'นักเขียน' ถ้าให้ผู้อ่านนึกถึงวรรณกรรมที่มีชื่อเสียงในไทย ก็มีหลายเรื่องพอสมควรที่ถูกตีพิมพ์แทบนับครั้งไม่ถ้วน ด้วยความการใช้ภาษาที่สามารถสร้างจินตนาการให้กับผู้อ่านดุจถูกดึงเข้าไปสู่โลกแห่งวรรณกรรมและเพลิดเพลินไปกับสถานการณ์ที่ผู้เขียนได้สื่อสารผ่านตัวละครในเรื่องนั้น ๆ
ปัจจุบัน 'วรรณกรรม' ก็มีให้ผู้อ่านได้เลือกสรรหลากหลายประเภท ทั้ง สารคดี บันเทิง เรื่องสั้น นวนิยาย ฯลฯ ก็ล้วนแต่ใช้เทคนิคที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับผู้ประพันธ์ในเรื่องนั้น แต่สิ่งที่เปรียบเป็นใจความสำคัญของนักเขียนทุกนั้นคือ การถ่ายทอดความรู้ ความคิด ความเชื่อ ทัศนคติ ความรู้สึกและความประทับใจไปสู่ผู้อ่าน
ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา เหล่าแฟนหนังสือต่างโศกเศร้ากับการจากไปกับเจ้าของนามปากกา 'ทมยันตี' หรือ 'คุณหญิงวิมล ศิริไพบูลย์' ในวัย 85 ปี สาเหตุการเสียชีวิต เบื้องต้นทางครอบครัวแจ้งว่านอนหลับไปเฉยๆ ถึงแม้จะจากไปแต่ก็ได้ทิ้งผลงานไว้มากมาย อาทิ ทวิภพ ล่า ใบไม้ที่ปลิดปลิว คู่กรรม ฯลฯ
เสาร์นี้ในอดีต : การจากไปของ 'ทมยันตี' ก็ทำให้หวนนึกถึงนักเขียนท่านอื่นที่จากไปเช่นกัน แต่ยังคงมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ ไม่ว่าเวลาจะผ่านพ้นไปเพียงใดก็จะถูกเป็นที่พูดถึงเสมอ LINE TODAY จึงได้รวบรวม 5 นักเขียนไทยที่จากไป แต่ผลงานยังคงอยู่ให้แฟนหนังสือได้คิดถึง
'หมู นินจา'
เริ่มด้วยวงการการ์ตูนไทยกับ สุชาติ พรหมรุ่งโรจน์ หรือที่รู้จักกันในนามปากกา 'หมู นินจา' เสียชีวิตในปี 2560 ด้วยโรคเบาหวานและมีอาการแทรกซ้อน ทำให้ดวงตามองไม่เห็น และมีภาวะปอดติดเชื้อร่วมด้วย
ร้อยทั้งร้อยก่อนที่จะมีสื่อสังคมออนไลน์จะต้องเคยเคยเห็นผลงานของ หมู นินจา อย่างแน่นอนด้วยลายเส้นของการ์ตูนที่คงเอกลักษณ์และสอดแทรกมุกตลกขบขัน เข้าไปอยู่ภายในผลงานหนังสือการ์ตูน 'ขายหัวเราะ' (เด็กยุคนี้อาจไม่รู้จัก แต่สมัยนั้นคือนัมเบอร์วันเลยนะ ฮ่า ๆ)
นอกจากขายหัวเราะ ยังมีผลงานอีกมากมาย อาทิ จอมยุทธ์นินจา สามก๊ก มหาสนุก กระบี่หยามยุทธภพ บ้านนี้ 4 โชะ ฯลฯ ซึ่งผลงานสุดท้ายที่ฝากไว้กับผู้อ่านคือ 'คำ หมู หมู' หนังสือที่รวบรวมความฮาและแฝงไปด้วยประสบการณ์การทำงานจนสู่ความสำเร็จในสไตล์ 'หมู นินจา'
อะไรๆ ก็สนุก ตอน เกิดอีกที…ขอดีบ้างเถอะ โดย หมู นินจา . #สำนักการ์ตูนไทยขายหัวเราะ
