ช่วยด้วย! ฉันโดนสังคมทำร้าย ฟังดูอาจจะตลก แต่ว่ามีอยู่จริง ๆ นะ ชื่อเรียกอย่างเป็นทางการคือ Social pain หรือความเจ็บปวดทางสังคม ถ้าอยากทำความเข้าใจว่ามันคืออะไร ทำร้ายเรายังไงได้บ้าง แก้ไขได้ไหม ชวนอ่านกันเลย!
"ความเจ็บปวดทางสังคม-Social pain"
ทางจิตวิทยาให้คำอธิบายไว้ว่า มันคือการที่คนรู้สึกเจ็บปวดทางความรู้สึกจากการถูกปฏิเสธหรือโดนทอดทิ้งจากสังคม ซึ่งมีผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างกัน ว่าง่าย ๆ ก็เช่น เหตุการณ์คนเดียวไม่เหงาเท่าสามคน อยู่ท่ามกลางเพื่อน ๆ ที่สนิทกัน แต่เรากลับรู้สึกโดดเดี่ยว รู้สึกไม่มีใครให้ความสำคัญ ถามว่าเราบาดเจ็บทางกายไหม คำตอบคือไม่ แต่ถามว่าใจเจ็บไหม ตอบเลยว่ามาก! เพราะมันทำให้เรารู้สึกขาดหาย เว้าแหว่ง และเหงา เชื่อไหมว่าในยุดโควิด-19 แบบทุกวันนี้ คนเกิดความเจ็บปวดจากสังคมมากขึ้นเป็นกอง จากการที่เจอกันน้อยลง บางคนก็แทบไม่ได้เจอกันเลย การติดต่อก็ขาดหายไป เธอยังจำเราได้หรือเปล่า เธอยังคิดถึงเราไหม เธอลืมกันไปหรือยัง ว้าวุ่นใจสุด ๆ
"เจ็บกว่ามีแผลอีก"
ความเจ็บปวดทางใจจากการถูกปฏิเสธจากสังคมที่เคยอยู่ (หรือกำลังอยู่) แม้จะไม่ก่อให้เกิดรอยแผลบนร่างกาย แต่จริง ๆ แล้วทำให้รู้สึกบาดเจ็บไม่แพ้กันเลย แผลทางกายยังเจ็บแล้วมีวันจางหายไป อาจจะทิ้งร่องรอยไว้บ้าง แต่เชื่อสิว่าแผลในใจเจ็บยาวนานยิ่งกว่า ฟีลอกหักอะ! เพราะการถูกลืม ถูกเมิน ถูกทอดทิ้ง สร้างปัญหาสุขภาพจิตให้เราได้เลยนะ บางคนได้รับผลกระทบมากเข้า ก็ยิ่งแย่ในระยะยาว อาจทำให้กลายเป็นคนกลัว ไม่กล้าเข้าสังคมไปเลยก็ได้ หากวันนี้รู้ตัวว่ากำลังถูกสังคมสร้างบาดแผลอยู่ ต้องรีบไหวตัวให้ทัน มันอาจมีทางแก้หรือลดหย่อนผ่อนคลายความเจ็บปวดลงได้นะ
"หลัก ๆ คือ เหงา"
สิ่งแรกที่จะเผชิญหลังจากโดนสังคมทำร้ายคือความรู้สึกเหงา ไม่มีใครเข้าใจ รู้สึกโดดเดี่ยวเดียวดายในโลกใบนี้ เพราะกลุ่มเพื่อน กลุ่มสังคมที่อยู่ ไม่ทำให้เรารู้สึกอบอุ่นหรือปลอดภัยได้อีกต่อไปแล้ว แต่ยังไม่ต้องตกใจไป ทุกอย่างจัดการได้ เชื่อสิ
"จัดการความคิดให้ได้"
วิธีแก้ไขปัญหานี้ หรือหนทางบรรเทาให้ความเจ็บปวดผ่อนคลายลงต้องเริ่มที่ตัวเอง บอกตัวเองว่านี่เป็นเรื่องธรรมดาที่จะเกิดขึ้นกับใครก็ได้ แต่วันนี้อาจโชคร้ายที่เกิดกับเราก่อนเท่านั้นเอง ความเศร้าเสียใจที่เกิดขึ้น เป็นเรื่องจริง เจ็บจริง แต่ก็สามารถหายไปได้เหมือนความรู้สึกอื่น ๆ การถูกโดดเดี่ยว ไม่ได้รับความสนใจจากคนอื่นจะทำให้เราได้กลับมามองตัวเองมากขึ้น มีอารมณ์อยากพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้น มีโมเมนต์อยากทำให้ตัวเองมีความสุขด้วยตัวเองมากกว่าเดิม แค่ปรับมุมมองแค่นั้นเอง หากต่อไปเราได้รับความเจ็บปวดใจจากสังคมรอบข้างอีกครั้ง เราก็อาจเจ็บน้อยลง รับมือกับมันได้เก่งขึ้น และแข็งแกร่งแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อนก็ได้
