โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

คนไทยทำไมชอบ “ดราม่า”? “เรื่องไม่เป็นเรื่อง-เรื่องชาวบ้าน” ดราม่าไปแล้วได้อะไรกับชีวิต?

Another View

เผยแพร่ 26 ม.ค. 2562 เวลา 01.00 น.

คนไทยทำไมชอบ “ดราม่า”? “เรื่องไม่เป็นเรื่อง-เรื่องชาวบ้านดราม่าไปแล้วได้อะไรกับชีวิต?

สมัยนี้ที่โซเชียลเน็ตเวิร์กมาไวไปไว ก็ดูเหมือนข้อมูลข่าวสารอะไร ๆ จะเข้าถึงผู้คนได้ง่ายเหลือเกิน โดยเฉพาะในยุคที่มีทวิตเตอร์ มีประดิษฐ์กรรมที่เรียกว่า แฮชแท็ก # (hashtag) ซึ่งใคร ๆ ที่กำลังสนใจในเรื่องเดียวกันกับประเด็นนั้น ๆ อยู่ จนมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันไปมา และเมื่อความคิดเห็นเหล่านั้นมีจำนวนมาก ๆ เข้าก็จะขึ้นหน้าแนะนำ หรือที่เรียกว่า“ติดเทรนด์" (on trending) ซึ่งจะทำให้เรื่องเหล่านั้นเป็นที่สนใจมากขึ้น ดังนั้น ในบางที "เรื่องบางเรื่อง" ที่ควรจะเป็นเรื่องเล็ก ๆ นั้นกลับกลายเป็นเรื่องใหญ่ไฟลามทุ่ง 

บางคนก็อินกับดราม่าเกินไป ใส่อารมณ์จนเป็นพิษ บางคนก็รุนแรงรุมด่าทอต้นเหตุแห่งดราม่าจนกลายเป็น cyber-bullying (การกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์) หรือบางกลุ่มก็อยู่ #ทีมเผือก คอยติดตามอ่านเรื่องราวจนทะลุปรุโปร่งไม่ได้หลับได้นอน…ซึ่งบางครั้งก็ทำให้เกิดคำถามว่า มันจะอะไรกันหนักหนา? คนเราสมควรจะต้องสนใจดราม่าขนาดนี้ไหม? 

อันที่จริง หากมองอีกแง่ การเสพดราม่าก็สามารถเป็นสิ่งที่มีประโยชน์เช่นเดียวกัน ดังนี้ 

1.) เกิดประเด็นถกเถียงในสังคมซึ่งในไปสู่ความหลากหลายทางความคิดเห็น

ในทุก ๆ ครั้งที่เกิดดราม่า สิ่งหนึ่งที่จะเห็นได้ก็คือเกิดประเด็นถกเถียงบางอย่างในสังคม เป็นเรื่องปกติที่ความคิดเห็นจะถูกแบ่งออกเป็นสองฝักสองฝ่าย แต่ไม่ว่าคุณจะติดแฮชแท็กทีมอะไร การเกิดดราม่าขึ้นก็ทำให้เกิดความหลากหลายทางความคิดเห็น ทำให้คนในสังคมหัดคิดวิเคราะห์แยกแยะ ได้แสดงออกทางความคิดเห็น อนุมานเหมือนการโต้วาทีที่จะมีทั้งฝ่ายเสนอและฝ่ายค้าน การเกิดดราม่าหนึ่งก็ส่งผลให้เกิดความหลากหลายทางความคิดเห็น และสะท้อนให้เห็นว่าในหนึ่งเรื่อง เราอาจสามารถมองได้หลายมุม และทำให้เราไม่ตัดสินอะไรง่าย ๆ 

2.) ได้ความรู้ข้อมูลมากขึ้น 

เมื่อเกิดการถกเถียงกันในสังคม ก็จะมีคนบางกลุ่มที่เป็นผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ที่ไปค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมในเรื่องนั้น ๆ งัดความรู้และข้อมูลออกมาเพื่อถกเถียง และเมื่อเสพดราม่าเหล่านั้นก็จะทำให้เราได้ความรู้เพิ่มเติมไปด้วย ทำให้เราได้รู้ในบางเรื่องที่เราไม่เคยได้รู้มาก่อนหรืออาจได้รับความรู้และข้อมูลที่มีประโยชน์ในชีวิตประจำวัน 

