โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

“โรงเรียนของเราน่าอยู่” ยังคงเป็นความจริงอยู่หรือไม่?

LINE TODAY ORIGINAL

เผยแพร่ 26 ก.ย 2563 เวลา 19.26 น. • pp.p
Photo by <a href=
Avel Chuklanov | unsplash.com" data-width="1920" data-height="1080">
Photo by Avel Chuklanov | unsplash.com

ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมานี้มีการแชร์รูปอาหารกลางวันของนักเรียน ป.4 ที่โรงเรียนแห่งหนึ่งเป็นขนมจีน 1 จับกับลูกชิ้นเพียงลูกเดียว ซึ่งนี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ประเด็นอาหารกลางวันของนักเรียนถูกพูดถึง เพราะเมื่อย้อนกลับไปยังปี 2562 ก็มีประเด็นที่ทางโรงเรียนแห่งหนึ่งจัดเมนูอาหารกลางวันให้เด็กนักเรียนรับประทานขนมจีนกับน้ำปลาซึ่งนอกจากจะไม่ครบสารอาหารขาดคุณค่าทางโภชณาการแล้ว ยังอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพและพัฒนาการของเด็กนักเรียนอีกด้วย และเหมือนตอกย้ำความเจ็บปวดใจเข้าไปอีกเมื่อต้องย้อนอีกนิดไปถึงการคลิปเหตุการณ์ปฏิบัติต่อเด็กนักเรียนอย่างรุนแรงโดยบุคคลที่ขึ้นชื่อว่าเป็นครูอาจารย์ หรือแม้แต่บรรดาข่าวสารที่เกี่ยวกับเหตุน่าสลดใจของเด็กๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่เด็กๆ ควรมีความสุขอยู่ในโรงเรียน ถึงแม้ว่าจะมีการแก้ปัญหาเหล่านี้ด้วยเทคโนโลยีต่างๆ เช่นการเช็คชื่อเด็กนักเรียนแบบออนไลน์ หรือการส่งภาพเด็กนักเรียนให้ผู้ปกครองได้คอนติดตามจากแชทกลุ่ม แต่ปัญหาเหล่านี้ก็ยังคง้กิดขึ้นอยู่เรื่อยๆ ไม่จบสิ้น อาจเป็นได้ว่าสิ่งที่เรากำลังทำนั้นอาจเป็นหารรับมือกับปัญหาที่ปลายเหตุ?

ลองค้นหาสาเหตุที่แท้จริงของปัญหาเหล่านี้ที่มีเด็กๆ ตกเป็น “เหยื่อ”

เมื่อลองมองดูถึงปัญหาที่เกิดขึ้น อาจมีความเป็นไปได้ว่าปัญหาทั้งหมดอาจมีสาเหตุมาจากการละเลยการให้ความสำคัญ รายละเอียดปลีกย่อยที่มองเผินๆ แล้วไม่น่าจะมีอะไร แต่หากลองใส่ใจมองให้ลึกจะรู้ว่าโรงเรียนไม่ใช่เพียงสถานศึกษาที่ให้ความรู้หรือสอนหนังสือให้เด็กสอบผ่านจบๆไป แต่โรงเรียนคือโลกใบเล็กที่จะหล่อหลอมเด็กๆ ให้เติบโตเป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ควรมีคุณภาพ ทั้งเรื่องของการศึกษา, โภชนาการอาหารการกิน, สังคมภายในรั้วโรงเรียน โดยผู้ใหญ่ “ทุกคน” เป็นแบบอย่างที่นักเรียนตัวน้อยค่อยๆ ซึมซับพฤติกรรมหรือลอกเลียนแบบ ในที่นี่หมายถึงผู้ใหญ่ทุกคน ไม่ใช่เพียงครูบาอาจารย์เท่านั้น เพราะทุกการกระทำของคนที่ได้ชื่อว่าเป็น "ผู้ใหญ่" นั้นมีเด็กตัวน้อยคอยจ้องมองและพร้อมจะทำตามตลอดเวลา แม้กระทั่งการใช้คำพูด