"ความเจ็บทำให้เราปรับตัว"
ความหวาดกลัวจากการถูกทิ้งจากสังคม ทำให้เราเกิดการปรับตัว เมื่อเรารู้ว่าอยู่ในสังคมแบบไหนแล้วไม่ค่อยสะดวกตัว ไม่สบายใจ เราจะหันกลับมาทบทวนตัวเองว่าจะไปต่อหรือพอแค่นี้กับที่เดิมที่กำลังอยู่ หากโอเคที่จะพัฒนาให้เข้ากับสังคมเดิม ก็อยู่ต่อไป แต่หากรู้สึกอึดอัด คับที่อยู่ได้ คับใจไม่อยู่ดีกว่า ก็แค่ถอยออกมา การแยกตัวออกมาไม่ใช่การพ่ายแพ้ แต่คือการปรับเปลี่ยนตัวเองแบบหนึ่ง ปรับเปลี่ยนเพื่อที่ที่ดีกว่าเท่านั้นเอง
"เยียวยาได้ด้วยอดีต"
ในวันที่รู้สึกบาดเจ็บจากสังคม การช่วยเติมเต็มความรู้สึกดีแบบชั่วคราวก็คือการย้อนดูรูปเก่า ๆ ทำกิจกรรมเดิม ๆ ที่เคยทำด้วยกัน อ่านข้อความที่ผ่านมาแล้วอีกครั้ง ฟังดูอาจจะหงอยเหงากว่าเดิม แต่ย่อมดีกว่าการออกไปเจอสังคมที่เคยทำร้ายเราซ้ำ ๆ อีกนะ
"เกิดคนเดียว ตายคนเดียว"
เป็นอีกวิธีคิดที่ค่อนข้างเด็ดเดี่ยว หากจะพูดในเชิงธรรม(ชาติ) มนุษย์เป็นสัตว์สังคมก็จริง แต่หลายอย่างก็ล้วนเกิดจากตัวเราและจบลงได้โดยตัวเราเพียงคนเดียวเช่นกัน เพราะฉะนั้นสังคมรอบตัวก็มีมุมดี ๆ มากมาย แต่ในบางเวลาหากต้องใช้ชีวิตคนเดียวบ้างก็ไม่ใช่เรื่องน่าอายอะไร หากสังคมจะสร้างความเจ็บปวดให้หัวใจเราบ่อย ๆ ก็คงไม่อยากจะเจ็บซ้ำ ๆ อีกใช่ไหม เพราะฉะนั้นจึงเรียนรู้ที่จะอยู่คนเดียวให้เต็มที่ อย่างที่ใคร ๆ ก็บอกกันว่า เราเกิดมาคนเดียว และก็ตายไปคนเดียว ชีวิตก็แค่นั้น
.
ขอบคุณข้อมูลจาก
.
ความเห็น 17
JZ
อ่านแล้วรุ้สึกเนื้อหามันยังไงไม่รุ้
21 ต.ค. 2564 เวลา 23.07 น.
Pathraporn Samransuk
แต่ก็มีคนถูกสังคมเพ่งเล็งจับจ้องเอาใจใส่จับผิดไม่มีความเป็นอิสระเหมือนเป็นนักโทษของสังคมไม่เคยโดดเดี่ยวมีคนเฝ้ามองตลอดเวลาไม่เคยมีอิสระส่วนตัวทั้งที่ไม่ใช่ดารามันก็รู้สึกเหงาโดดเดี่ยวเจ็บปวดไม่แพ้คนที่ถูกสังคมทอดทิ้งเหมือนกัน
22 ต.ค. 2564 เวลา 05.34 น.
su
มันเป็นวัฏจักรนะ
โลกสอนให้เราเรียนรู้
จักปรับตัว ให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของแต่ล่ะ
เหตุการณ์จังหวะของชีวิต
เวลาเราอยู่คนเดียวจะทำยังงัย
เราอยู่กับ คนรัก สัตว์เลี้ยงลูกหลานเพื่อน พ่อ แม่ ปู่ ย่าจะปรับตัวแบบไหน
เราอยู่ในสังคมควรทำสิ่งใด
เรียนรู้แล้วเอามาพัฒนา คิดวิเคราะห์ หาเหคุผล
เด็กอยู่กับคนแก่เขาจะจิตใจอ่อนโยน เพราะอะไร
เด็กคนคนแก่จะเกิดความสงสาร
คนแก่เห็นเด็ก จะเกิดเมตตาเอ็นดู
จิตใจมันซึมซับส่งต่อปลูกนิสัยให้เด็กเกิดความ
อ่อนโยน
22 ต.ค. 2564 เวลา 14.06 น.
จันทร์ปรียา
อยู่คนเดียวนานๆเข้ามันจะเกิดเป็นความเคยชิน(แข็งแกร่งขึ้นรึเปล่า) จนรู้สึกแฮปปี้แบบนี้ เราว่ามันก็ดีกว่าต้องเจอสังคมแบบนั้น อะไรที่มันเจอแล้วแย่กับตัวเอง ก็ออกมา พอจะรับใครเข้ามาใจไม่อยาก ไม่ใช่ว่ากลัวแล้วแต่คือเบื่อ
22 ต.ค. 2564 เวลา 18.54 น.
ภีศเดช
มีข้อมูลอ้างอิง หรือนึกๆเอาเอง
22 ต.ค. 2564 เวลา 14.38 น.
ดูทั้งหมด