โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

แม้จะเป็น LGBTQ+ ก็ไม่ควรถูกกดดันให้ ‘Come Out’ หากยังไม่พร้อม และโลกคงไม่แตกหรอก ถ้าเราไม่ได้รู้เพศของคนอื่นตลอดเวลา

Mirror Thailand

อัพเดต 06 มิ.ย. เวลา 08.50 น. • เผยแพร่ 06 มิ.ย. เวลา 08.50 น.
ภาพไฮไลต์

บางคนอาจมองว่ามัน so yesterday ไปไหม เพราะเขาไปไกลถึงไหนต่อไหนกันแล้ว?! ถ้าวันนี้จะยังวนมาพูดถึงประเด็นการ ‘Come Out’ หรือการเปิดเผยอัตลักษณ์ทางเพศของตนเอง เพราะประเทศไทยก็มีสมรสเท่าเทียมแล้ว การขับเคลื่อนประเด็นการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเพศ และความรุนแรงทางเพศที่น่าผลักดันไปเป็นข้อกฎหมายอื่นๆ ตามมา ก็กำลังถูกพูดถึงอย่างเข้มข้นอยู่ทุกวัน ดังนั้น เรื่อง come out ที่บางคนมองว่าดูจะธรรมด๊า ธรรมดา และคิดว่าคนจะเข้าใจได้ง่ายที่สุด (ถ้าเทียบกับประเด็นอื่นๆ ที่ยังต้องอาศัยการทำความเข้าใจมากกว่า) คงไม่น่าจะมีปัญหาอะไรให้น่าพูดถึงเท่าไหร่แล้วมั้ง แต่จริงๆ มันยังมีปัญหาอยู่ค่ะ เพราะ ณ เวลานี้ ไม่ใช่คนในคอมมูนิตี้ทุกคนจะมองว่ามันง่ายอย่างที่คนนอกคิดกันไปเอง

ทุกวันนี้เด็กๆ หรือวัยรุ่นค้นหาตัวเองเจอได้เร็วขึ้นก็จริง และมีหลายครอบครัวที่พร้อมซัพพอร์ตมากขึ้นแล้วก็ตาม แต่นั่นก็ตามมาด้วยความคิดของบางคนในสังคมที่อาจเผลอคิดว่า LGBTQ+ ‘ทุกคน’ น่าจะ come out ได้ง่ายๆ กันทั้งหมดแล้ว และบางคนก็คาดหวังที่จะเห็น LGBTQ+ ออกมา ‘พูด’ ว่าเป็นเพศอะไร มีนิยามแบบไหน เป็นก็บอกว่าเป็นได้เลย ไม่ต้องกลัว แน่นอนว่าการเชียร์ให้ทุกคนกล้าเป็นตัวเองนั้นเป็นเรื่องที่ดี เพราะแง่หนึ่งก็เป็นความพยายามที่จะบอกว่า ‘ทุกเพศ’ นั้นปกติธรรมดา ถึงอย่างนั้น บางครั้งพฤติกรรมของบางคนที่อยากรู้เรื่องเพศของคนอื่นมากเกินไปจนล้ำเส้นความเป็นส่วนตัวก็ท็อกซิก น่าสงสัยว่า คุณจะอยากรู้อัตลักษณ์ทางเพศของคนอื่นไปทำไม? หรือรู้แล้วจะได้อะไรขึ้นมา? บางคนถึงขนาดพูดเหน็บแนมว่า “ดูก็รู้ว่าเป็น พูดมาเถอะ” / “สาวขนาดนี้เป็นอยู่แล้วป้ะ” / “เป็นก็บอกว่าเป็นสิ ไม่ยอมรับตัวเองเหรอ?” / “เลิกแอ๊บ!” หรือบางคนก็คาดเดาหรือคิดไปเองว่าอีกฝ่ายเป็นเพศอะไร แล้วก็ถือวิสาสะไปเรียกเขาด้วยนิยามเพศที่ตัวเองเชื่อ ฯลฯ

