โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

ล้มสัมปทาน! “แหล่งก๊าซอ่าวไทย” เกมผลประโยชน์ ที่เดิมพันด้วยประชาชน!

Another View

เผยแพร่ 03 ธ.ค. 2561 เวลา 01.00 น.

ล้มสัมปทาน! แหล่งก๊าซอ่าวไทย” เกมผลประโยชน์ที่เดิมพันด้วยประชาชน!

 เอราวัณ-บงกช 

กินเวลายืดเยื้อมาเกือบสามปี กับการคัดเลือกผู้ดำเนินในแหล่งก๊าซธรรมชาติกลางอ่าวไทย ในที่สุดก็มาถึงโค้งสุดท้าย โดยจะมีการประกาศผลผู้ชนะในวันที่ 25 ธันวาคม 2561 ใน “แหล่งเอราวัณ" มี 2 กลุ่มที่ยื่นประมูล กลุ่มแรกได้แก่ ปตท.สผ. ร่วมกับ เอ็มพีจี 2 (ประเทศไทย) เครือมูบาดาลา จากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สู้กับอีกกลุ่มคือ เชฟรอน ที่ควงมากับ มิตซุยออยล์ 

ขณะที่ “แหล่งบงกช” มี 2 รายยื่น คือ ปตท.สผ. ที่ฉายเดี่ยว แข่งกับ เชฟรอน มิตซุยออยล์ฯ

ความพยายามล้มสัมปทาน

สิ่งที่ทำให้ที่รัฐบาลต้องใจตุ้มๆ ต่อมๆ ก็คือความพยายามล้มการพิจารณามอบสัมปทานในครั้งนี้ลง นำโดยชื่อที่หลายคนอาจคุ้นเคยกันดี  “น.ส.รสนา โตสิตระกูล” อดีต ส.ว.กรุงเทพฯ ด้วยเหตุผลหลักๆ คือการมองว่านี่อาจเป็นเรื่องเกี่ยวกับการตอบแทนระหว่างรัฐบาลทหารที่กำลังอยู่ในอำนาจกับกลุ่มทุนพลังงาน (อ่านเหตุผลเต็มๆ ได้ที่ https://mgronline.com/onlinesection/detail/9610000096212) โดยมองว่าหลายๆ ข้อกำหนดในการพิจารณาดูจะเอื้อให้กับกลุ่มทุนเดิมมากกว่า

บรรษัทพลังงานแห่งชาติ

แม้ความพยายามล้มประมูลจะดูสมเหตุสมผลในหลายเรื่อง ทว่ากลับมีอีกเหตุการณ์ที่น่าสนใจเกิดขึ้นมา นั่นคือการพยายามจัดตั้ง ‘บรรษัทพลังงานแห่งชาติ’  โดย คณะกรรมาธิการพลังงานฯ ของ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ที่ได้แก้ไขร่างกฎหมาย หลังผ่านความเห็นชอบโดยคณะรัฐมนตรีกับคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้ว (อ่านดราม่าเต็มๆ ได้ที่ (https://thaipublica.org/2017/03/noc-29-3-2560/) ซึ่งขัดกับหลักเกณฑ์การออกกฎหมายภายใต้รัฐธรรมนูญ นี่จึงเป็นสาเหตุให้น่าสงสัยว่าการพยายามล้มประมูล เป็นหนึ่งในขบวนการผลักดันให้เกิดบรรษัทพลังงานแห่งชาติด้วยหรือไม่

ผลประโยชน์หอมหวานคนไทยขื่นขม

แม้วันนี้จะยังไม่มีการจัดตั้ง ‘บรรษัทพลังงานแห่งชาติ’ ขึ้นมาจริงๆ แต่ก็ทำให้เห็นว่ามีการพยายามสร้างกลุ่มอำนาจใหม่ พร้อมให้ได้การรองรับด้วยกฎหมายเกิดขึ้น ซึ่งหากทำสำเร็จก็จะมีผลต่อผู้ที่ได้รับสิทธิ์ในการจัดการผลประโยชน์ด้านพลังงานของชาติ หากมองในแง่ดี นี่อาจเป็นการเพิ่มตัวเลือกใหม่แทนผู้เล่นเดิมๆ ทว่าผลประโยชน์ช่างหอมหวานนัก คนไทยจึงไม่อาจแน่ใจได้ว่าการเกิดกลุ่มอำนาจใหม่นี้ จะกลายเป็นเครื่องมือต่อรองอะไรในอนาคต หรือจะถูกใช้เป็นเครื่องมือของนักการเมืองหรือไม่