3.) ได้รู้ความจริง 

ยิ่งสังคมผ่านดราม่าเยอะขึ้น เรายิ่งเรียนรู้ที่จะไม่เชื่ออะไรง่าย ๆ หากปราศจากหลักฐาน ก็จะเกิดการขุดคุ้ยหาข้อมูลความจริงขึ้นมา เกิดกลุ่มคนที่เรียกว่า #นักสืบ ที่คอยไล่ล่าหาข้อมูลที่จะนำมาประกอบภาพแห่งความจริงที่สมบูรณ์มากที่สุดพอที่ “คนนอก” ผู้เสพดราม่าอย่างเรา ๆ จะเข้าใจได้ 

4.) ได้เข้าใจกระแสสังคม 

ข้อนี้อาจเป็นประโยชน์กับนักการตลาด ในบางกรณี เช่นดราม่าเรื่อง #หมี่หยกไม่ลวก ซึ่งเกี่ยวกับพฤติกรรมการรับประทานของคนหมู่มากต่ออาหารประเภทหมี่หยกในภัตตาคารแห่งหนึ่งก็ทำให้เราได้รู้ว่าคนหมู่มากมีความคิดความรู้สึกต่อการรับประทานอาหารประเภทนี้อย่างไร หากเป็นกรณีอื่น ก็จะเป็นการสรุปได้คร่าว ๆ ว่าคนทั่วไปส่วนใหญ่นั้นมองเรื่องนั้น ๆ อย่างไร หรือเข้าใจเรื่องนั้น ๆ แบบไหน 

5.) คลายเครียด 

ข้อสุดท้ายนี้ดูจะไม่สำคัญ แต่ก็สำคัญ อันที่จริงแล้วการเสพดราม่า หรือการคอยติดตาม “เรื่องของคนอื่น” เป็น #ทีมเผือก นั้นสามารถช่วยดึงคนเราออกจากโลกของความเป็นจริงได้ชั่วขณะ ณ ช่วงเวลาที่หันไปสนใจเรื่องราวอื่น ๆ รอบตัว หรือกระทั่งเรื่องของคนอื่น ก็จะทำให้คลายเครียดจากภาวะปัจจุบันที่ต้องเผชิญหรือปัญหาที่ต้องรับรู้อยู่ก็เป็นได้ 

อย่างไรก็ตาม อย่าลืมว่าดราม่าเป็นเรื่องที่ผ่านมาก็ผ่านไป เราควรเสพดราม่ากันแต่พอสมควร เสพให้พอรู้ว่ามีความเป็นไปใดใดในโลก แต่อย่าหมกมุ่น อย่าเอาตัวเข้าไปเกี่ยวข้องอย่าหัวร้อน (ภาษาอินเตอร์เน็ตของคำว่า: เกรี้ยวกราด) และ #อย่าอินเกิน 

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0

ความเห็น 123

  • หากคิดช้าๆ..ตือคนไทยตกงาน มือ ปากว่างก็เผือกไปเท่าที่ทำได้ คนไทยตกงานเยอะจึงมีเวลาสนใจในเรื่องไร้ประโยชน์ คนไทยจึงชอบงานเทศกาลนู่นนี่นั่น..จัดให้บ่อยๆ..จัดเข้าไป...งานสวนสนุก..
    28 ม.ค. 2562 เวลา 13.13 น.
  • สุวิทย์789
    เสพสื่อทุกวันจนกลายเป็นอาหารหลัก สนใจแต่เรื่องคนอื่น แต่ไม่สนใจชีวิตตัวเอง ความคิดฟุ้งซ่านพุ่งกระจูดเดือดดาล ยังกะเป็นพ่อแม่ลูกเมียตัวเอง จนลืมไปว่ามึงเป็นใคร สาระแนไปยุ่งอะไรกับชีวิตคนอื่นเขา ทั้งที่ตัวเองยังแดกลมแดกควันอยุ่เลย ครอบครัวตัวเองสวยหรูตายหละ ถึงได้มาสนใจชีวิตคนอื่นจนเป็นสรณะ
    28 ม.ค. 2562 เวลา 12.47 น.
  • อีก1เรื่องคืพวกเราส่วนใหญ่โดนติไม่ได้เลยไม่ค่อยยอมรับความจริงกัน
    27 ม.ค. 2562 เวลา 16.19 น.
  • Ooy 96
    ให้ออกจากวงการก็ไม่กล้าออก กลัวอดตายมาไหว้ปะลกๆๆหมดท่าเลย 5555 มองแล้วเวทนาแทน
    27 ม.ค. 2562 เวลา 12.34 น.
  • การะเกด
    ก้อรุว่าเป็นคนสาธารณะก้ออย่าเยอะสิ ไม่งั้นเจอดราม่า แบบนี้แหละ
    27 ม.ค. 2562 เวลา 10.23 น.
ดูทั้งหมด