จากเรื่องเพศที่มันควรจะเป็นเรื่องปกติธรรมดาทั่วไป กลายเป็น ‘ความกดดัน’ ที่ส่งไปยังคนในคอมมูนิตี้ว่าต้องชี้แจงถึงเพศของตัวเอง โดยเฉพาะคนที่ ‘ยังไม่พร้อม’ จะพูดด้วยเหตุปัจจัยหลายๆ อย่าง เมื่อมันอาจไม่ใช่เรื่อง ‘ง่าย’ สำหรับทุกคนที่เติบโตมาในสภาพแวดล้อมที่ต่างกัน มีอารมณ์ความรู้สึก ความอ่อนแอ ความเข้มแข็ง ที่ต่างกัน มีข้อจำกัดทางครอบครัว หรือทางสังคมที่ต่างกัน

ถามว่าเราจำเป็นต้อง come out ไหม? การ come out สำหรับบางคน ก็เหมือนการยกภูเขาออกจากอก เพราะการถูกยอมรับจากคนในครอบครัว หรือคนรอบข้าง ก็มีความหมายไม่น้อย ที่ทำให้บางคนรู้สึกเหมือนได้มีอิสระในการใช้ชีวิต ไม่ต้องหลบๆ ซ่อนๆ อีกต่อไป แต่ก็ต้องยอมรับว่า ไม่ใช่ทุกครอบครัว หรือทุกสังคมที่ยอมรับความหลากหลายทางเพศแล้ว เรายังเห็นครอบครัวที่ไม่อยากให้ลูกเป็น เรายังเห็นครอบครัวที่ใช้ความรุนแรงกับลูก เรายังเห็นคนที่กล้าแสดงความคิดเห็นต่อ LGBTQ+ ด้วยถ้อยคำเหยียดเพศ เรายังเห็นการเลือกปฏิบัติในที่ทำงาน และการเข้าถึงพื้นที่ต่างๆ ที่ยังมีอยู่อย่างจำกัด จึงอาจไม่แปลกมากนักที่จะมี LGBTQ+ ที่ยังไม่พร้อมจะ come out เพราะแต่ละคนมีวิธีการรับมือผลลัพธ์ที่ได้หลัง come out ที่แตกต่างกัน การกดดันใครให้บอกเพศของตัวเอง จึงไม่ใช่สิ่งที่สมควรทำ

และแม้การ come out อาจทำให้เราพบเพื่อนที่เข้าใจ มีครอบครัวพร้อมสนับสนุน หรือเจอคนแปลกหน้าที่ร่วมต่อสู้ในประเด็นเดียวกัน จนอาจเกิดเป็นคอมมูนิตี้ที่มีความเข้มแข็งขึ้นมาแบบที่ทำให้เรารู้สึกว่าไม่ได้อยู่อย่างโดดเดี่ยว แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าคงไม่ใช่ทุกคนที่เส้นทางจะราบรื่น หรือแม้แต่ในชุมชน LGBTQ+ เอง ก็ไม่ได้แปลว่าจะ ‘เข้าใจ’ คนในคอมมูนิตี้เดียวกันทั้งหมดอยู่ดี บางคนจึงมีความกลัวการไม่ถูกยอมรับอยู่บ้าง จึงเลือกที่จะยังไม่ come out

หรือกระทั่ง LGBTQ+ ที่ไม่ได้มีข้อจำกัดอะไร ครอบครัวพร้อมสนับสนุน เพียงแต่ไม่ได้รู้สึกจำเป็นว่าจะต้องมาบอกให้ทุกคนรับรู้ เขาก็ไม่ผิดอะไรเลย เพราะขณะที่ผู้ชายและผู้หญิง ไม่เคยต้องมาบอกว่าฉันเป็นเพศอะไรกันสักคน หรือต้องรอลุ้นว่าใครจะยอมรับการมีอยู่ของเพศของตัวเอง เราจึงอยากชวนคิดตามว่า เรากำลังเผลอกดดันให้คน come out กันอยู่หรือเปล่า? แล้วเรามีสิทธิ์ไปกดดันใครให้บอก ‘เพศ’ ตัวเองด้วยเหรอ? ฉะนั้นจะ come out หรือ ไม่ come out เป็นช้อยส์ที่เลือกได้ถ้าไม่ได้ทำให้ใครเดือดร้อน หรือเพศของเราไม่ได้เป็นประเด็นที่ทางการแพทย์ต้องรู้เพศกำเนิด หรือการไม่รู้เพศของเราจะไม่มีผลกระทบต่อความสัมพันธ์โรแมนติกกับอีกฝ่าย การไม่ come out ก็ไม่จำเป็นเสมอไป เพราะมันเป็นเรื่องส่วนตัว และคนอื่นก็ควรจะเคารพพื้นที่ส่วนตัวนี้

