ควบคุมราคา “รพ.เอกชน” สร้างความ“เสมอภาค” หรือสร้าง“ปัญหา” ในอนาคต?
หลังจากที่ ครม.เห็นชอบขึ้นบัญชีควบคุมค่ายา-เวชภัณฑ์-ค่าบริการทางการแพทย์ ตั้งแต่ช่วงหลังปีใหม่ 2562 ที่ผ่านมา ปรากฎว่าได้ส่งผลกระทบให้หุ้นรพ.เอกชนราคาตกอย่างมีนัยยะสำคัญ อีกทั้งมีการเคลื่อนไหวของหมอเอกชนที่ไม่เห็นด้วยกับมตินี้ เพราะมองว่า รพ.เอกชน คือทางเลือก ไม่ใช่ทางหลัก
ล่าสุด เมื่อวันที่ 22 ม.ค. ที่ผ่านมา "นพ.เอื้อชาติ กาญจนพิทักษ์" อดีตนายกสมาคมรพ.เอกชน กล่าวว่า ความเห็นส่วนตัวในฐานะของผู้ประกอบการ รพ.เอกชน มองว่า มติครม.ให้ค่ารักษาเป็นสินค้าควบคุมเช่นนี้เราก็ต้องทําตามแต่จะแก้ไขอย่างไรก็อย่ากระทบจนกระทั่งความมีประสิทธิภาพของรพ.เอกชน
ทั้งนี้ "นพ.พงษ์พัฒน์ ปธานวนิช" นายกสมาคมโรงพยาบาลเอกชน เคยแถลงต่อสื่อมวลชน เมื่อวันที่ 14 ม.ค. ที่ผ่านมา ว่า หากมีการควบคุมราคาก็จะทำให้รพ.เอกชนไม่สามารถพัฒนาและแข่งขันกับต่างประเทศเพื่อเป็น“ศูนย์กลางบริการสุขภาพนานาชาติ” (Medical Hub)
ในขณะที่ประชาชนไทยยังไม่ได้รับการบริการทางการแพทย์ที่ดีมีคุณภาพอย่างทั่วถึง แต่ก็มีนโยบายผลักดันงานบริการทางการแพทย์เพื่อหวังดึงดูดเม็ดเงินจากต่างชาติเข้าประเทศ ที่เรียกว่า Medical Hub
การเป็นMedical Hub สำคัญขนาดไหน? และสำคัญต่อใครกันแน่?
ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (นโยบาย Medical Hub) ได้ถูกริเริ่มมาตั้งแต่ปี 2547 จนถึงปัจจุบัน สร้างรายได้ให้กับประเทศมากถึงปีละกว่าแสนล้านบาท โดยมีตัวแปรสำคัญเป็น“โรงพยาบาลเอกชน” ที่มีสัดส่วนรายได้เกินครึ่ง นั่นเท่ากับว่ารพ.เอกชน เป็นส่วนสำคัญของแผนงานเมดิเคิล ฮับ ภายใต้การชูธงของรัฐบาล
"ศ.คลินิก เกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร" รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เคยกล่าวถึงนโยบายการผลักดันประเทศไทยเป็น Medical Hub ไว้ว่า เราจะมุ่งเน้นการดูแลสุขภาพนักท่องเที่ยวแต่ต้องไม่ทิ้งสุขภาพประชาชนของคนไทยถือเป็นหลักที่สำคัญโดยเป็นการแยกให้ชัดว่าไม่เอาทรัพยากรที่จะดูแลคนไทยเอาไปให้กับชาวต่างชาติ
นพ.พงษ์พัฒน์ นายกสมาคมโรงพยาบาลเอกชน ยังกล่าวอีกด้วยว่า “หากไม่เกิดการพัฒนา ก็ห่วงว่าผลสุดท้ายคนไทยเองจะลําบาก เพราะไม่มีรพ.ดี ๆ แล้วต้องบินไปรักษา ที่รพ.ต่างประเทศเหมือนในอดีต ทั้งที่วันนี้ไทยถือว่าเป็นผู้นํา”
