*กรณีเสี่ยรถเบนซ์ Vs แพรวา *
เชื่อว่าทุกคนคงเคยเอ่ยคำว่า “ขอโทษ”
เราจะเอ่ยคำนี้เมื่อมีใครบางคน ต้องได้รับความเดือดร้อนจากการกระทำของเรา
และสิ่งที่คนเอ่ยคำว่า “ขอโทษ” ทุกคนปรารถนานั้นก็คือการให้อภัย
แต่เราจะสังเกตได้ว่าไม่ใช่ทุกคนที่จะได้รับการอภัย
และ*การจะให้อภัยหรือไม่อาจไม่ได้ขึ้นกับความเล็กหรือใหญ่ของปัญหา *
*แต่ขึ้นอยู่กับความหมายและรายละเอียดของคำว่า “ขอโทษ” *
ขอยกตัวอย่างข่าวการตัดสินของศาล กรณีเสี่ยรถเบนซ์ที่เมาแล้วขับรถไปชนรถนายตำรวจและภรรยาจนเสียชีวิต ส่วนลูกสาวคนเล็กได้รับบาดเจ็บ ความเดือดร้อนที่เกิดขึ้นคือ การที่เด็กหญิงสองคนที่อยู่ในวัยเรียน
วัยที่ต้องการพ่อแม่ที่คอยดูแลเอาใจใส่ ต้องกลายเป็นเด็กกำพร้าในทันที ความผิดของเสี่ยรถเบนซ์ครั้งนี้เกิดผลรุนแรง ยิ่งใหญ่อย่างปฏิเสธไม่ได้ เด็กทั้งสองมีสิทธิจะโกรธจะเกลียดเสี่ยรถเบนซ์อย่างเต็มที่ด้วยความชอบธรรม
แต่ภาพข่าววันที่ศาลตัดสินคดีนี้กลับสร้างความประทับใจให้กับคนทั้งประเทศ
เพราะเด็กทั้งสองโอบกอดเสี่ยผู้เป็นจำเลยที่ทำให้พ่อแม่ของพวกเธอเสียชีวิต
โดยไม่มีร่องรอยของความโกรธแค้นใดๆ มีแต่ภาพของมิตรไมตรีและการเริ่มต้นใหม่
*เพราะอะไรคำขอโทษของเสี่ยผู้นี้จึงควรค่ากับการให้อภัย? *
1. ยอมรับปัญหาและไม่หนีปัญหา : ทันทีที่เกิดเหตุการณ์ เสี่ยเดินทางไปเคารพศพ ไปกราบพ่อแม่ของผู้เสียชีวิต ขอบวชหน้าไฟทั้งที่รู้ว่าตัวเองต้องอยู่ท่ามกลางผู้คนที่โกรธแค้นมากมาย
และการตั้งคำถามที่ยากจะตอบ
2. กล่าวคำ “ขอโทษ” ด้วยความจริงใจ : ผู้ที่ได้เห็นได้ฟังต่างสัมผัสได้ถึงความรู้สึกผิด ที่ผ่านออกมาจากน้ำเสียง แววตา ท่าทาง
3. สื่อสารให้รู้ว่าผิดอย่างไร : การที่คดีนี้มีระยะเวลาไม่ยืดยาว และผลออกมาเป็นการลดโทษจนรอลงอาญาเพราะการที่เสี่ยให้ข้อมูลความผิดของตัวเองอย่างตรงไปตรงมา ไม่หาข้ออ้างมาปกป้องตัวเอง เป็นการแสดงถึงความจริงใจต่อความผิดและไม่เสียเวลาคนอื่นในการค้นหาความจริง
*4. สื่อสารว่าจะรับผิดชอบอย่างไร * : เสี่ยสื่อสารเรื่องความรับผิดชอบทันทีโดยไม่ต้องมีกฎหมายบังคับ เมื่อลูกทั้งสองของผู้เสียชีวิตขาดคนดูแล ก็สื่อสารว่าจะดูแลอย่างไรและลงมือทำจริงอย่างเป็นรูปธรรม จนคนทั้งประเทศได้เห็นภาพประทับใจในความผูกพันของเด็กทั้งสองที่มีต่อเสี่ย
5. จะทำอย่างไรไม่ให้เกิดปัญหาอีก : เสี่ยประกาศต่อหน้าญาติผู้เสียชีวิตและสื่อมวลชนว่า เค้าจะไม่ดื่มสุราอีกตลอดชีวิต เพราะมันคือสาเหตุที่ทำให้เมาแล้วขับจนเกิดเหตุน่าเศร้าใจ
ในขณะที่กรณีของแพรวา ที่ขับรถประสบอุบัติเหตุจนมีผู้เสียชีวิตและพิการ แต่เรื่องราวยังคงบานปลายต่อเนื่องไม่จบสิ้นทั้งที่เคยกล่าวคำว่า “ขอโทษ” เช่นเดียวกัน แต่ผลลัพธ์ช่างแตกต่างกัน
*เรื่องนี้สะท้อนให้เห็นว่า การที่เราแค่พูดคำว่า “ขอโทษ” แต่หลงลืมคุณค่า ความหมายและรายละเอียดของคำนี้ อาจทำให้เราต้องพูดคำนี้ไปไม่สิ้นสุดแม้จะผ่านไปสักกี่ปี *
*เพราะพูดแค่ไหนก็ไม่เข้าถึงหัวใจของการให้อภัยเสียที *
*ดริปการแฟดูแลใจ ฉบับกัลยาณมิตร *
www.earnpiyada.com
----------------------------------------------------------------------------
Page FB ดีต่อใจ โดย หมอเอิ้น พิยะดา :
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=10156783544953550&id=306538978549
----------------------------------------------------------------------------
ความเห็น 9
แต่ผมคิดว่าในสิ่งที่คู่ควรและเหมาะสมกับในคำว่าอภัยนั้นก็ย่อมที่จะต้องขึ้นอยู่กับองค์ประกอบในความรับผิดชอบที่เป็นหลักสำคัญด้วยเหมือนกันนะครับ.
07 ส.ค. 2562 เวลา 13.25 น.
กมลทิพย์ จูอนุชาติ
ขอบคุณที่เขียนอะไรดีๆแบบนี้ให้อ่านมันทำให้ดีต่อใจมากจริงๆค่ะ
11 ส.ค. 2562 เวลา 14.23 น.
Estrich Chai
เห็นด้วยครับ
07 ส.ค. 2562 เวลา 12.26 น.
Rainny L.(อิมกึมบี)🌦
อืมมม มันต้องสำนึกมาจากใจ
12 ส.ค. 2562 เวลา 14.12 น.
มีข้อคิดดีครับ จะนำมาปรับใช้ คำขอโทษที่คู่ควรกับการให้อภัย
09 ส.ค. 2562 เวลา 08.59 น.
ดูทั้งหมด