จะ come out เร็วตั้งแต่ยังวัยรุ่น หรือจะ come out ตอนเลยเลข 3 หรือยาวไปถึงวัยกลางคน วัยสูงอายุ ก็ไม่เห็นเป็นอะไร หรือจะใช้เวลาเรียนรู้ว่าตัวเองนิยามว่าเป็นอะไรนานแค่ไหนก็ได้ ไม่จำเป็นต้องรีบร้อน เพราะสุดท้าย ทั้งหมดนี้ควรเริ่มจากความ ‘สบายใจ’ ของเจ้าตัว ไม่ต้องกดดันตัวเอง นี่คือเพศของเรา นี่คือตัวตนของเรา ที่ไม่จำเป็นต้องพิสูจน์กับใคร หรือรอให้ใครมานิยาม

ที่ผ่านมา เราจะเห็นกรณีนักแสดงหรือศิลปินถูกกดดันให้ come out ผ่านคอมเมนต์ต่างๆ ทั้งคนไทยและคนต่างชาติ เรายกตัวอย่าง Kit Connor นักแสดงจากซีรีส์ Heartstopper ที่ถูกกดดันให้ come out ตอนอายุ 18 ปี จนเขาต้องออกมาพูดว่า “ผมเป็นไบครับ ยินดีด้วยสำหรับการบังคับให้เด็กอายุ 18 ออกมาเปิดเผยตัวตนได้ ผมคิดว่าคงมีบางคนที่ยังไม่เข้าใจประเด็นที่ซีรีส์อยากจะสื่อ บาย” เพราะ Heartstopper เป็นซีรีส์น้ำดีที่เล่าถึงการค่อยๆ เรียนรู้เรื่องเพศของตัวเอง แบบที่ไม่จำเป็นต้องเร่งรีบ แต่ให้ ‘เวลา’ กับตัวเอง พร้อมบอกเล่าการเติบโตของเด็กคนหนึ่งได้ดีที่สุดเรื่องหนึ่ง

เขายังบอกในตอนนั้นอีกว่า “พวกเรายังเด็กกันมาก และเริ่มที่จะครุ่นคิดเกี่ยวกับรสนิยมทางเพศของตัวเอง และบางทีมันก็ตามมากับการกดดันให้เรา come out แม้ว่าเราจะยังไม่พร้อม…ผมรู้สึกว่า ผมมั่นใจและสบายใจกับรสนิยมทางเพศของผมมาก แต่ผมแค่รู้สึกว่ามันไม่จำเป็น (ต้องเปิดเผย)” เขายังย้ำว่า “ผมไม่ได้รู้สึกว่าต้องให้นิยามตัวเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือต่อสาธารณะ”

Lewis Oakley ผู้เป็น bisexual advocate กล่าวกับ Newsweek ในกรณีของ Kit Conner ไว้ว่า การบังคับให้ใคร come out แบบนี้นับว่าเป็นอันตรายมาก โดยอธิบายว่า “หากคุณยังไม่พร้อมที่จะ come out บางทีอาจเป็นเพราะคุณยังไม่แน่ใจว่านิยามไหนเป็นคุณจริงๆ…และฉันคงไม่มีวันไปพูดกับใครหรอกค่ะ ‘คุณควร come out’ เพราะนั่นมันเป็นเรื่องส่วนตัว” และการเป็นบุคคลสาธารณะที่ทุกสายตาจับจ้อง ก็ “เป็นเรื่องสำคัญมากที่พวกเขาควรจะได้ come out แบบที่ถูกที่ถูกเวลาสำหรับพวกเขา เพราะถ้าเร่งรีบจนเกินไป บางครั้งอาจเกิดการใช้คำนิยามที่ผิด หรือเขาอาจจะยังไม่ชัวร์ว่าพร้อมแล้ว”

