ตามหลักสิทธิมนุษยชนแล้ว มนุษย์ทุกคนมีสิทธิที่เข้าถึงและรับรู้ข่าวสาร รวมไปถึงการแสดงความคิดเห็น แต่ในประเทศที่ไม่มีสิทธิเสรีภาพ รัฐบาลจะมีวิธีในการเซ็นเซอร์รวมไปถึงการเฝ้าระวังทั้งตรง ๆ และอ้อม ๆ ซึ่งเป็นแนวคิดที่จะพยายามทำให้สื่อมวลชนเงียบ และไม่ได้ทำตามหน้าที่ของตนเองอย่างเต็มที่ รายงานของคณะกรรมการคุ้มครองสื่อได้กล่าวถึงประเทศที่ควบคุมสื่ออย่างเคร่งครัดที่สุดในโลก มี 3 ประเทศที่สื่อถูกควบคุมหนักมากจะมีประเทศไหนกันบ้างตามไปดู…
เอริเทรีย (ประเทศทางตอนเหนือของแอฟริกาตะวันออก)
ผู้นำ : ประธานาธิบดีอีซาเอียส อาเฟเวร์กี ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ พ.ศ. 2536
รัฐบาลได้ปิดกั้นสื่อตั้งแต่ปี 2001 รัฐมีกฎหมายผูกขาดการออกอากาศของสื่อ นักข่าวก็ถูกรัฐแทรกแซง แหล่งข้อมูลที่เป็นทางเลือกอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น อินเทอร์เน็ต หรือช่องดาวเทียมก็ถูกกีดกั้น ผ่านการก่อกวนสัญญาณ และอินเทอร์เน็ตถูกควบคุมจากรัฐ โดยรัฐจะมีอินเทอร์เน็ตที่มีคุณภาพแย่มากให้พลเมืองใช้ แต่การใช้งานนั้น ก็บังคับให้ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตต้องมาใช้งานที่ร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่เท่านั้น เพื่อที่ผู้ใช้งานจะได้ถูกจับตามองและตรวจสอบได้ง่าย ในด้านของโซเชียลมีเดียทั้งหมดถูกปิดในวันที่ 15 พฤษภาคมปีที่ผ่านมาซึ่งเป็นการฉลองวันชาติของประเทศ และถึงแม้ว่าจะมีการเปิดชายแดนเพื่อติดต่อกับประเทศเอธิโอเปียตอนกลางปี พ.ศ. 2561 ซึ่งทำให้มีผู้สื่อข่าวต่างประเทศที่ได้รับสิทธิพิเศษในการเข้ามาในประเทศ เช่นสื่อชื่อดังอย่าง The Economist แต่การเข้าถึงก็ยังถูกควบคุมอย่างเคร่งครัด
เกาหลีเหนือ
ผู้นำ : คิม จอง อึน ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ พ.ศ. 2554
แม้ว่าในประเทศจะมีการพูดถึงสิทธิเสรีภาพของสื่อ แต่เนื้อหาทุกอย่างในสื่อของเกาหลีเหนือไม่ว่าจะเป็น หนังสือพิมพ์, สื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ และผู้แพร่กระจายเสียง นั้นจะมาจาก KCNA หน่วยข่าวกลางเกาหลีเท่านั้น โดยนำเสนอและให้ความสำคัญกับคำแถลงและกิจกรรมของผู้นำทางการเมืองเท่านั้น หากมีอะไรที่มาจากนอกประเทศจะถูกแบนจากทุกวิถีทาง การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตก็ถูกกีดกันจากผู้นำทางการเมือง แต่บางรัฐก็สามารถเข้าอินทราเน็ตที่มีการสอดส่องอย่างเข้มงวดได้ด้วย ซึ่งมีชื่อเรียกว่า Kwangmyong เป็นอินทราเน็ตระดับชาติของเกาหลีเหนือ
เติร์กเมนิสถาน (ตั้งอยู่ในเอเชียกลาง)
ผู้นำ : ประธานาธิบดี กูร์บันกูลือ เบร์ดือมูฮาเมดอว์ ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ พ.ศ. 2549
ผู้นำของประเทศนั้นสนุกที่ได้ควบคุมวงจรชีวิตทุกอย่างของประเทศ รวมไปถึงสื่อด้วย สื่อในประเทศถูกใช้เพื่อนำเสนอตัวเขาเอง การปกครองของเขานั้นลิดรอนอิสระภาพต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการคุมขังนักข่าว สื่อก็ถูกควบคุมจากรัฐอย่างเคร่งครัด ใครที่พยายามจะเข้าถึงเว็บไซต์ต่าง ๆ ก็สามารถถูกตั้งคำถามจากผู้ควบคุมได้ มีการห้ามสำนักพิมพ์อิสระทางออนไลน์, ห้ามใช้ VPN และเครื่องมืออื่น ๆ การเข้าถึงสื่อต่างประเทศก็ยากมาก ๆ ด้วยเช่นเดียวกัน
จะเห็นได้ว่าทุกที่นั้นเป็นการปกครองจากผู้นำที่มีอำนาจเบ็ดเสร็จ ซึ่งหากจะมีการควบคุมสื่อนั้นไม่ใช่เรื่องแปลก แต่หากประเทศที่กล่าวว่าตนเป็นประเทศที่มีประชาธิปไตย ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพ แต่มีการปิดกั้นสื่อไม่ว่าจะทางใด ก็ควรถูกตั้งคำถามไม่น้อย ว่าแท้จริงปกครองด้วยระบอบอะไร?
ขอบคุณข้อมูลจาก
ความเห็น 46
🍓💟🍓
อันดับต่อไปล่ะ
08 พ.ย. 2563 เวลา 23.50 น.
Moffie-Yu
อันดับที่ 4 กะลาแลนด์
06 พ.ย. 2563 เวลา 16.33 น.
Tam Chutchai
เคยออกไปต่างประเทศกันรึยัง ถ้าคนเคยไปจะรู้ ประเทศไทยน่าอยู่ที่สุดแล้ว อยู่ที่ไหนไม่สุขใจเท่าบ้านเรา เชื่อผมสิ
06 พ.ย. 2563 เวลา 15.18 น.
มันคือการแสดงออกของผู้ที่ไม่ยอมรับความจริงครับผม คนดีดีไปที่ไหนใครๆก็รักครับผม 🙏❤️🙏🇹🇭🙏
06 พ.ย. 2563 เวลา 06.35 น.
คุณชาย<6324>
อย่าดีใจไป ประเทศกะลังมาแรงแซงทุกชาติ
05 พ.ย. 2563 เวลา 23.27 น.
ดูทั้งหมด