โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

“ครอบครัวไทย” ฆ่ากันตายรายวัน! สถาบันครอบครัวพัง? หรือจริยธรรมมันหายไป!!

Another View

เผยแพร่ 27 ม.ค. 2562 เวลา 01.00 น.

“ครอบครัวไทยฆ่ากันตายรายวัน! สถาบันครอบครัวพัง? หรือจริยธรรมมันหายไป!!

สลดข่าวฆ่ากันเองในครอบครัวไม่เว้นแต่ละวัน. เกิดคำถามสังคมเป็นอะไร

สะเทือนหัวใจคนไทยทั้งประเทศ เมื่อเกิดเหตุลูกฆ่าพ่อ ข่มขืนแม่  เล่นเอากล่าวขานไปทั่ว แต่ไม่ทันข้ามอาทิตย์ ข่าวทำนองนี้พาเหรดกันพาดหัวอีก

“แม่เผยนาทีสลด ลูกฆ่าพ่อ แล้วนั่งเล่นเกมต่อ”

“ฉุนพ่อปลุกไปกินข้าว ฟันกลางหลัง ก่อนซ้ำที่หัวดับ”

“แม่สุดทน ลูกขี้เมา คว้ามีดจ้วงกลางหลังดับ”

“พี่ฆ่าน้อง ฮุบที่ดิน”

“พ่อฟันกลางกบาล ลูกไม่รักดีดับ”

ผู้คนจึงเกิดข้อสงสัย ว่าสังคมเข้าสู่วิกฤต ความผิดชอบชั่วดีเสื่อมถอย หรือเพราะเพียงเมาพิษฝุ่น  ลำพังการฆ่ากันก็เป็นสิ่งผิดอยู่แล้ว แต่การฆ่าคนครอบครัวและเครือญาติ ฟ้องถึงความโหดเหี้ยมไร้หัวใจสุดขีด

ลูกทรพี อันที่จริง "ปิตุฆาต" ( Patricide ) และ "มาตุฆาต" ( Matricide ) หรือการฆ่า บิดาและมารดาของตนเองนั้น ไม่ได้มีแค่ในยุคปัจจุบัน แต่ในประวัติศาสตร์ มีเรื่องการเมือง บัลลังก์ และ การสืบอำนาจมาเกี่ยวข้อง ซึ่งก็เป็นเหตุผลมาหักล้างให้ความเลวนั้นเบาบางลงไป  แต่พอได้เกิดกับครอบครัวธรรมดา จึงเป็นสิ่งที่รับได้ยากในความรู้สึก  ทางพุทธนั้น การฆ่าพ่อแม่ เป็นกรรมหนักที่สุด หรือ "อนันตริยกรรม" ซึ่งเป็นบาปขั้นสูงสุด

ผลของกรรมหนัก หรือ ครุกรรมนั้น จะมีในทางโลก และ ทางธรรม  ซึ่งใน ทางโลก มักประจักษ์แก่สายตา คือ ผู้กระทำจะถูกประณาม สาปแช่ง ไม่มีคนคบค้าสมาคม และโดนกฎหมายบ้านเมืองลงโทษ  ในขณะที่ ทางธรรม จะถูกตราหน้าว่าเป็นคนบาปหนัก ฟ้าจะไม่ยกโทษให้แม้แต่น้อย ต่อให้ทำคุณความดีเพื่อลบล้าง ก็ไม่สามารถลดหมดไปได้ และห้ามบวชเรียน ไม่สารถบรรลุ มรรคผล นิพพานใดไปจนสิ้นใจ

ฆ่าลูกไม่ผิด เทรนด์ใหม่ของสังคมไทย  เมื่อพ่อแม่มีการตอบโต้ลูกด้วยการฆ่า มักมีความเห็นใจว่า พ่อกับแม่ อาจจะเหลืออด เบื่อหน่ายกับพฤติกรรมลูก บ้างก็เป็นความผิดของลูกที่ทำตัวไม่ดี  แท้จริงแล้วการฆ่าโดยไม่ยั้งคิด หรือ การลงโทษผู้อื่นด้วยการปลิดชีวิต ก็เป็นการกระทำที่เกินกว่าเหตุอยู่ดี แม้เป็นฝ่ายพ่อแม่ก็ตามที  และเมื่อสังคมออกมาตอบรับ ว่าลูกที่เลว “อยู่ไปก็เป็นภาระสังคม” ก็จะเป็นส่วนหนึ่งที่สร้างค่านิยมให้เห็นว่า การลงโทษผู้ที่กระทำความผิดด้วยการฆ่า เป็นเรื่องที่ยอมรับได้ และนั่นนำไปสู่ความอันตรายทางความคิด หรือ "จริยวิบัติ" ที่รุนแรง

ต้นเหตุ ของการฆ่าคนในครอบครัว มักมาจาก 1.ยาเสพติด  2.อารมณ์ที่ฉุนเฉียว และ 3.ความหมางเมินของความสัมพันธ์  ซึ่งมักสร้างเรื่องราวการชิงทรัพย์ ขูดรีด บังคับข่มขู่ 

