คดี ที่อาจจะ “ระบุว่าผู้ต้องหาไม่อยู่ในที่เกิดเหตุ” กันแล้ว สร้างคำถาม (และความสับสน) ให้ประชาชนเป็นอย่างมาก ว่าแบบนี้ก็มีด้วยเหรอ ? ซึ่งนั่นก็เป็นเรื่องในชั้นศาลที่เราต้องติดตามกันต่อไป 

ความโปร่งใสของคดีนี้ส่งผลต่อเนื่องไปถึงทุกหน่วยงานที่มีส่วนร่วมในคดีนี้ โดยเฉพาะการย้อนหลังไปถึงการตั้งคำถามต่อฝ่ายตำรวจผู้สืบพยานหลักฐานทำสำนวนฟ้อง ว่ามีการปฏิบัติหน้าที่ “เอื้อประโยชน์” ให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือไม่ นอกจากนี้แล้วยังลุกลามไปถึงการตั้งคำถามต่อการทำงานของตำรวจไทยว่า “ชักช้าเกินกว่าเหตุ” ไม่ทันใจเหมือนในประเทศนอกเขาทำกัน 

ดังนั้นก็คงไม่มีใคร ไขข้อข้องใจให้เราได้ดีกว่าผู้รับผิดชอบดูแลคดีนี้ เราจึงขอเปิดพื้นที่ให้ทุกท่านได้ฟังจากปากของพลตำรวจเอกศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติด้านความมั่นคง ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงและได้เข้าไปร่วมดำเนินการสอบสวนในคดีดังคดีนี้ พร้อมกันนี้ ยังได้ไขข้อข้องใจที่ “ใครหลายๆคน อาจจะเข้าใจตำรวจผิด” ว่าทำงานช้าไม่ว่าคดีไหนๆ จะมีสาเหตุอะไรบ้างนั้น เราไปฟังจากส่วนหนึ่งของบทสัมภาษณ์ชนิดถามจริง – ตอบตรง ที่เราได้ยื่นไมค์ถามท่านมา พร้อมกันกับข้อมูลอื่นๆ ที่เราได้เทียบเคียงเพิ่มเติมดังนี้

ประการแรก : ข้อหาไม่ตรงกับพยานหลักฐานจึงต้องใช้เวลาสืบเพิ่ม

 “…สื่อและโลกออนไลน์นี่เข้าใจผิดพลาดไปเยอะมูลฐานที่เจ้าหน้าที่ป่าไม้เขาดำเนินการจับกุมมานี่เขาจับกุมมาฐานข้อหาว่าล่าสัตว์สงวนแต่ของกลางที่เขานำมาส่งนี่มันมีแต่ซากสัตว์ซึ่งซากสัตว์นี่มันเป็นอีกข้อหาหนึ่งอัตราโทษจำคุก4 ปีหรือปรับ40,000 บาทซึ่งข้อหาล่าสัตว์ก็จะเป็น5 ปีหรือปรับ50,000 บาท 

ทีนี้เขากล่าวหามาเรื่องล่าสัตว์แล้วไม่มีตัวสัตว์นี่มันก็จำเป็นจะต้องรวบรวมหลักฐานให้ได้ว่าซากนั้นคือตัวเอาหนังเอากระดูกเอาเนื้อมารวมกันให้ได้มันก็อาจจะทำให้ดูเยิ่นเย้อหรือทำให้รู้สึกว่าเอ๊ะไปช่วยใครไม่ช่วยใครแต่กราบเรียนว่าเมื่อเราสรุปสำนวนเสร็จเราใช้เวลาประมาณสัก30 วันก็ส่งให้พนักงานอัยการแล้วพนักงานอัยการก็ฟ้อง…”  พลตำรวจเอกศรีวราห์กล่าวถึงคดีที่ท่านบอกว่าทำให้คนเข้าใจการทำงานของท่านผิดไปมากที่สุดคดีหนึ่ง

ดังนั้นเราจึงสามารถสรุปประเด็นที่ทำให้หลายท่านรู้สึกว่าตำรวจนั้นทำงานช้าประเด็นแรกได้ก็คือ การดำเนินการตามข้อหาที่เสนอจับกุมอาจจะไม่ตรงกับพยานหลักฐาน

ประการที่สอง : จากการสืบสวนพบการกระทำผิดในข้อหาอื่นๆเพิ่มเติมจึงต้องสืบหาหลักฐานต่อไปอีก

