โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

“โทษประหาร” ยังจำเป็นอยู่มั้ย “สิทธิมนุษยชน” ปกป้องชีวิตหนึ่ง แต่อาจทำร้ายอีกชีวิตหนึ่ง!

Another View

เผยแพร่ 25 ม.ค. 2562 เวลา 13.00 น.

“โทษประหารยังจำเป็นอยู่มั้ยสิทธิมนุษยชนปกป้องชีวิตหนึ่งแต่อาจทำร้ายอีกชีวิตหนึ่ง!  

BY : TEERAPAT LOHANAN

"สิทธิมนุษยชน" เป็นสิ่งที่เราถกเถียงกันมาเนิ่นนาน และเป็นประเด็นที่ค่อนข้างเป็นสากลที่ยังคงพิจารณากันอยู่ทั่วโลกว่า "การประหาร" เป็นสิ่งที่ยังจำเป็นอยู่หรือไม่ ในระบบสังคมปัจจุบันนี้ที่โลกของเราเต็มไปด้วยเสรีภาพ และสิทธิ

ยิ่งเหตุการณ์สะเทือนใจล่าสุดของประเทศเราเอง ที่ได้มีคดีลูกทรพี ฆ่าพ่อ-ข่มขืนแม่ ออกมาเป็นข่าวโด่งดังในโลกโซเชียล จากกรณีนี้ นายไชยา ต๊ะนา(ลูกทรพี) อายุ 31 ปี ชาว จ.เชียงใหม่ ซึ่งเมื่อครั้งเป็นเยาวชน(อายุ14ปี) เคยก่อเหตุฆ่าพ่อตัวเองและถูกตัดสินจำคุก ซึ่งก็ถูกจำคุกแค่เพียง 3 ปีเนื่องจากเป็นเยาวชน หลังพ้นโทษกลับมาอยู่บ้าน ก็ไม่มีงานทำเป็นหลักเป็นแหล่ง ทำตัวเกเร ดื่มสุราหาเรื่องข่มขู่ทำร้ายชาวบ้านและทำร้าย เป็นที่หวาดกลัวของชาวบ้าน เมื่อช่วงเดือน ธ.ค.61 ก็ได้ก่อเหตุข่มขืนแม่ของตัวเอง และหนีออกไป 

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นดังกล่าว ก็ยิ่งย้ำให้เราตั้งคำถามกับสิ่งเหล่านี้ ว่าในเมื่อเป็นอย่างนี้แล้ว โทษประหารยังจำเป็นอยู่มั้ยกับสังคมไทย คนที่เข้าคุกไปเมื่อออกมาจากคุกแล้วก็ยังวนเวียนกลับมาก่อคดีขึ้นอีกซ้ำแล้วซ้ำเล่า ซึ่งเมื่อนับตามสถิติแล้วก็ถือว่าเป็นจำนวนไม่น้อยเลยที่เป็นตามกรณีนี้

แต่ว่าการประหารก็ถือเป็นการลิดรอนสิทธิเสรีภาพในการมีชีวิตอยู่ของชีวิตหนึ่งชีวิต แล้วตัวเราเป็นใครกันที่มีจะถือสิทธิ์คุณธรรมอันสูงส่งเป็นคนไปริดรอนสิทธิในการดำรงอยู่ของคนอีกคนหนึ่ง

การประหารถือว่าเป็นโทษสูงสุดที่กฎหมายได้มีบัญญัติเอาไว้ ซึ่ง การประหารชีวิตนั้นมีหลากหลายวิธี โดยมักเกี่ยวข้องกับคดีการฆาตกรรม, การจารกรรม, การก่อกบฏ หรือในบางประเทศเป็นอาชญากรรมทางเพศ อาชญากรรมทางศาสนา เป็นต้น

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น คำว่าการประหารก็ถูกโยงเข้ากับคำว่า ‘กฎหมาย’ เอาไว้อย่างแน่นหนา ซึ่งตัวกฎหมายเองก็เป็นสิ่งที่เป็นบรรทัดฐานของสังคมที่กำหนดมาเพื่อใช้ในการอาศัยอยู่ร่วมกัน นั่นหมายความว่า การได้รับโทษประหารนั้น ก็คือการที่ใครคนใดคนหนึ่งทำผิดข้อตกลงร่วมกันในสังคม และได้รับการดำเนินคดีตามบทบัญญัติที่ว่าไว้ 

ในอดีตการประหารชีวิตหลากหลายรูปแบบเช่นการตัดศีรษะ, การฝังทั้งเป็น, การโยนลงไปในหลุมงูหรือ ประหารโดยใช้สัตว์ป่า แมลง, การผ่าท้อง (ฮาราคีรี), การเผาทั้งเป็น ในปัจจุบันการประหารชีวิตมีวิธีการที่ทันสมัยมากขึ้นโทษประหารชีวิตจึงเปลี่ยนมาเป็นการฉีดยาพิษ, การนั่งเก้าอี้ไฟฟ้า, การรมแก๊ส, การแขวนคอ, การยิงเป้า

สำหรับประเทศไทยการประหารชีวิตมีมาตั้งแต่สมัยโบราณ คือการใช้ดาบตัดคอ และเสียบหัวประจาน และยกเลิกการตัดคอไปในสมัยการปฏิรูปการปกครองปี 2475 ให้เหลือเพียงการเสียบหัวประจาน ในปี 2477 ได้มีปรับเปลี่ยนเป็นการยิงเป้า

กระทั่ง 19 ตุลาคม 2546 การประหารชีวิตด้วยการยิงเป้าก็กลายเป็นอดีตเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงวิธีการประหารชีวิตนักโทษจากการยิงเป้าไปเป็นการนำมาฉีดยา หรือสารพิษให้ตาย

จนถึงปัจจุบันนี้ การประหารก็นับได้ว่าเป็นสิ่งที่ล้าหลังสำหรับการตัดสินคดีไปแล้วในหลายประเทศจากมุมมองที่เป็นสากล แต่ถึงอย่างไรก็ตาม การกระทำความผิดก็ยังจำเป็นที่จะต้องมีบทลงโทษที่ชัดเจนเพื่อที่ว่าจะได้ไม่เกิดการกระทำผิดซ้ำสอง หรือการลอกเลียนแบบเป็นตัวอย่าง โดยถือเอาประโยชน์หรือความสะใจของตนเองเป็นที่ตั้ง เพื่อที่ว่าเราจะได้สามารถอยู่ร่วมกันได้ในสังคมนี้อย่างมีความสุข และปลอดภัย 

แล้วคุณคิดว่าสังคมไทยยังจำเป็นต้องมี “โทษประหาร” อยู่อีกมั้ย?

อ้างอิง : https://www.msn.com/th-th/news/national/แฉประวัติสุดระอา-ลูกทรพี-ฆ่าพ่อ-ข่มขืนแม่-มีนิสัยแปลกๆ-ตรส่งสัญญาณ-อย่าคิดสู้/ar-BBSbhpU?li=AA54uu&%25252525253Bocid=SK2MDHP

https://news.mthai.com/webmaster-talk/252462.html

https://www.dailynews.co.th/crime/687430

ภาพประกอบ

www.reuters.com

http://www.siameagle.com

mgronline.com

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0