โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

วันหยุดยาวนี้จะพักผ่อนอย่างไรให้สมองแข็งแรง - หมอเอิ้น พิยะดา

THINK TODAY

เผยแพร่ 25 ธ.ค. 2562 เวลา 03.36 น. • หมอเอิ้น พิยะดา

“การท่องเที่ยวไม่ใช่การพักผ่อน ถ้าอยากพักผ่อนให้นอนอยู่บ้าน” 

ประโยคที่ใครคนเขียนไว้บนหน้าเฟสบุ๊ค

ที่อ่านแล้วชวนให้ต้องฉุกคิด

เพราะเดือนธันวาคมนี้เรามีวันหยุดถึงห้าวัน

หมอเองก็เป็นคนนึงที่ต้องสะกิดถามคนข้างๆ ว่า “ไปพักผ่อนไหนกันดี?”

เวลาเราพูดถึงการพักผ่อน กิจกรรมแรกที่ผู้คนมักคิดถึงคือการนอน การไม่ต้องทำงาน การไม่ต้องรีบร้อน การไม่ต้องเจอกับปัญหาอุปสรรค เพื่อให้สมองที่อ่อนล้าจากการทำงานในชีวิตประจำวันได้พัก แต่พอถึงเวลานั้นจริงๆ หลายคนพบว่าตัวเองกลับนอนไม่หลับมากขึ้นกว่าเดิม เพราะความคิดในหัวมากขึ้นกว่าเดิม บางคนเอาเรื่องงานกลับมาคิดยิ่งคนที่เรียกว่าบ้างานมากๆ ก็อาจจะรู้สึกไม่เคยชินที่ไม่ได้ลุกออกไปทำงาน หรือบางคนอาจมีเรื่องใหม่ๆ มาให้คิด คนเจอประสบการณ์แบบนี้อาจจะรู้สึกว่า ทำไมวันพักผ่อนกลับไม่ได้รู้สึกพักผ่อน?

 เพราะความจริงหัวใจของการพักผ่อนไม่ได้อยู่ที่การทำกิจกรรมที่ลดลง แต่หัวใจของการพักผ่อนอยู่ที่การทำให้สมองฟื้นตัวกลับมาแข็งแรงมากขึ้น การทำให้สมองจะกลับมาแข็งแรงได้ง่ายในช่วงเวลาวันหยุดมีอยู่สองวิธี

1.อยู่กับความสงบ 

วิธีนี้เราพักผ่อนที่ไหนก็ได้ หัวใจอยู่ที่การได้อยู่กับกิจกรรมที่เราทำในขณะนั้นอย่างผ่อนคลาย

1.1.เราอาจจจะทำกิจกรรมที่เคยชื่นชอบและมีความสุข เช่น บางคนชอบทำอาหารมาก ชอบวาดภาพ นั่งดูภาพยนตร์โปรด ดูแลสัตว์เลี้ยง หรือแม้กระทั่งเก็บห้องให้เป็นระเบียบเป็นต้น ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้ถ้าเป็นช่วงเวลาทำงานเราอาจจะไม่มีโอกาสได้ทำแม้จะรู้ว่าเป็นสิ่งที่ชอบ ข้อดีของการอยู่ทำกิจกรรมที่เราชอบโดยเฉพาะกิจกรรมในวัยเด็ก จะทำให้สารแห่งความสุขหลั่งได้ง่ายจากการดึงประสบการณ์เก่าที่เราเคยทำแบบนี้แล้วมีความสุข แถมกิจกรรมยังช่วยลดความคิดที่ฟุ้งซ่านจากการเปลี่ยนจากความคิดเป็นการกระทำ

1.2 การนอนอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะการนอนอย่างมีประสิทธิภาพนอกจากจะทำให้สมองเราจัดระเบียบความคิดและความทรงจำได้ดีแล้ว ยังช่วยซ่อมแซมเซลล์สมองและชะลอความเสื่อม

แต่งานในวันปกติอาจทำให้เราไม่ได้ปฏิบัติตัวเพื่อให้การนอนนั้นมีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง ดังนั้นเราควรใช่โอกาสทองนี้ในการสร้างวินัยในการนอนที่ดี เช่น นอนให้เพียงพอ (ถ้าตื่นมาสมองสดชื่นไม่มีง่วงกลางวันแสดงว่าเวลาในการนอนสำหรับเรานั้นเพียงพอ ) ปรับเวลาการเข้านอนและการตื่นให้สม่ำเสมอ (การปรับนาฬิกาชีวิตให้สม่ำเสมอจะทำให้สมองทำงานได้อย่างเต็มที่)

2.ปลุกสมองด้วยการท่องเที่ยว

วิธีนี้จุดประสงค์คือการกระตุ้นให้สมองตื่นตัวด้วยความไม่เคยชิน

เพราะการที่เมื่อไรที่ทำอะไรซ้ำๆบ่อยๆจนกลายเป็นความเคยชิน สมองในส่วนความคิด การตัดสินใจและสมาธิจดจ่อจะไม่ค่อยได้ทำงาน สองของเราจึงล้าง่ายและไม่มีโอกาสสร้างเซลล์ประสาทเพิ่มเติมจากการเรียนรู้สิ่งใหม่

ดังนั้น การออกไปท่องเที่ยวก็เป็นกิจกรรมที่ทำให้สองของเราแข็งแรงขึ้นได้ การการท่องเที่ยวนั้นประกอบด้วยหลักการสามอย่างนี้

1. ความแปลกใหม่ ( novelty)ได้ทำอะไรใหม่ ไปที่ใหม่ที่สมองยังไม่เคยมีข้อมูล หรือได้ลองทำในสิ่งที่ไม่เคยทำมาก่อน 

2. ความหลากหลาย ( variety )พาตัวเองไปพบประสบการณ์ที่หลากหลาย 

3. สร้างความต่อเนื่องในความท้าทาย (Continuing challenge) 

เมื่อสมองเรากลับมาแข็งแรง สภาะวะจิตใจเราก็จะแข็งแรง การรับมือกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในปี 2020 ไม่ว่าจะดีหรือร้ายก็จะสามารถเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่น่าเรียนรู้ได้เสมอ

สวัสดีปีใหม่ล่วงหน้านะคะทุกคน

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0