ผ่านมาหนึ่งสัปดาห์แล้ว สำหรับ 'โตเกียวโอลิมปิกเกมส์ 2020' ที่แม้จะเจอด่านหินตั้งแต่เริ่มอย่าง 'โควิด-19' ที่ทำให้งานเกือบล่ม แต่รัฐบาลญี่ปุ่นก็ไม่ท้อถอย ทำให้โอลิมปิกครั้งนี้กลายเป็นอีกหนึ่งมหกรรมสำคัญที่เต็มไปด้วยช่วงเวลาน่าจดจำมากมาย ทั้งช่วงเวลาน่าประทับใจ รวมถึงดรามาสุดเข้มข้น หนึ่งในนั้นคือ 'เตียงห้ามจู๋จี๋' !
โอลิมปิกปีนี้ เสนอตอน 'เตียงห้ามจู๋จี๋'!
หลังพิธีเปิดไม่นาน ก็มีข่าวลือสะพัดในโซเชียลมีเดียว่า 'เตียง' ในหอพักนักกีฬาโอลิมปิกจะทำขึ้นจากกระดาษแข็ง เพื่อป้องกันไม่ให้เหล่านักกีฬามีกิจกรรมทางเพศกัน ข้อความนี้มาจากทวิตเตอร์ของนักกีฬาวิ่งระยะไกลจากสหรัฐอเมริกา 'พอล เชลิโม' (Paul Chelimo) โดยหนุ่มพอลยังเสริมอีกว่า เตียงเหล่านี้สามารถ รับน้ำหนักมนุษย์ได้แค่คนเดียวเท่านั้น แต่เจ้าตัวได้ทดลองขึ้นไปนั่งกับเพื่อน 4 คน ก็พบว่าเตียงยังสามารถรับน้ำหนักได้ดีอยู่
Beds to be installed in Tokyo Olympic Village will be made of cardboard, this is aimed at avoiding intimacy among athletes
Beds will be able to withstand the weight of a single person to avoid situations beyond sports.
I see no problem for distance runners,even 4 of us can do😂 pic.twitter.com/J45wlxgtSo— Paul Chelimo🇺🇸🥈🥉 (@Paulchelimo) July 17, 2021
หลังทวิตดังกล่าว สื่อและโซเชียลมีเดียต่างก็พูดถึงประเด็นนี้อย่างเผ็ดร้อน หลายสื่อนำเรื่องเตียงกระดาษแข็งไปโยงกับกฎเกณฑ์ของโอลิมปิกปีนี้ที่เข้มงวดขึ้นเพราะโควิด-19 เป็นเหตุให้คณะกรรมการต้องสรรหาเตียงที่ไม่เหมาะกับการประกอบกิจกรรมอื่นใด นอกจากนอนพักผ่อนอย่างสงบ
ในขณะที่ชาวเน็ตทั่วโลกต่างออกมาวิจารณ์คุณสมบัติของ 'เตียงกระดาษแข็ง' ว่าสมควรแล้วหรือ ที่ให้นักกีฬาที่ต้องฝึกหนักในทุกวันนอนหลับบนเตียงกระดาษ พร้อมแสดงความเป็นห่วงเป็นใยว่าแล้วพวกเขาจะได้พักผ่อนอย่างเพียงพอจริงๆ หรือ!
เตียงกระดาษ แต่แข็งแกร่งเกินคาด!
หลังข่าวลือเรื่องเตียงห้ามจู๋จี๋ว่อนเน็ต ไรส์ แมคเคิลแนแกน (Rhys Mcclenaghan) นักยิมนาสติกทีมไอร์แลนด์ก็ทวีตคลิปรีวิวคุณสมบัติเตียงสั้นๆ ด้วยการขึ้นไปกระโดดบนเตียงจนตัวลอยสามสี่ที พร้อมกล่าวว่า "นั่นมันเฟกนิวส์คร้าบบบ"
Thanks for debunking the myth.😂You heard it first from @TeamIreland gymnast @McClenaghanRhys - the sustainable cardboard beds are sturdy! #Tokyo2020 https://t.co/lsXbQokGVE
— Olympics (@Olympics) July 19, 2021
ก่อนหน้านี้ บริษัท 'Airweave' ผู้ผลิตเตียงกระดาษแข็งให้หมู่บ้านนักกีฬา เปิดเผยกับ AFP ว่าเตียงสามารถรับน้ำหนักได้ถึง 200 กิโลกรัม และผ่านการทดสอบแรงกดทับมาแล้ว ความแข็งแกร่งของเตียงกระดาษแข็งนี้อาจเทียบเท่าเตียงไม้หรือเตียงเหล็กด้วยซ้ำ ที่สำคัญยังอาจก่อให้เกิดเสียงน้อยกว่าด้วย เมื่อถูกกระทบหรือดันแรงๆ
นอกจากนี้ ทาคาชิ คิตาจิมะ (Takashi Kitajima) ผู้ดูแลหมู่บ้านโอลิมปิก (Olympic Village) หรือโซนที่พักสำหรับนักกีฬาโอลิมปิก ยังเสริมอีกว่าเหตุผลที่เลือกใช้กระดาษแข็งมาผลิตเป็นเตียงก็เพื่อความยั่งยืน โดยเตียงพวกนี้จะถูกนำไปรีไซเคิลอีกครั้งเมื่อโอลิมปิกครั้งนี้จบลง
ดังนั้นข้อกล่าวหาที่บอกว่าเตียงกระดาษจะอ่อนยวบและรับน้ำหนักได้ไม่ดีเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้นักกีฬามีเซ็กส์ ก็เป็นอันสรุปว่า'มั่วนิ่ม'
โอลิมปิก = มหกรรมความหวิว!
