ตามหลักสิทธิมนุษยชนแล้ว มนุษย์ทุกคนมีสิทธิที่เข้าถึงและรับรู้ข่าวสาร รวมไปถึงการแสดงความคิดเห็น แต่ในประเทศที่ไม่มีสิทธิเสรีภาพ รัฐบาลจะมีวิธีในการเซ็นเซอร์รวมไปถึงการเฝ้าระวังทั้งตรง ๆ และอ้อม ๆ ซึ่งเป็นแนวคิดที่จะพยายามทำให้สื่อมวลชนเงียบ และไม่ได้ทำตามหน้าที่ของตนเองอย่างเต็มที่ รายงานของคณะกรรมการคุ้มครองสื่อได้กล่าวถึงประเทศที่ควบคุมสื่ออย่างเคร่งครัดที่สุดในโลก มี 3 ประเทศที่สื่อถูกควบคุมหนักมากจะมีประเทศไหนกันบ้างตามไปดู…
เอริเทรีย (ประเทศทางตอนเหนือของแอฟริกาตะวันออก)
ผู้นำ : ประธานาธิบดีอีซาเอียส อาเฟเวร์กี ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ พ.ศ. 2536
รัฐบาลได้ปิดกั้นสื่อตั้งแต่ปี 2001 รัฐมีกฎหมายผูกขาดการออกอากาศของสื่อ นักข่าวก็ถูกรัฐแทรกแซง แหล่งข้อมูลที่เป็นทางเลือกอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น อินเทอร์เน็ต หรือช่องดาวเทียมก็ถูกกีดกั้น ผ่านการก่อกวนสัญญาณ และอินเทอร์เน็ตถูกควบคุมจากรัฐ โดยรัฐจะมีอินเทอร์เน็ตที่มีคุณภาพแย่มากให้พลเมืองใช้ แต่การใช้งานนั้น ก็บังคับให้ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตต้องมาใช้งานที่ร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่เท่านั้น เพื่อที่ผู้ใช้งานจะได้ถูกจับตามองและตรวจสอบได้ง่าย ในด้านของโซเชียลมีเดียทั้งหมดถูกปิดในวันที่ 15 พฤษภาคมปีที่ผ่านมาซึ่งเป็นการฉลองวันชาติของประเทศ และถึงแม้ว่าจะมีการเปิดชายแดนเพื่อติดต่อกับประเทศเอธิโอเปียตอนกลางปี พ.ศ. 2561 ซึ่งทำให้มีผู้สื่อข่าวต่างประเทศที่ได้รับสิทธิพิเศษในการเข้ามาในประเทศ เช่นสื่อชื่อดังอย่าง The Economist แต่การเข้าถึงก็ยังถูกควบคุมอย่างเคร่งครัด
เกาหลีเหนือ
ผู้นำ : คิม จอง อึน ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ พ.ศ. 2554
แม้ว่าในประเทศจะมีการพูดถึงสิทธิเสรีภาพของสื่อ แต่เนื้อหาทุกอย่างในสื่อของเกาหลีเหนือไม่ว่าจะเป็น หนังสือพิมพ์, สื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ และผู้แพร่กระจายเสียง นั้นจะมาจาก KCNA หน่วยข่าวกลางเกาหลีเท่านั้น โดยนำเสนอและให้ความสำคัญกับคำแถลงและกิจกรรมของผู้นำทางการเมืองเท่านั้น หากมีอะไรที่มาจากนอกประเทศจะถูกแบนจากทุกวิถีทาง การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตก็ถูกกีดกันจากผู้นำทางการเมือง แต่บางรัฐก็สามารถเข้าอินทราเน็ตที่มีการสอดส่องอย่างเข้มงวดได้ด้วย ซึ่งมีชื่อเรียกว่า Kwangmyong เป็นอินทราเน็ตระดับชาติของเกาหลีเหนือ
เติร์กเมนิสถาน (ตั้งอยู่ในเอเชียกลาง)
ผู้นำ : ประธานาธิบดี กูร์บันกูลือ เบร์ดือมูฮาเมดอว์ ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ พ.ศ. 2549
ผู้นำของประเทศนั้นสนุกที่ได้ควบคุมวงจรชีวิตทุกอย่างของประเทศ รวมไปถึงสื่อด้วย สื่อในประเทศถูกใช้เพื่อนำเสนอตัวเขาเอง การปกครองของเขานั้นลิดรอนอิสระภาพต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการคุมขังนักข่าว สื่อก็ถูกควบคุมจากรัฐอย่างเคร่งครัด ใครที่พยายามจะเข้าถึงเว็บไซต์ต่าง ๆ ก็สามารถถูกตั้งคำถามจากผู้ควบคุมได้ มีการห้ามสำนักพิมพ์อิสระทางออนไลน์, ห้ามใช้ VPN และเครื่องมืออื่น ๆ การเข้าถึงสื่อต่างประเทศก็ยากมาก ๆ ด้วยเช่นเดียวกัน
จะเห็นได้ว่าทุกที่นั้นเป็นการปกครองจากผู้นำที่มีอำนาจเบ็ดเสร็จ ซึ่งหากจะมีการควบคุมสื่อนั้นไม่ใช่เรื่องแปลก แต่หากประเทศที่กล่าวว่าตนเป็นประเทศที่มีประชาธิปไตย ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพ แต่มีการปิดกั้นสื่อไม่ว่าจะทางใด ก็ควรถูกตั้งคำถามไม่น้อย ว่าแท้จริงปกครองด้วยระบอบอะไร?
ขอบคุณข้อมูลจาก
ความเห็น 46
Bipo
BEST
กะแล้วต้องมีคอมเม้นต์แบบนี้ ถ้าประเทศนี้มันปิดจริง คงไม่มีใครด่าได้ยันสถาบันแบบทุกวันนี้หรอก
03 พ.ย. 2563 เวลา 00.58 น.
AAA
BEST
เราอย่าถึง 3 ประเทศนี้เลย ขอแค่จีนพอ ทำแล้วประเทศมั่นคง เจริญกว่า อเมริกา
03 พ.ย. 2563 เวลา 00.56 น.
BEST
ถุย
เสนอ2มุมด้วยนะ
03 พ.ย. 2563 เวลา 00.56 น.
Joe
อันดับที่สี่ล่ะ เรารู้นะ
03 พ.ย. 2563 เวลา 00.51 น.
Pat Pat
ลืมพูดถึงจีนนะ ชื่นชมเขามากไปจนลืมหรือ
03 พ.ย. 2563 เวลา 02.09 น.
ดูทั้งหมด