โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

การสอบยังจำเป็นมั้ย? สิงคโปร์เตรียมยกเลิกสอบ ชี้! การเรียนไม่ใช่การแข่งขัน

TheHippoThai.com

เผยแพร่ 04 ต.ค. 2561 เวลา 01.00 น.

การสอบยังจำเป็นมั้ย? สิงคโปร์เตรียมยกเลิกสอบชี้! การเรียนไม่ใช่การแข่งขัน

อนาคตของเยาวชนไม่อาจวัดผลจากคะแนนสอบได้เสมอไปแต่หลายปีที่ผ่านมาภาพที่ชินตาที่เรามักจะเห็นลูกๆหลานๆน้องๆต้องทำก็คือการแบกกระเป๋าใบใหญ่ไปโรงเรียนคร่ำเคร่งกับการเรียนพิเศษกันตั้งแต่อนุบาลต้องเตรียมการสอบเข้าเรียนกันตั้งแต่ระดับประถมแท้จริงแล้วสิ่งเหล่านี้จำเป็นหรือไม่ทิศทางที่เยาวชนบ้านเรากำลังจะเดินไปมันนำไปสู่อนาคตที่ดีขึ้นจริงหรือเปล่า

เครดิตภาพ: https://education.kapook.com/view87255.html
เครดิตภาพ: https://education.kapook.com/view87255.html

ค่านิยมทำพิษแม้แต่ประเทศที่เอื้อต่อการศึกษาที่สุดยังยกเลิกการสอบ

เพื่อนบ้านของเราอย่างสิงคโปร์ซึ่งได้รับการจัดอันดับจาก องค์กรเพื่อเด็กระหว่างประเทศ Save the Children ในรายงานคุณภาพชีวิตเด็กประจำปี 2018 ว่า เป็นประเทศที่มีคุณภาพชีวิตที่ดีที่สุด เหมาะที่สุดต่อการเจริญเติบโตของเด็ก ๆ ชนะขาดลอยจากการประเมิน 175 ประเทศทั่วโลก

ไม่นานมานี้กระทรวงศึกษาประเทศสิงคโปร์ประกาศว่า จะยกเลิกการสอบทั้งกลางภาคและปลายภาคของนักเรียนชั้นป. 2  ในปี 2019 ส่วนนักเรียนชั้นป. 3, ป. 5, ม. 1 และม. 3 ก็จะยกเลิกการสอบกลางภาคภายใน 3 ปีหลังจากนี้ไป 

เหตุผลก็เพราะว่า เดิมทีสิงคโปร์เป็นประเทศที่ผลักดันเยาวชนในเรื่องการศึกษาเป็นอย่างมาก เนื่องด้วยค่านิยม "KIASU"  ที่มาจากภาษาจีนแปลว่า กลัวจะแพ้เขา ค่านิยมนี้ยังอยู่ในประชากรของสิงคโปร์ซึ่งมีเชื้อสายจีนอยู่มากกว่า 70%  แรงขับนี้ทำให้คนสิงคโปร์มีความมุ่งมั่น เพราะเป้าหมายคือเอาชนะ ทั้งความยากจน และทรัพยากรธรรมชาติที่ขาดแคลน นี่คือเหตุผลที่ทำให้ประชากรประเทศทะเยอทะยานและทำงานหนักเป็นอย่างมาก จนพัฒนาการทางเศรษฐกิจประสบความสำเร็จอย่างเด่นชัด

เครดิตภาพ: https://brandinside.asia/singapore-cut-mid-year-exams/
เครดิตภาพ: https://brandinside.asia/singapore-cut-mid-year-exams/

จนกระทั่งมีรายงานวิเคราะห์โครงสร้างการศึกษาของประเทศสิงคโปร์จากองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนาของประเทศกลุ่มยุโรป ( OECD ) พบว่า ค่านิยมดังกล่าวมีผลให้เยาวชนสิงคโปร์ชอบชิงดีชิงเด่นและทำงานเป็นทีมไม่ได้ แม้จะเรียนเก่งมากก็ตาม

กระทรวงศึกษาสิงคโปร์จึงดำเนินงานเพื่อจะแก้ไขข้อผิดพลาดนี้ โดยหนึ่งในนโยบายเหล่านั้นก็คือการยกเลิกการสอบในโรงเรียน โดยมุ่งที่จะรักษาสมดุลระหว่าง “ความสุขในการเรียนรู้”  และ “การแข่งขันในการศึกษา”  ซึ่งจะมีการวัดผลโดยให้คุณครูประเมินจากพัฒนาการทางอารมณ์ของเด็ก ๆ ทักษะในการปรับตัวและมุมมองต่อโลกให้มากขึ้น วัดผลจากการสอบน้อยลงเพื่อให้สอดคล้องกัน คุณครูเองก็จะได้ผ่อนคลายจากการทำงานอย่างหนักด้วย

เครดิตภาพ: https://www.posttoday.com/politic/report/545072
เครดิตภาพ: https://www.posttoday.com/politic/report/545072

ขณะที่บ้านเราเด็กต้องเรียนพิเศษตั้งแต่อนุบาล

นอกจากการสอบให้ได้คะแนนดีในแต่ละเทอมที่ทำให้นักศึกษาบ้านเราถึงขั้นจะต้องทำร้ายตัวเองเพราะความกดดัน การสอบเข้าก็ทำร้ายพวกเขาไม่แพ้กัน