ยาเสพติด มีฤทธิ์ผลต่อระบบประสาท ทั้งนี้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ สังคม และครอบครัว จะมีส่วนร่วมด้วยช่วยกันเป็นหูเป็นตา นำผู้ติดยาไปบำบัด หรือแจ้งเบาะแสในการทำลายต้นตอ การเสี้ยนยาแต่ละครั้ง ทำให้คนหนึ่งคนเปลี่ยนบุคลิกไปสู่ความเป็นสัตว์เดรัจฉานได้ 

อารมณ์ที่ฉุนเฉียว แก้ด้วยการใช้ทางธรรม ไม่ว่าจะศาสนาใด เมื่อมีสติสัมปชัญญะ ตลอดจนคอยภาวนาเป็นนิจ ก็จะทำให้อารมณ์เย็นลง เพิ่มวิธีการคุยด้วยเหตุผล อธิบายมากกว่าใส่อารมณ์เข้าหากัน  แม้การกระทบทางอารมณ์เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ในทุกครอบครัว แต่ก็จะผ่อนหนักเป็นเบาและลดการสูญเสียได้

ความหมางเมินในครอบครัว เป็นสาเหตุหลักอีกหนึ่งที่ทำให้ ครอบครัวเดียวกันแต่สามารถฆ่ากันได้  อย่างเหตุผลของคดีล่าสุดที่ผ่านไป ลูกบอกกับสังคมว่า ตนเอง รู้สึก”เบื่อหน่ายคำดุด่า” ที่พ่อมีต่อตน จนทำให้เกิดการบันดาลโทสะใส่กัน และนำมาสู่ความตายในที่สุด  สังคมปัจจุบัน มีความห่างเหินทางกิจกรรม ต่างคนต่างมีเวลาให้กับตัวเอง มีโทรทัศน์ของตนในห้อง กินข้าวกับเพื่อนฝูง แต่ในการทำกิจกรรมร่วมกันในครอบครัวลดน้อยลง ซึ่งเป็นบ่อเกิดต้นเหตุของความจืดจาง การฆ่าคนในครอบครัวซึ่งมีสาเหตุของความหมางเมิน สามารถเกิดจาการฆ่าเพื่อชิงทรัพย์ ฮุบสมบัติ หรือละโมบในสิ่งของจากอีกฝ่ายได้

เขย / สะใภ้ต้นเหตุใหญ่ ให้คนในครอบครัวทำลายกัน ลำพังพ่อแม่ พี่น้อง ซึ่งอาจเคยมีความกลมเกลียวกันดี แต่เมื่อมีเขยและสะใภ้เข้ามา ก็กลายเป็นเหตุให้เกิดความบาดหมางกันยกใหญ่ อาจนำไปสู่การทะเลาะและเอาเปรียบ บ้างก็รักษาสิทธิ์ของตนเอง และแก่งแย่งทุกอย่างที่ตัวเองคิดว่าควรได้  การฆ่าคนในครอบครัวของสาเหตุนี้ เต็มไปด้วยการวางแผน และไตร่ตรองเป็นอย่างดี ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า เป็นพฤติกรรมการฆ่าคนในครอบครัวที่โหดร้ายที่สุดกว่าประเภทอื่น

ครอบครัวคนรากหญ้า มีต้นแบบของความใกล้ชิด ชนชั้นกลางไม่อบอุ่น ในขณะที่นักจิตวิทยาหลายท่านตั้งข้อสังเกตุว่า เรื่องความขัดแย้งรุนแรงถึงขั้นฆ่าแกง ไม่ค่อยเกิดกับคนชั้นรากหญ้า เพราะว่าคนระดับนี้ ทำกิจกรรมร่วมกันในครอบครัวอย่างแน่นแฟ้นกว่า กินข้าวร่วมกัน ดูทีวีในห้องเดียวกัน งานบุญ งานหมู่บ้าน ก็ทำอย่างร่วมมือกลมเกลียว โดยเฉพาะคนที่ใช้ชีวิตอยู่ตามชนบท การมีปฏิสัมพันธ์ในครอบครัวมีสูงกว่า ด้วยเหตุนี้ อาจนำไปสู่ทางแก้ไขปัญหา โดยการใช้รูปแบบของคนรากหญ้าให้เป็นแนวทาง ด้วยการรณรงค์ มีการส่งเสริมความสัมพันธ์ และกิจกรรมในครอบครัว ให้มากขึ้นนั่นเอง

ครอบครัวที่แน่นแฟ้น มักไม่เกิดเหตุร้าย  เพราะคนรักกัน ยังไงก็ไม่ทำร้ายกัน อาจมีโกรธเคือง ไม่เข้าใจกันบ้าง แต่ท้ายที่สุด ก็จะปรับความเข้าใจกันได้  และเมื่อเกิดการโต้เถียงหรือไม่เข้าใจกัน ก็ไม่ถึงกับรุนแรงจนต้องเข่นฆ่า เพราะอย่างน้อย มีความรักพันธ์ผูกกันไว้นั่นเอง 

Picture Credit :

Kapook.com

PicStock.com

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0