นอกจาก Kit แล้ว ยังมีกรณีของ Rebel Wilson นักแสดงสาวจาก Pitch Perfect ที่เคยออกมาเปิดใจถึงการถูกบังคับให้ come out หลังจากเขียนแคปชั่นบนอินสตาแกรมเพื่อยืนยันความสัมพันธ์กับแฟนสาวว่า “ฉันเคยคิดว่าฉันกำลังตามหาเจ้าชายดิสนีย์…แต่สิ่งที่ฉันต้องการจริงๆ ตลอดเวลาทั้งหมด อาจเป็นเจ้าหญิงดิสนีย์” กลายเป็นว่าเธอถูกนักข่าวกดดันให้ come out แบบชัดเจน แม้ว่านั่นจะเป็นเรื่องส่วนตัวที่เธอไม่ควรจะมาต้องมานั่งอธิบาย

“ในสถานการณ์ที่นักข่าวขู่ว่าจะเปิดเผยตัวตนของคุณ คุณก็คงต้องรีบร้อน บางคนจึงไม่ได้มีโอกาสที่จะบอก (คนรอบข้าง) ก่อนที่จะ come out ต่อสาธารณะชน” Rebel Wilson อธิบายว่า “การบอกคนอื่นมันมีหลายเลเวล คุณบอกครอบครัวที่ใกล้ชิดของคุณ และเพื่อนของคุณ แต่คงไม่ใช่บอก ‘ทุกคน’ ครอบครัวของเราทั้งสอง ไม่ใช่ทุกคนจะยอมรับสิ่งที่คุณกำลังคาดหวังให้เป็น และเราก็พยายามจะเคารพคนเหล่านั้นด้วยการบอกพวกเขาในแบบของเรา…มันเป็นช่วงเวลาไม่กี่วันที่ยากลำบาก โดยเฉพาะแฟนของฉัน ซึ่งไม่คุ้นเคยกับการต้องมาอยู่ในสายตาของสาธารณชน และต้องจัดการจับเรื่องอะไรแบบนี้”

หรือหากมองในบริบทคนไทย จะสังเกตว่า นักแสดงหรือไอดอลชายที่มีลักษณะหรือท่าทางที่ดู feminine มักจะถูกถามเสมอว่า เป็นใช่ป้ะ หรือเหน็บแนมว่า ทำไมไม่ยอมออกมา come out สักที ซึ่งไม่ว่าเขาจะเป็นหรือไม่เป็น ก็ไม่ใช่เรื่องของคุณ แต่ละคนมีข้อจำกัดและความพร้อมที่จะพูดหรือไม่พูดแตกต่างกัน เราไม่ควรตัดสิน

และแม้ทิศทางของการ come out ในวัยรุ่นจะเป็นไปในเชิงบวกมากขึ้นแล้ว ที่เด็กๆ กล้าที่จะพูดและกล้าที่จะแสดงออกมากขึ้น แต่อีกประเด็นที่น่าสนใจไม่แพ้กันคือ LGBTQ+ ในวัยผู้ใหญ่ ที่ส่วนมากยังเผชิญความไม่พร้อมอยู่ไม่น้อย โดย Laura Harris นักจิตวิทยาการปรึกษาแห่ง Thriveworks แชร์ว่า “ที่ทำให้ในวัยผู้ใหญ่การ come out ดูเป็นเรื่องที่ยาก อาจมีส่วนมาจาก ทัศนคติของ support system รอบข้างมีต่อ LGBTQ+, เรื่องลูก (กรณีที่มีลูกแล้ว), inclusivity ในที่ทำงาน (ที่บางคนอาจอยู่ในที่ที่ขาดสิ่งนี้ไป) และการถูกปลูกฝังทางศาสนา” ที่บางครั้งเมื่อเป็นคนที่ใช้ชีวิตมาประมาณหนึ่งแล้ว อาจมีความรู้สึกกดดันที่จะอธิบายเรื่องนี้ให้กับคนรอบข้างที่รู้จักกันมาก่อนแล้วฟัง หรือกังวลว่าคนรอบข้างที่อยู่กันมาแล้วสักระยะจะเปลี่ยนไป