แม้การเข้าใช้บริการทางการแพทย์ในรพ.เอกชน จะเป็นเพียง “ทางเลือก” ของประชาชนไทย เนื่องจากยังคงมีสิทธิ์ในการรักษาพยาบาลที่เข้าถึงประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ ได้แก่ กองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า กองทุนประกันสังคม และกองทุนข้าราชการและครอบครัว แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า ในยุคปัจจุบันรพ.เอกชนเป็นทางเลือกเบอร์ต้น ๆและมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเข้าใช้บริการไม่ด้อยไปกว่ารพ.รัฐ
การขึ้นบัญชีฯ ให้กระทรวงพาณิชย์ เข้ามามีบทบาทควบคุมค่ายา-เวชภัณฑ์-ค่าบริการทางการแพทย์ จึงเป็นใบเบิกทางให้ประชาชนได้รับความเป็นธรรมมากขึ้น ไม่ถูกโก่งค่ารักษาพยาบาลจนเกินเหตุ แต่ในขณะเดียวกัน หาก รพ.เอกชน ถูกแทรกแซงจนกระทบต่อคุณภาพงานบริการ การพัฒนาด้านการรักษา การลงทุนกับเครื่องมือแพทย์ที่ทันสมัย ที่อาจไม่ตอบโจทย์ประชาชนกลุ่มหนึ่งที่เลือกเข้ารพ.เอกชน เพราะมุ่งหวังที่จะได้รับประโยชน์ด้านนี้ อาจทำให้รพ.รัฐ เบอร์ต้น ๆ ที่ประชาชนเชื่อมั่น ต้องแบกรับภาระปริมาณผู้ป่วยที่เพิ่มมากขึ้น ความแออัดและกระจุกตัวของงานบริการสาธารณสุข ที่คงหนีไม่พ้นคนที่มีอำนาจเงินและเส้นสายมาเบียดแย่งพื้นที่การรักษาของ ปชช. อีกส่วนใหญ่ที่ยังต้องหวังพึ่งการรักษาจากโรงพยาบาลรัฐ จึงเป็นผลกระทบอีกด้านหนึ่งที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต
แหล่งข้อมูล :
https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_1329833
https://www.khaosod.co.th/hot-topics/news_2121755
ความเห็น 62
โรงพยาบาลกรุงเทพโคตรแพง
28 ม.ค. 2562 เวลา 18.44 น.
เตี้ย
ลดค่ายาเด่วก็ไปเพิ่มือย่างอื่นถ้าจะไปร.พเอกชนก็ต้องดูการเงินของเราด้วยว่าไหวป่าว
26 ม.ค. 2562 เวลา 04.00 น.
ค่ายาแพงกว่าปกติ สามสี่เท่าตัวค่าห้องรวมไคืนนึงเป็นหมื่น มันก็มากไปนะ เอาแต่พองามสิครับ
25 ม.ค. 2562 เวลา 11.26 น.
ตี้
ผมว่าน่าจะทำแบบ รพ. ศิริราช กับ รพ. ศิริราชปิยะมหาราชการุณย์ ที่จับคู่ รพ. รัฐ กับ รพ. เอกชน ร่วมมือทั้ง ส่งเสริมค่าใช้จ่าย ส่งเสริมทั้งบุคคลากร ส่งเสริมทั้งอุปกรณ์ โดยมี กฎหมาย หรือ ระเบียบการดำเนืนการที่ชัดเจน ไม่ใช่กดดันเรื่องค่ารักษาของเอกชน มีแต่เจ็บ กับขัดแย้งกัน
25 ม.ค. 2562 เวลา 07.10 น.
-:-OTTO-:-
ไปทำ MRI โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง ค่า
อ่านผล คิด 16,000.- ( สงสัยคนอ่านมันเอา
ไปใช้ฝังศพ คุณพ่อมัน )
25 ม.ค. 2562 เวลา 06.52 น.
ดูทั้งหมด