ส่วนประเด็นที่สองนั้น การสืบค้นข้อมูลพบว่าผู้ต้องหาในคดีนี้ก็ยังโดนอีกข้อหาอื่นอีก คือข้อหาเรื่องงาช้าง ซึ่งในเบื้องต้นขณะที่เจ้าหน้าที่จับกุมได้นำส่งให้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชตรวจสอบอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งกรมอุทยานฯ ยืนยันว่ามันไม่ใช่งาไทยเพราะฉะนั้นการแจ้งครอบครองไม่สามารถทำได้จึงส่งฟ้องไปอีกหนึ่งคดีนั่นจึงต้องใช้เวลาทำงานเพิ่มอีกแล้ว

ตามมาติดๆด้วยกรณีอาวุธปืน ซึ่งการกระทำความผิดและต้องสืบหาอีกเช่นกันส่วนเรื่องสุดท้ายของการจับกุมผู้ต้องหาในครั้งนี้คือเรื่องติดสินบน ซึ่งทางตำรวจก็รับเรื่องมาดำเนินการสอบสวน ซึ่งพยานหลักฐาน คือเจ้าหน้าที่ ก็ต้องสอบปากคำ หลักฐานไม่เพียงพอจึงต้องสอบสวนเพิ่ม นี่จึงเป็นประเด็นที่ทำให้หลายคนคิดว่าตำรวจนั้นทำงานช้า แท้ที่จริงแล้วจะเกิดกรณีนี้แบบนี้กับคดีอื่นๆ ซึ่งทางตำรวจแจ้งว่ามักจะเป็นแบบนี้ประจำ เลยทำให้ตำรวจดูเหมือนทำงานช้า

ประการสุดท้าย : กฏหมายนั้นห้ามมิให้รับฟังคำให้การของผู้ต้องหาจึงต้องใช้เวลากับการสืบหาพยานหลักฐาน !

“…ถ้าสมสมติว่าผู้ต้องหาเขาต่อสู้มาในประเด็นไหนเราจะปิดประเด็นนั้นมันก็จำเป็นจะต้องสอบข้อเท็จจริงเพิ่มเติมก็เรียนว่าสำนวนคดีเสือดำนี่ก็ได้ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่อย่างดีที่สุดแล้วแล้วก็เข้าใจว่าสื่อและโลกออนไลน์เขาอาจจะไม่เข้าใจกฏหมายและระเบียบ 

ผมยืนยันว่าการจะฟ้องหรือไม่ฟ้องผู้ต้องหาได้มันไม่ได้อยู่ที่ผู้ต้องหาจะรับหรือปฏิเสธมันอยุ่ที่ว่าคุณมีพยานหลักฐานหรือไม่อย่างไรกฏหมายเขียนไว้ชัดเจนว่าคำให้การของผู้ต้องหาห้ามมิให้รับฟังสมมติว่าเขารับว่าเขาฆ่าคนตายเราก็จะต้องถามต่อว่าเขาใช้ปืนกระบอกไหนยิงไม่ใช่เอาไปฟ้องได้เลยเราก็ต้องไปหาปืนกระบอกนั้นมาแล้วส่งสำนักงานพิสูจน์หลักฐานตรวจเปรียบเทียบว่าปืนกระบอกนี้ใช่ไหมที่เขาเอาไปยิงคนตายนี่คือพยานหลักฐานไม่ใช่คำรับ…” พลตำรวจเอกศรีวราห์ กล่าวเสริม 

สำหรับกรณีการห้ามมิให้รับฟังคำให้การของผู้ต้องหานั้น ปรากฏในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาแห่งประเทศไทย มาตรา 84 วรรคท้าย ห้ามรับฟังคำรับสารภาพชั้นจับกุม(ศึกษาวิเคราะห์จากฎีกาที่ 2443/2560) จึงทำให้การพิจารณาพยานหลักฐานของตำรวจนั้น ใช้พยานหลักฐานซึ่งมี 3 อย่าง คือพยานเอกสาร พยานวัตถุ และพยานบุคคล ซึ่งพยานบุคคลก็แบ่งไปอีก 2 อย่าง คือประจักษ์พยาน และก็พยานแวดล้อมซึ่งก็ต้องสืบหากันในแต่ละข้อกันต่อไป นั่นจึงเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้การสืบสวนสอบสวนของตำรวจนั้นต้องใช้เวลา

หลังจากที่ท่านได้ชี้แจงมา ก็ทำให้เราได้เห็นมุมมองการทำงานของตำรวจและเจ้าหน้าที่บ้านเมืองเพิ่มมากขึ้น แต่หลังจากนี้ “เวลา” คงทำให้ความจริงได้แจ่มชัดยิ่งขึ้น พร้อมๆกับความศักดิ์สิทธิ์ของ “กระบวนการยุติธรรมเมืองไทย”

*****************

ข้อมูลประกอบ

สัมภาษณ์ พลตำรวจเอก ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2561 ณ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ 

https://www.peesirilaw.com/วิธีพิจารณาความอาญา/คำรับสารภาพมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐาน.html

https://www.thairath.co.th/content/393527

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0