เหตุผลที่เรื่องเตียงและกิจกรรมทางเพศถูกหยิบยกมาพูดถึง เพราะแม้โอลิมปิกจะเป็นมหกรรมกีฬา แต่ 'หมู่บ้านโอลิมปิก' นั้นเปรียบได้กับสถานที่เสรีทางเพศเลยทีเดียว อดีตนักกีฬาหลายๆ คนให้ความเห็นว่าในระหว่างโอลิมปิกเกมส์ เหล่านักกีฬามักมีร่างกายที่สมบูรณ์พร้อมถึงขีดสุด และเมื่อการแข่งขันจบลง ก็เป็นธรรมดาที่พวกเขาต้องปลดปล่อยตัวเองกันบ้าง
ในปี 2012 นักฟุตบอลชาวสหรัฐอเมริกา โฮป โซโล (Hope Solo) เคยให้สัมภาษณ์กับช่อง ESPN ว่า "มีเรื่องเซ็กส์เยอะมากที่นั่น ผมเห็นคนมีอะไรกันทั่วเลย ทั้งบนสนามหญ้า มุมตึก หรือตรงนั้นตรงนี้"
ตั้งแต่ปี 1988 คณะกรรมการโอลิมปิกสากลจึงมีนโยบายแจกถุงยางอนามัยไม่จำกัด ให้นักกีฬาทุกคนได้เฉลิมฉลองอย่างปลอดภัยที่สุด
ไม่ได้ห้าม แต่ขอความร่วมมือ
แต่เนื่องจาก 'โตเกียวโอลิมปิกเกมส์' ปีนี้ต่างออกไป คณะกรรมการโอลิมปิกสากลถึงกับออกคู่มือนักกีฬา ระบุให้ทุกคนที่เข้าร่วมหลีกเลี่ยง 'การถูกเนื้อต้องตัว' ให้มากที่สุด โดยเฉพาะการกอดและจับมือ รวมถึงการจับกลุ่มกันในที่ปิด
อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการจะมีการแจกถุงยางอนามัยกว่า 150,000 ชิ้นแก่นักกีฬาและทีมงานเหมือนเดิม แต่เพื่อเป็น 'ของที่ระลึก' เท่านั้น โดยมีจุดประสงค์ให้นักกีฬานำกลับประเทศ เพื่อรณรงค์ปัญหาโรคเอดส์และ HIV นอกจากนี้ เพื่อป้องกันปัญหาการปาร์ตี้มั่วสุม คณะจัดงานยังแบนการซื้อขายเหล้าบริเวณรอบหมู่บ้านนักกีฬาอย่างเด็ดขาด และหากยังเข้มงวดไม่พอ ยังมีนโยบายให้นักกีฬากลับบ้านทันที ภายใน 48 ชั่วโมงหลังจบการแข่ง เพราะถึงอยู่ต่อ กรุงโตเกียวก็แทบไม่มีอะไรให้ท่องเที่ยวในสถานการณ์โควิดแบบนี้ แต่ถ้ายังฝ่าฝืน คู่มือนักกีฬายังระบุไว้ว่า "ชาวญี่ปุ่นทุกคนจะจับจ้องการกระทำของคุณอย่างใกล้ชิด"
แฟนๆ กีฬาคงต้องติดตามกันต่อไป ว่าการ 'ขอความร่วมมือ' แบบนี้ จะส่งผลกระทบอย่างไรบ้าง ทั้งต่อภาพรวมของ 'โตเกียวโอลิมปิกเกมส์ 2020' และสถานการณ์โควิดของญี่ปุ่น เมื่อเกมจบลง
อ้างอิง
ความเห็น 46
Jaru 3125🎉
จะไปเอาเหรียญหรือเอาลูก?
29 ก.ค. 2564 เวลา 05.11 น.
Rojer
อั้นไว้ก่อนก็ได้ แข็งเสร็จ ค่อยฟ้าเหลือง ก็ยังทัน
28 ก.ค. 2564 เวลา 18.34 น.
รักษ์
ข่าวแบบนี้ถนัดของสื่อ! ไร้สาระ!
29 ก.ค. 2564 เวลา 13.09 น.
ฐิติพงศ์
ยืนสอยก็ได้
29 ก.ค. 2564 เวลา 07.29 น.
เขาห้าม ทุกการแข่งขัน ถึงสมาคมไม่ห้าม โค้ชก็ต้องห้าม เพราะ แข่งใช้พลังงานเยอะมา
29 ก.ค. 2564 เวลา 09.06 น.
ดูทั้งหมด