หากยังจำกันได้ เพิ่งจะมีข่าวไปไม่นานนี้ว่า ผู้ปกครองต้องแข่งขันอย่างมากที่จะนำลูกๆ เขาเรียนป.1 ในโรงเรียนที่มีชื่อเสียง คอร์สติวนักเรียนเพื่อสอบเข้าเรียนป.1 ของบ้างสถาบัน ถูกจองเต็มไปถึงปี 2564 

นักเรียนที่ศึกษาอยู่ในระดับชั้น ป.3, ป.6, ม.3 และ ม.6 บ้านเราต้องเข้าสอบ โอเน็ต (O-NET) การทดสอบการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐานที่เป็นการสอบวัดความรู้รวบยอด ยิ่งสำหรับเด็ก ม.6 คะแนนนี้มีผลในการประกอบเข้าเรียนเรียนมหาวิทยาลัยและสอบได้แค่เพียงครั้งเดียวเท่านั้น 

ไม่นับรวมการสอบ GAT / PAT ซึ่งนักเรียนมัธยมปลายที่ต้องทุ่มเทอย่างมากต้องเรียนพิเศษทุกวัน ทุกวิชา เสียเงินเข้าคอร์สติวกันเป็นแสนๆ เพื่อที่จะได้เรียนต่อ ซึ่งเป็นเรื่องที่เราๆ ท่านๆ เห็นกันจนชินตามานับ 10 ปี

การผลักดันให้เด็กๆ เรียนอย่างหนัก ทำการบ้านอย่างหนักเพื่อให้ได้คะแนนสอบที่ดีนั้น สามารถการันตีผลลัพธ์ในการเรียนรู้ของเยาวชนได้จริงหรือไม่ ทั้งที่สุดท้ายปลายทางแล้ว อนาคตในการที่จะได้งานทำหรือไม่ จะมีรายได้ดีหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับอีกหลายปัจจัยเหลือเกินที่ไม่ใช่คะแนนสอบ ไม่ว่าจะเป็นทัศนคติ ความสามารถในการเข้าสังคม จังหวะหรือโอกาส ความสามารถพิเศษเฉพาะตัว สุขภาพจิตที่ดี ซึ่งเราอาจไม่ได้ให้ความสำคัญกันสักเท่าไหร่

ในขณะเดียวกันสิ่งที่เด่นชัดไปกว่าสิ่งที่เด็กๆ จะได้ คือ ก้อนเงินมหาศาลของผู้ปกครองที่ไหลเวียนอยู่ในระบบการศึกษาและธุรกิจเกี่ยวกับการศึกษา ค่าเทอม ค่าบำรุงการศึกษาที่เสียทุกเทอม ค่าเรียนพิเศษและค่าใช้จ่ายเมื่อเด็กๆ ต้องเดินทางไปเรียนพิเศษตามสถาบันต่างๆ ค่าแป๊ะเจี๊ยะในกรณีที่ความสามารถของลูกอย่างเดียวอาจไม่พอ  

คำถามที่ผู้ใหญ่ต้องตอบให้ได้ตั้งแต่วันนี้ คือ พ่อแม่ต้องจ่ายไปเพื่ออะไร ต้องพยายามไปเพื่อใคร การเคี่ยวเข็ญอย่างเอาเป็นเอาตายของผู้ปกครองและระบบการศึกษานั้นนำมาซึ่งผลลัพธ์ที่คุ้มค่าหรือไม่ เพราะสุดท้ายแล้วผู้ที่จะต้องรับกรรม ไม่ใช่แค่เยาวชน แต่หมายถึงอนาคตของประเทศชาติที่ไม่ก้าวหน้า เพราะระบบการศึกษามันล้มเหลวอีกด้วย

ข้อมูลอ้างอิง

https://brandinside.asia/singapore-cut-mid-year-exams/

https://education.kapook.com/view87255.html

http://www.unigang.com/Article/42799

https://www.thairath.co.th/content/1379168

https://www.posttoday.com/politic/report/545072

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0

ความเห็น 59

  • ผมว่าการสอบมันเป็นการประเมินผลความรู้ความเข้าใจของนักเรียนนักศึกษาเหมือนกันนะครับว่า มีความเข้าใจมากน้อยเพียงใด ส่วนตัวยังไม่เห็นด้วยกับการยกเลิกการสอบ อาจจะใช้ได้กับประเทศอื่นแต่ประเทศไทยยังไม่ผ่าน
    04 ต.ค. 2561 เวลา 00.05 น.
  • AEIOU
    อยากให้ครูเป็นครูจริงๆซะที
    04 ต.ค. 2561 เวลา 00.43 น.
  • Wee
    จะทำอะไรก็ดูคุณภาพประชากรด้วย บ้านเรายังไม่พร้อมขนาดเค้า แล้วสิงคโปร์เนี่ยไปดูเลย เจริญแต่วัตถุ แต่คนดูไม่มีความสุขเลย
    04 ต.ค. 2561 เวลา 00.06 น.
  • AEED
    การเรียนไม่ใช่การแข่งขัน แต่สังคมสิงคโปร์แข่งขันสูงมาก ปี 59 หรือ 60 รายงานบอกว่าเป็นประเทศที่เครียดที่สุดในโลก
    04 ต.ค. 2561 เวลา 00.21 น.
  • B
    ก็จริงนะ เครียดมากก็ไม่ดี
    04 ต.ค. 2561 เวลา 00.11 น.
ดูทั้งหมด