โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

เรื่องน่ารู้ รายชื่อนายกรัฐมนตรีไทย ตั้งแต่ปี 2475 – ปัจจุบัน

MThai.com

เผยแพร่ 06 มิ.ย. 2562 เวลา 04.01 น.
เรื่องน่ารู้ รายชื่อนายกรัฐมนตรีไทย ตั้งแต่ปี 2475 – ปัจจุบัน
เป็นที่จับตามองอย่างมากทุกครั้ง กับ การเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ของไทย ผู้ที่จะเข้ามาพัฒนาประเทศไทยให้เดินไปข้างหน้า และเพื่อเป็นความรู้ให้กับวัยรุ่น

เป็นที่จับตามองอย่างมากทุกครั้ง กับ การเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ของไทย ผู้ที่จะเข้ามาพัฒนาประเทศไทยให้เดินไปข้างหน้า และเพื่อเป็นความรู้ให้กับวัยรุ่น ทีนเอ็มไทยขอนำเรื่องน่ารู้ อย่าง รายชื่อนายกรัฐมนตรีไทย ตั้งแต่คนแรก – ปัจจุบันมาฝากกันว่ามีใครบ้าง และหน้าตาอย่างไร ดำรงตำแหน่งตั้งแต่เมื่อไร กี่สมัย

The Union Minister of External Affairs, Shri Pranab Mukherjee meeting with the Prime Minister of the Kingdom of Thailand, Mr. General Surayud Chulanont, in New Delhi on June 26, 2007.
The Union Minister of External Affairs, Shri Pranab Mukherjee meeting with the Prime Minister of the Kingdom of Thailand, Mr. General Surayud Chulanont, in New Delhi on June 26, 2007.

เรื่องน่ารู้ รายชื่อนายกรัฐมนตรีไทย

ตั้งแต่ปี 2475 – ปัจจุบัน

1. พระยามโนปกรณนิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์)

พระยามโนปกรณนิติธาดา
พระยามโนปกรณนิติธาดา

เป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศไทย ชื่อเดิมว่า “ก้อน หุตะสิงห์”

ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง

  • สมัยที่ 1 : 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2475 (คณะรัฐมนตรี คณะที่ 1)
  • สมัยที่ 2 : 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 – 1 เมษายน พ.ศ. 2476 (คณะรัฐมนตรี คณะที่ 2)
  • สมัยที่ 3 : 1 เมษายน พ.ศ. 2476 – 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 (คณะรัฐมนตรี คณะที่ 3)

2. พระยาพหลพลพยุหเสนา

พระยาพหลพลพยุหเสนา
พระยาพหลพลพยุหเสนา

เดิมชื่อว่า “พจน์ พหลโยธิน” เป็นนายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 2

ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง

พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) เคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 5 สมัย คือ

  • สมัยที่ 1 : 21 มิถุนายน พ.ศ. 2476 – 16 ธันวาคม พ.ศ. 2476
  • สมัยที่ 2 : 16 ธันวาคม พ.ศ. 2476 – 22 กันยายน พ.ศ. 2477
  • สมัยที่ 3 : 22 กันยายน พ.ศ. 2477 – 9 สิงหาคม พ.ศ. 2480
  • สมัยที่ 4 : 9 สิงหาคม พ.ศ. 2480 – 21 ธันวาคม พ.ศ. 2480
  • สมัยที่ 5 : 21 ธันวาคม พ.ศ. 2480 – 16 ธันวาคม พ.ศ. 2481

3. จอมพล แปลก พิบูลสงคราม

หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า “จอมพล ป.พิบูลสงคราม” เป็นนายกรัฐมนตรีไทยที่ดำรงตำแหน่งนานที่สุด คือ 15 ปี 24 วัน รวม 8 สมัย

ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง

  • 16 ธันวาคม พ.ศ. 2481 – 1 สิงหาคม พ.ศ. 2487
  • 8 เมษายน พ.ศ. 2491 – 16 กันยายน พ.ศ. 2500
จอมพล ป.พิบูลสงคราม
จอมพล ป.พิบูลสงคราม

4. ควง อภัยวงศ์

รองอำมาตย์เอก หลวงโกวิทอภัยวงศ์ หรือ พันตรี ควง อภัยวงศ์  อดีตนายกรัฐมนตรีไทย 4 สมัย ผู้ก่อตั้งและหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์คนแรก

*ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง *

  • 1 สิงหาคม 2487 – 31 สิงหาคม 2488
  • 31 มกราคม 2489 – 18 มีนาคม 2489
  • 9 พฤศจิกายน 2490 – 8 เมษายน 2491
ควง อภัยวงศ์
ควง อภัยวงศ์

5. ทวี บุณยเกตุ

รองอำมาตย์โททวี บุณยเกตุ  นายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 5 ดำรงตำแหน่งวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2488 – 17 กันยายน พ.ศ. 2488

ทวี บุณยเกตุ
ทวี บุณยเกตุ

6. หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช

หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช
หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช

ศาสตราจารย์ (พิเศษ) หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช อดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย 4 สมัย ผู้ร่วมก่อตั้งและอดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์

ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง

  • สมัยที่ 1 : คณะรัฐมนตรีคณะที่ 13 ของไทย : 17 กันยายน 2488 – 31 มกราคม 2489
  • สมัยที่ 2 : คณะรัฐมนตรีคณะที่ 35 ของไทย : 15 กุมภาพันธ์ 2518 – 13 มีนาคม 2518
  • สมัยที่ 3 : คณะรัฐมนตรีคณะที่ 37 ของไทย : 20 เมษายน 2519 – 25 กันยายน 2519
  • สมัยที่ 4 : คณะรัฐมนตรีคณะที่ 38 ของไทย : 25 กันยายน 2519 – 6 ตุลาคม 2519

7. ปรีดี พนมยงค์

ปรีดี พนมยงค์
ปรีดี พนมยงค์

ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ หรือ อำมาตย์ตรี หลวงประดิษฐ์มนูธรรม เป็นรัฐบุรุษอาวุโส ผู้นำคณะราษฎรสายพลเรือน ผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองของสยามจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 และเป็นผู้ให้กำเนิดรัฐธรรมนูญฉบับแรกของประเทศไทย และเป็นนายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 7 ดำรงตำแหน่ง 24 มีนาคม พ.ศ. 2489 – 23 สิงหาคม พ.ศ. 2489

8. ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์

พลตรี พลเรือตรี นาวาอากาศเอก ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ เดิมคือ หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ (ถวัลย์ ธารีสวัสดิ์) นายกรัฐมนตรีคนที่ 8 ของประเทศไทยดำรงตำแหน่งวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2489 – 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490

ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์
ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์

9. พจน์ สารสิน

นายกรัฐมนตรีคนที่ 9 ของประเทศไทย นายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรไทยที่เป็นพลเรือนในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช, อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ, อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ดำรงตำแหน่ง
21 กันยายน พ.ศ. 2500 – 31 ธันวาคม พ.ศ. 2500

พจน์ สารสิน
พจน์ สารสิน

10. ถนอม กิตติขจร

เป็น อดีตนายกรัฐมนตรีคนที่ 10 ของประเทศไทย ผู้บัญชาการทหารบก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ผู้ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะรัฐบาลในเหตุการณ์ 14 ตุลา ปี 2516 ซึ่งเป็นเหตุการณ์การประท้วงของ นิสิต นักศึกษา และประชาชน ท่านเคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีถึง 4 สมัย  (รวมในสมัยเป็นหัวหน้าคณะปฏิวัติตัวเองด้วยเป็นสมัยที่ 3) สมัยแรกเป็นนายกในระยะเวลาสั้น ๆ หลังการรัฐประหารของจอมพลสฤษดิ์ในปี พ.ศ. 2501 เป็นระยะเวลาถึง 10 ปี 6 เดือนเศษ และ จอมพลถนอม เป็น “จอมพลคนสุดท้าย”

ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง

  • 1 มกราคม พ.ศ. 2501 – 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501
  • 9 ธันวาคม พ.ศ. 2506 – 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514
  • 18 ธันวาคม พ.ศ. 2515 – 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516
ถนอม กิตติขจร
ถนอม กิตติขจร

11. สฤษดิ์ ธนะรัชต์

เป็นนายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 11 เป็นผู้ริเริ่มการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นผู้ก่อตั้งสำนักงบประมาณ เป็นผู้ก่อตั้งธนาคารทหารไทย และเป็นเจ้าของคำพูดที่ว่า “พบกันใหม่เมื่อชาติต้องการ” และ “ข้าพเจ้าขอรับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว” ดำรงตำแหน่งวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 – 8 ธันวาคม พ.ศ. 2506