หาทางแก้ไข เริ่มต้นที่ปรับความคิด

เมื่อตระหนักเช่นนี้แล้ว ลองหันมาเริ่มจากการสร้างกระบวนการความคิดตั้งต้นพื้นฐานตั้งแต่การวางรากฐานระบบการศึกษา การคัดสรรบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ ที่สำคัญคือมีความรักและภาคภูมิใจในสายอาชีพที่กำลังจะทำหน้าที่เป็นเบ้าหลอมผลิตคนรุ่นใหม่ที่เติบโตไปอย่างมีคุณภาพ เช่นนี้แล้วสถานศึกษาจะสามารถผลิตเยาวชนที่พร้อมจะพัฒนาสังคมให้น่าอยู่ยิ่งขึ้นในภายภาคหน้า ทั้งในทางวิชาการและจริยธรรมอันดี

ครอบครัวเองก็มีส่วนสำคัญ

ในส่วนของครอบครัวเองนั้น นอกจากการจับตามองอยู่ห่างๆ คอยติดตามความเคลื่อนไหวทางออนไลน์นั้น อีกวิธีที่ร่วมด้วยช่วยกันได้นั้นคือการให้เวลากับบุตรหลานให้มากขึ้น สังเกตพฤติกรรมต่างๆ ทั้งการใช้คำพูดของลูกน้อย ไถ่ถามเรื่องราวที่เกิดขึ้นในโรงเรียนเช่นวันนี้ตอนกลางวันกินอะไร หรือเล่นอะไรกับเพื่อนๆ บ้าง ให้เด็กๆ ได้เล่าสิ่งที่ลูกน้อยได้ประสบพบเจอ เป็นการเช็คความเรียบร้อยตลอดทั้งวันที่เกิดขึ้น อย่านิ่งนอนใจว่าค่าเทอมที่แพงหูฉี่จะไม่มีอะไรให้ต้องระวัง เพราะยังมีอีกมากมายที่เงินไม่สามารถซื้อได้ นอกจากนี้การชวนคุยยังเป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์อันใกล้ชิดในครอบครัวได้แนบแน่นยิ่งขึ้น บ้านที่อบอุ่นควรเป็นเหมือนคอมฟอร์ทโซนให้ทุกคนได้แชร์เรื่องราวทั้งดีและไม่ดีที่ได้เจอมา เพื่อดูแลซึ่งกันและกัน และเมื่อบ้านอบอุ่นก็จะสามารถเป็นจุดเริ่มต้นของคนดีมีคุณภาพได้ไม่แพ้โรงเรียนที่ดีเช่นกัน

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0

ความเห็น 36

  • แต่คุณครู ไม่ได้ใจดีทุกคนหรอก
    27 ก.ย 2563 เวลา 02.19 น.
  • ครอบครัวตัว"น"
    ...ส่วนน้อยทำหั้ยส่วนใหญ่ หมดกำลังจัยไปด้วย คนดีๆก็ยังมีอยู่มากในสังคม ช่วยกันดูแลครับ.
    27 ก.ย 2563 เวลา 05.32 น.
  • Gen.#19_0%.
    เหตุการณ์แบบนี้ต้องถาม รมต.ศึกษาทำอะไรอยู่หรือไม่ว่าง
    27 ก.ย 2563 เวลา 05.24 น.
  • winai
    ทำไมเวลามีเหตุลักษณะนี้ชอบขยายเหตุให้เป็นเรื่องระดับประเทศจนคนอาชีพนี้เสียหาย ควรจะแสดงความเห็นเป็นกรณีไป ทุกอาชีพมีคนดีและไม่ดี โรงเรียนก็ต้องมีมาตรการเพิ่มเช่นการมีวงจรปิดแบบซ่อนไม่ให้ใครเห็นเป็นกฎของการเปิดโรงเรียน หน่วยงานที่กำกับดูแลเปิดเซิร์ฟเวอร์ ให้ทุกโรงเรียนส่งมาบันทึกไว้ป้องกันช่วยเหลือกันในองค์กร
    27 ก.ย 2563 เวลา 05.10 น.
  • nirun rodkhlai
    ครู รร วัด สอบบรรจุ แต่ครู รร เอกชน พอหาไม่ได้ ก็เอาหมูหมา มาเป็นครู สร้างภาพ เรียกค่าเทอมแพงๆ
    27 ก.ย 2563 เวลา 02.37 น.
ดูทั้งหมด