Posted by ขายหัวเราะ on Thursday, September 24, 2020
'พนมเทียน'
'พนมเทียน' นามปากกาที่หลายคนรู้จักอย่างแน่นอน 'ฉัตรชัย วิเศษสุวรรณภูมิ' อีกทั้งศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ ประจำ พ.ศ. 2540 เสียชีวิตในปี 2563 ด้วยโรคหัวใจ และเป็นผู้สร้างตำนานนวนิยายที่มีความยาวมากที่สุดของไทยอย่าง ‘เพชรพระอุมา’
ซึ่งเป็นนวนิยายแนวผจญภัยที่สามารถครองใจผู้อ่าน ทำให้ตีพิมพ์ได้ต่อเนื่องยาวนานถึง 25 ปี มีความยาวทั้งสิ้นรวม 2 ภาคมากถึง 48 เล่ม 1,749 ยก กลายเป็นตำนานนิยายที่ยังไม่มีผู้เขียนท่านใดสามารถทำได้
‘พญาอินทรีแห่งสวนอักษร’
‘รงค์’ นามปากกาสั้นแต่ผลงานโดนใจผู้อ่านกับ 'รงค์ วงษ์สวรรค์’ ศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ พ.ศ. 2538 เสียชีวิตเมื่อปี 2552 จากอาการเส้นเลือดในสมองแตก
ในยุคนั้นนับเป็นบุคคลที่คร่ำหวอดในวงนิตยสาร หนังสือพิมพ์ เรื่องสั้น นวนิยาย สารคดีและบทภาพยนตร์ และที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวนั้นคือการใช้ภาษาสวิงสวาย แต่กับเรียบเรียงถ้อยคำได้แตกต่างจากนักเขียนคนอื่นๆ จนได้เป็นเจ้าของฉายา ‘พญาอินทรีแห่งสวน
ซึ่งตั้งแต่ ปี 2502-2548 มีผลงานจนนับไม่ถ้วน แต่ก็ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากอาทิ ‘ป่าช้าความหลัง’ เป็นเรื่องสั้นที่ท่านได้ประพันธ์ มอบให้ลงไว้ในหนังสือสมานมิตร พ.ศ.2502 หนังสือประจำปีของโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย หรือ ดลใจภุมริน นวนิยายแถวอีโรติกร่วมสมัย ที่ได้เขียนเป็นครั้งแรก
‘ประภัสสร เสวิกุล’
‘ประภัสสร เสวิกุล’ ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ปี 2554 เสียชีวิตเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2558 ด้วยอาการหัวใจล้มเหลว และครั้งที่ยังมีชีวิตได้สร้างผลงานทั้งนวนิยาย เรื่องสั้น บทกวี สารคดี ไว้มากมาย ซึ่งส่วนใหญ่ล้วนให้ข้อคิดคติธรรมแก่ผู้อ่าน
ด้วยความนิยมจากผู้อ่าน ผลงานเขียนจึงไปสู่จอแก้ว อาทิ ขอหมอนใบนั้นที่เธอฝันยามหนุน,ลอดลายมังกร และเวลาในขวดแก้ว ฯลฯ นับเป็นความสำเร็จอีกหนึ่งสิ่งที่ได้ฐานะคนรู้จักเพิ่มมากขึ้น