สฤษดิ์ ธนะรัชต์
สฤษดิ์ ธนะรัชต์

12. สัญญา ธรรมศักดิ์

ศาสตราจารย์ สัญญา ธรรมศักดิ์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี 2 สมัย และได้รับพระราชทานแต่งตั้งเป็นประธานองคมนตรี

ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง

  • 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 – 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2517
  • 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2517 – 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518
สัญญา ธรรมศักดิ์
สัญญา ธรรมศักดิ์

13. หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช

เป็นนักปราชญ์ นักเขียน นักการเมือง และศิลปินแห่งชาติ นับเป็นปูชนียบุคคลท่านหนึ่งของไทย เป็นนายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 13 ดำรงตำแหน่ง 14 มีนาคม พ.ศ. 2518 – 12 มกราคม พ.ศ. 2519

หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช
หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช

14. ธานินทร์ กรัยวิเชียร

ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ธานินทร์ กรัยวิเชียร  อดีตองคมนตรี อดีตผู้ปฏิบัติหน้าที่ประธานองคมนตรี และอดีตนายกรัฐมนตรี คนที่ 14 ของไทย ดำรงตำแหน่ง 8 ตุลาคม พ.ศ. 2519 – 20 ตุลาคม พ.ศ. 2520

ธานินทร์ กรัยวิเชียร
ธานินทร์ กรัยวิเชียร

15. เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์

เจ้าของฉายา “อินทรีบางเขน” เป็นนายกรัฐมนตรีที่มาจากมติของคณะปฏิวัติในปี พ.ศ. 2521 ภายใต้การนำของพลเรือเอกสงัด ชลออยู่ได้ทำการรัฐประหารยึดอำนาจจากรัฐบาลนายธานินทร์ กรัยวิเชียร ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่บ้านเมืองวิกฤติ เกิดความแตกแยกแบ่งเป็นฝักฝ่าย พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ถือได้ว่าเป็นผู้ที่สามารถประสานประโยชน์และสร้างความสมานฉันท์ให้บ้านเมือง เนื่องจากท่านมีนโยบายที่ประนีประนอมทุกฝ่าย ดังวลีที่ท่านได้กล่าวว่า “เราไม่มีเวลาทะเลาะกันอีกแล้ว” ดำรงตำแหน่ง
11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520 – 3 มีนาคม พ.ศ. 2523

เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์
เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์

16. เปรม ติณสูลานนท์

เปรม ติณสูลานนท์
เปรม ติณสูลานนท์

อดีตประธานองคมนตรี อดีตรัฐบุรุษ อดีตที่ปรึกษาและกรรมการในคณะอำนวยการจัดงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก อดีตผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และนายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 16 ดำรงตำแหน่ง 3 สมัย ดำรงตำแหน่ง
3 มีนาคม 2523 – 4 สิงหาคม 2531 บุคลิกส่วนตัวของพลเอกเปรมเป็นคนพูดน้อย ในขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย จะให้สัมภาษณ์แก่สื่อมวลชนน้อยมาก จนถูกหนังสือพิมพ์ในขณะนั้นเรียกขานว่า เตมีย์ใบ้ และได้รับอีกฉายาหนึ่งว่า นักฆ่าแห่งลุ่มน้ำเจ้าพระยา จากเหตุการณ์กบฏเมษาฮาวายและกบฏ 9 กันยา

17. ชาติชาย ชุณหะวัณ

เป็นนายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 17 เคยดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีในหลายกระทรวงคือ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงอุตสาหกรรม และ กระทรวงกลาโหม ดำรงตำแหน่ง 4 สิงหาคม พ.ศ. 2531 – 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534

ชาติชาย ชุณหะวัณ
ชาติชาย ชุณหะวัณ

18. อานันท์ ปันยารชุน

นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 18 ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 2 สมัย หลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2534 และพฤษภาทมิฬ

ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง

  • 2 มีนาคม พ.ศ. 2534 – 22 มีนาคม พ.ศ. 2535
  • 10 มิถุนายน พ.ศ. 2535 – 23 กันยายน พ.ศ. 2535
อานันท์ ปันยารชุน
อานันท์ ปันยารชุน

19. สุจินดา คราประยูร

นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 19 ดำรงตำแหน่ง 7 เมษายน พ.ศ. 2535 – 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 และเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการทหารบก และ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด

สุจินดา คราประยูร
สุจินดา คราประยูร

20. ชวน หลีกภัย

ชวน หลีกภัย
ชวน หลีกภัย

เป็นประธานรัฐสภาไทยและประธานสภาผู้แทนราษฎรไทย อดีตนายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 20 ดำรงตำแหน่งสองสมัย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และเป็นประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์

ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง

  • 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 – 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544
  • 23 กันยายน พ.ศ. 2535 – 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2538

21. บรรหาร ศิลปอาชา

เป็นนักการเมืองชาวไทย ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 21 ประธานกรรมการมูลนิธิบรรหาร-แจ่มใส ศิลปอาชา ดำรงตำแหน่ง 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 – 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539

บรรหาร ศิลปอาชา
บรรหาร ศิลปอาชา

22. ชวลิต ยงใจยุทธ

นายกรัฐมนตรีของประเทศไทย คนที่ 22 อดีตรองนายกรัฐมนตรี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม อดีตผู้บัญชาการทหารบก และอดีตรักษาการผู้บัญชาการทหารสูงสุด และเป็นเจ้าของสมญา “ขงเบ้งแห่งกองทัพบก” ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 – 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540

ชวลิต ยงใจยุทธ
ชวลิต ยงใจยุทธ

23. ทักษิณ ชินวัตร

เป็นนักธุรกิจและนักการเมืองชาวไทย นายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 23 ดำรงตำแหน่ง 9 กุมภาพันธ์ 2544 – 19 กันยายน 2549

ทักษิณ ชินวัตร
ทักษิณ ชินวัตร

24. สุรยุทธ์ จุลานนท์

ผู้รักษาการประธานองคมนตรี องคมนตรี นายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 24 จากการแต่งตั้งโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ภายหลังเหตุการณ์รัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2549 – 29 มกราคม พ.ศ. 2551

สุรยุทธ์ จุลานนท์
สุรยุทธ์ จุลานนท์

25. สมัคร สุนทรเวช

เป็นนายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 25 ดำรงตำแหน่ง 29 มกราคม พ.ศ. 2551 – 9 กันยายน พ.ศ. 2551 เป็นนักการเมืองเก่าแก่ ที่มีเสียงพูดและลีลาการพูดเป็นเอกลักษณ์ เคยดำรงตำแหน่งสำคัญมากมาย ได้ฉายาจากสื่อมวลชนทั่วไปว่า “น้าหมัก” “ออหมัก” หรือ “ชมพู่” (มาจากลักษณะจมูกของสมัคร) “ชาวนา” (จากกรณีกลุ่มงูเห่า) เป็นต้น

สมัคร สุนทรเวช
สมัคร สุนทรเวช

26. สมชาย วงศ์สวัสดิ์

นายกรัฐมนตรีคนที่ 26 ของประเทศไทย ดำรงตำแหน่ง 18 กันยายน พ.ศ. 2551 – 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ในขณะที่สมชายดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีนั้นเขาไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ในทำเนียบรัฐบาล เพราะพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยยังคงยึดพื้นที่ไว้ตั้งแต่ในสมัยรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช โดยใช้สนามบินดอนเมืองเป็นที่ทำการแทน

สมชาย วงศ์สวัสดิ์
สมชาย วงศ์สวัสดิ์

27. อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

ร้อยตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หรือชื่อเกิดว่า มาร์ค อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ  นักการเมืองไทยผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 27 ดำรงตำแหน่งระหว่าง 17 ธันวาคม พ.ศ. 2551 – 5 สิงหาคม พ.ศ. 2554

อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

28. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

เป็นนายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 28 ดำรงตำแหน่ง 5 สิงหาคม พ.ศ. 2554 – 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557และนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศไทย ด้วยวัย 44 ปีถือเป็นนายกรัฐมนตรีไทยที่อายุน้อยที่สุดในรอบกว่า 60 ปี

ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

29. ประยุทธ์ จันทร์โอชา

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ชื่อเล่น ตู่ เป็นหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ คณะทหารผู้ยึดอำนาจการปกครองในรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 และล่าสุดได้เป็นนายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 29 เริ่มดำรงตำแหน่ง 24 สิงหาคม 2557 – ปัจจุบัน

ประยุทธ์ จันทร์โอชา
ประยุทธ์ จันทร์โอชา
0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0