ท้ายที่สุดแล้ว การ come out ที่ดีที่สุด คือการ come out ที่มาจากความตั้งใจของเจ้าตัว ไม่ใช่การถูกกดดันให้ come out และเมื่อ come out แล้ว เราเชื่อว่าจะมีคนที่รักคุณในแบบที่คุณเป็น มองเห็นคุณ อยู่ข้างคุณ สนับสนุนในความเป็นคุณ ขอให้คุณโอบกอดความเป็นตัวเองไว้ให้แน่น เพราะแม้จะมีวันยากๆ แวะเวียนเข้ามา แต่คุณจะยังเป็นคุณที่มี ‘คุณค่า’ ในตัวเองเสมอ เป็นตัวเองเข้าไว้ค่ะ มันดีที่สุดแล้ว!

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

ตามบทความก่อนใครได้ที่
- Website : Mirror Thailand.com

Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก Mirror Thailand

ก็แค่รัก คนที่อยากจะรัก 'Laurence Anyways' หนังที่ว่าด้วยความรักอันงดงาม แบบไม่ต้องมีคำยามว่าเพศไหน

2 วันที่แล้ว

เบลอผิวให้นวล เพิ่มความอมชมพูให้หน้าละมุน คุมมันอย่างเริ่ด ไม่มีหยาระหว่างวัน! แป้งฝุ่นโปร่งแสง ‘สีชมพู’ จากแบรนด์ ‘Kosas’ ที่เป็นมิตรกับผิวด้วยสารสกัดจากต้นไผ่

2 วันที่แล้ว

Big boy, can cry! ใครว่าชายแท้อ่อนแอไม่ได้ หนังที่ว่าด้วยความแตกสลายของเหล่าตัวละครชาย ที่แม้อยากร้องไห้แต่ทำไม่ได้ เพราะความคาดหวังว่าผู้ชายต้องแข็งแกร่งตลอดเวลา

19 มิ.ย. เวลา 10.04 น.

โรงเรียนในเกาหลีใต้เปิดให้การศึกษาสำหรับผู้หญิงวัย 40-80s ที่เคยพลาดโอกาสในการเรียน ไม่ว่าจะด้วยความยากจนหรือความเป็นหญิง

18 มิ.ย. เวลา 12.31 น.

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความไลฟ์สไตล์อื่น ๆ

SUGA วง BTS บริจาคเงิน 5 พันล้านวอนให้โรงพยาบาล เพื่อจัดตั้งศูนย์บำบัดเด็กออทิสติก

THE STANDARD

สยามเซ็นเตอร์ ร่วมกับ Mint Magazine เปิดงานนิทรรศการ MINT 5 Years of Freshness

สยามรัฐ

รวมมรดกดิจิทัล AI ที่น่าสนใจในอนาคตอาจช่วยวางแผนชีวิตหลังความตายได้

Thairath - ไทยรัฐออนไลน์

ปลัดศธ.ยัน กระทรวงเดินหน้าต่อไม่สะดุด แม้ยังไร้รมต.

MATICHON ONLINE

ใบมะกรูด ประโยชน์ดี ๆ ที่หลายคนไม่เคยรู้ พร้อมข้อควรระวัง

sanook.com

“ศาลเจ้าเนซุ” สัมผัสความงดงามแห่งธรรมชาติและประวัติศาสตร์

Manager Online

รู้จักปอดรั่วคืออะไร? ทำไม “ชิงชิง คริษฐา” ถึงต้องผ่าตัดด่วน!

คมชัดลึกออนไลน์

ต้นตะโกมีสรรพคุณอย่างไร และควรปลูกดูแลอย่างไรให้เจริญเติบโต?

Homeday

ข่าวและบทความยอดนิยม

ความคิดเห็นมากที่สุด

ดูเพิ่ม

ความเห็น 0

ยังไม่มีความเห็น