การเมือง ‘ไม่แน่นอน’…แต่คนไทยต้องใช้พลังงานแน่นอน’

ปริมาณการผลิตก๊าซธรรมชาติจากทั้ง 2 แหล่ง คิดเป็น 76% ของปริมาณการผลิตในอ่าวไทย และ 44% ของปริมาณการจัดหาก๊าซทั้งประเทศ สำคัญที่สุดคือเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้า หากถูกล้มประมูลครั้งนี้ก็จะมีผลกระทบต่อความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ ทั้งภาคอุตสาหกรรมและภาคครัวเรือน ในระดับที่เรียกว่าหายนะเลยทีเดียว โดยมีการคำนวณความเสียหายออกมาแล้วว่าถ้าเลื่อนประมูลออกไปอีก จะสร้างความเสียหายให้กับประเทศสูงถึง 350,000 ล้านบาทต่อปี เลยทีเดียว 

 ก็ต้องคิดหนักๆหน่อยว่าสมควรเอาความมั่นคงทางพลังงานของคนทั้งชาติไปเป็นข้อต่อรองกับรัฐบาลหรือไม่ 

https://www.thairath.co.th/content/1334722

https://thaipublica.org/2017/03/noc-29-3-2560/ 

https://www.thairath.co.th/content/1258544

https://www.matichon.co.th/columnists/news_1233962

https://www.youtube.com/watch?v=Q9JsKZB9o9k

https://www.youtube.com/watch?v=RuXuLu4s8j4

https://www.thairath.co.th/content/125854

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0

ความเห็น 45

  • คิดชั่ว ทำดี
    ถ้าเป็นสื่อสร้างสรรต แล้วทำไมไม่เขียนถึงอีกมุมละว่า ถ้าเลื่อนประมูลไป ผลที่ได้จะมากกว่าความเสียหายแค่ 350,000 ล้าน กี่เท่า สื่อที่ดีต้องเสนอทุกแง่มุม อย่าไปคิดว่าคนไทยกินหญ้า สื่อกินขี้นะ
    03 ธ.ค. 2561 เวลา 01.20 น.
  • ช. วรรณา
    อ่านแล้วทำให้อดสงสัยไม่ได้ว่ากลุ่มเดิมจ้างเขียนข่าวนี้หรือเปล่า
    03 ธ.ค. 2561 เวลา 01.29 น.
  • ข่าวดีพรุ่งนี้ดีเซลลิตรละ15บ.เบนซิน20บ.แก๊สหุงต้มถังละ180บ. ข่าวร้ายรอไปก่อนนะจ๊ะเพราะยังไม่ถึงพรุ่งนี้ซักที
    03 ธ.ค. 2561 เวลา 01.34 น.
  • ^^samachaya^^
    ล้มไปเลยเลิกเสียทีกับผลประโยชน์แค่หยิบมือที่รัฐได้ระบบสัมปทานควรเลิกได้แล้ว น่าจะใช้ระบบเดียวกับมาเลเซียคือจ้างผลิตรัฐได้ผลตอบแทน 90% ของผลผลิต เอาเงินส่วนนี้มาสนับสนุนการศึกษาให้เด็กเรียนฟรีจนจบมหาวิทยาลัยอย่างที่มาเลย์ทำ บรรษัทพลังงานควรจะมีทดแทน ปตท.เพราะ ปตท.แปรรูปไปแล้วเป็นของรัฐแค่ 49% และ ปตท.ต้องดำเนินธุรกิจเพื่อผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้น ก่อนแปรรูป ปตท.เข้าตลาดหุ้นคนมาเลเซียขับรถมาเติมน้ำมันถูกในไทย หลังแปรรูปคนไทยต้องขับรถไปเติมน้ำมันถูกในมาเลเซีย
    03 ธ.ค. 2561 เวลา 02.08 น.
  • Banana
    ล้มเพราะ ผลประโยชน์ชาติ ไม่ว่า แต่ถ้าล้มเพราะ แก๊งค์ รจนา กูว่าเสียโอกาส!!
    03 ธ.ค. 2561 เวลา 01.30 น.
ดูทั้งหมด