ทั้งนี้ทุกงานเขียนของ ‘ประภัสสร เสวิกุล’ จะถูกสร้างมาตรฐานไว้ที่ว่า “การเขียนเราต้องเข้าใจถึงตัวละคร พร้อมสร้างตัวละครให้มีพื้นฐานอย่างควบคุมและความเชื่อ ถ้าตัวละครมีความแน่นตรงนี้พอเมื่อถึงจุดหนึ่งเขาแก้ปัญหาได้เอง เพราะฉะนั้นตัวละครทุกเรื่องของผมจะแก้ปัญหาด้วยตัวของเขาเอง ผู้เขียนไม่ได้แก้ปัญหาให้เขาหรอก”
‘วรรณกรรมเพื่ออาเซียน’ นวนิยายชุดครั้งสุดท้ายที่ ประภัสสร เสวิกุล ได้ทิ้งไว้ให้กับเหล่านักอ่าน โดยเรื่องราวของนวนิยายชุดนี้ กล่าวถึงความสัมพันธ์ของผู้คนหลายเชื้อชาติ ผ่านบนฉากหลังของประเทศในอาเซียนทั้งอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ถือเป็นเอกลักษณ์สำคัญของนวนิยาย นอกจากความสนุกแล้ว ยังหวังสร้างความเข้าใจตัวตนเพื่อนบ้านผ่านงานเขียนในครั้งนี้
ทว่าวรรณกรรมเพื่ออาเซียน แท้จริงแล้วมีทั้งหมด 10 เล่ม กับ 10 ประเทศ แต่เกิดเรื่องที่ไม่คาดฝัน ประภัสสรได้เสียชีวิตลง ซึ่งในขณะนั้นกำลังเขียนเล่มที่ 7 "หยาดน้ำฝนแห่งล้านช้าง หยดน้ำค้างแห่งล้านนา" เกี่ยวกับประเทศลาว ซึ่งยังไม่แล้วเสร็จถือเป็นผลงานเล่มสุดท้ายในชีวิตนักเขียน
จึงเหลือเพียง มี 6 เล่ม ได้แก่ จะฝันถึงเธอทุกคนที่มีแสงดาว (อินโดนีเซีย) รักในม่านฝน (เวียดนาม) มีเมฆบ้างเป็นบางวัน(ฟิลิปปินส์) กริชมะละกา (มาเลเซีย) ไชน่ามูน (สิงคโปร์) เห่ ชะเลรุ้ง (กัมพูชา)
‘ทุกงานเขียนของเหล่านักประพันธ์ ที่ได้หยิบยกมาเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่แฟนน้ำหมึกต่างคิดถึงฝีมืองานเขียน นอกจากการใช้ภาษาที่ถูกเรียบเรียงสละสลวยและความเพลิดเพลินแล้ว แต่ยังคงแฝงไปด้วยแง่คิด ทั้งการใช้ชีวิตหรือเปิดมุมมองใหม่ที่อาจหาไม่ได้จากโลกภายนอก’
อ้างอิง
ความเห็น 57
Anupap.
ห้องสมุดชุมชน-หอสมุดประจำเมือง
ปลูกฝังวัฒนธรรมรักการอ่าน เขียน
หนังสือที่ดีเยี่ยงนานาอารยประเทศ
ในยุคที่ทุกคนมีพื้นที่แสดงผลงาน🍃
18 ก.ย 2564 เวลา 02.14 น.
€¥£
คุณพนมเทียน เสียชีวิต ปี 63 จ๊ะ แก้ไขด้วย
17 ก.ย 2564 เวลา 21.17 น.
chettha ชกส 13
งานของรงค์วงค์สวรรค์ ผมชอบอ่านแล้วทุกตัวอักษรมันแล่นเข้าสู่จินตนาการ ตอนเป็นวัยรุ่นหาหนังสือมือสองเป็นพ้อกเกตบุคอ่าน 5-10 บาทท่าขึ้นเรือท่าพระจันท์
18 ก.ย 2564 เวลา 14.36 น.
ภาวนา - Pawana
อะไรคือ นิลุบล นวเรศ, คุณประภัสสร เสวิกุล คือชื่อจริง นามปากกาท่านก็ไม่มีชื่อนี้ ตรวจสอบด้วย
18 ก.ย 2564 เวลา 00.25 น.
ดุสิต สุทธิพิบูลย์
โดยเฉพาะ วิมล ศิริไพบูลย์ จะไม่มีวันลืมเลือน
19 ก.ย 2564 เวลา 03.08 น.
ดูทั้งหมด