โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

ครบ 61 ปีการก่อตั้งกลุ่ม ‘บีอาร์เอ็น’ หวังสันติกลับคืนชายแดนใต้ : เสาร์นี้ในอดีต

LINE TODAY ORIGINAL

เผยแพร่ 12 มี.ค. 2564 เวลา 17.00 น. • O.J.

เหตุการณ์ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ ถือเป็นฝันร้ายที่ฝังลึกในใจกับคนในพื้นที่ 3 จังหวัดของประเทศไทย มาอย่างยาวนาน ยิ่งเวลาผ่านไปความขัดแย้งและความรุนแรงก็ปรากฏให้เห็นตามสื่ออยู่บ่อยครั้ง โดยเหตุก่อเหตุในแต่ละครั้งส่วนหนึ่งเป็นฝีมือของกลุ่ม 'บีอาร์เอ็น'

เสาร์นี้ในอดีต : จะพาย้อนกลับไปครั้งจุดเริ่มต้นของ 'บีอาร์เอ็น' หรือรู้จักกันในนามกลุ่มขบวนการแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปัตตานี (Patani Malayu National Revolutionary Front) ก่อตั้งขึ้นเมื่อ 13 มี.ค. 2503 โดยมี นายอับดุลการิม ฮัสซัน เป็นประธาน จากนั้นกลุ่มนี้วางแผนก่อเหตุจับตัวผู้ว่าราชการจังหวัดในวันฮารีรายอ 18 มีนาคม พ.ศ. 2504 แต่เจ้าหน้าที่สืบทราบล่วงหน้าจึงถูกจับกุม โดยหะยีอามีน โต๊ะมีนา บุตรชายของหะยีสุหลง อับดุลกาเดร์ ถูกจับกุมด้วย และถูกจำคุกจนถึง พ.ศ. 2508 เมื่อพ้นโทษ หะยีอามีนจึงลี้ภัยไปอยู่มาเลเซียจนเสียชีวิต

และเมื่อย้อนไปตั้งแต่เดือน ม.ค. 2547 บีอาร์เอ็น ได้คร่าชีวิตพลเรือน ทหาร ตำรวจ ฯลฯ ไปแล้วเกือบ 7,000 คน ลักษณะการก่อเหตุมีจุดมุ่งหมายเพื่อแก้แค้น ท่ามกลางความพยายามหลายครั้งของทางการไทยในการเจรจากับกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ แต่ไม่สามารถยุติได้ 

การเจรจาของทั้งสอง 

ซึ่งเมื่อช่วงเดือน ก.พ. 2564 ที่ผ่านมาบีอาร์เอ็น รวมทั้งคณะเจรจาของทางการไทย ได้ร่วมพูดคุยถึงสันติสุขจังหวัดชายแดนใต้อีกครั้ง ซึ่งทิศทางการเจรจาในครั้งนี้เป็นไปในทิศทางที่ดี โดยข้อมูลบีบีซีไทยระบุว่า ในการเจรจาในครั้งนี้ประกอบด้วย พล.อ.วัลลภ รักเสนาะ หัวหน้าคณะไทย , ตัน สรี อับดุล ราฮิม บิน โมฮัมหมัด นูร์ ผู้อำนวยความสะดวกจากมาเลเซีย และ นายอนัส อับดุลเราะห์มาน เป็นหัวหน้าคณะบีอาร์เอ็น โดยเห็นพ้องการแก้ไขความขัดแย้งที่ปาตานีโดยวิธีการทางการเมืองหรือการบริหารการปกครองที่สอดคล้องกับความใฝฝันของประชาชนปาตานี,การลดปฏิบัติการทางการทหาร และการมีส่วนร่วมขององค์กรภาคประชาสังคม เอ็นจีโอ บุคคลสำคัญทางด้านศาสนา การเมือง และสังคมในการเจรจา อย่างสอดคล้องกับแนวคิดการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย (inclusivity) ที่ได้ตกลง

“การเจรจาครั้งนี้สามารถแก้ไขความขัดแย้งที่ได้อย่างมีศักดิ์ศรีต่อทุกฝ่าย โดยมีแนวทางแก้ไขอย่างสันติ ครอบคลุม ที่สามารถให้เกิดสันติภาพ”

หากลองย้อนลำดับเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยนั้น 

ครั้งแรกเกิดขึ้น ปี  2547

4 มกราคม – เกิดเหตุการณ์ปล้นปืนค่ายกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส ทำให้ทหารเสียชีวิต 4 นาย

12 มีนาคม – สมชาย นีละไพจิตร ทนายความสิทธิมนุษยชนอิสลาม ถูกลักพาตัว

เมษายน – กำลังความมั่นคงฆ่าผู้ต้องสงสัยก่อความไม่สงบ 32 คนที่มัสยิดกรือเซะ

ตุลาคม – มีการจับกุมผู้ชุมนุมต่อต้านรัฐบาลที่อำเภอตากใบ มีผู้เสียชีวิต 87 คนเนื่องจากขาดอากาศระหว่างการขนย้ายด้วยรถบรรทุกทหาร

ปี 2548

รัฐบาลตั้งคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ เพื่อส่งเสริมสันติภาพและความปรองดองโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ 

3 เมษายน – เกิดเหตุระเบิดหลายจุดในจังหวัดสงขลา ทำให้มีผู้เสียชีวิต 2 คน และได้รับบาดเจ็บ 66 คน

ปี 2549

31 สิงหาคม – เกิดระเบิดธนาคารพาณิชย์พร้อมกัน 22 แห่งในจังหวัดยะลา มีผู้เสียชีวิต 1 คน และได้รับบาดเจ็บ 24 คน พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบกในขณะนั้น ประกาศว่าจะเปิดเจรจา แต่สุดท้ายก็ยอมรับว่าไม่รู้ว่าจะเจรจากับใคร 

16 กันยายน – เกิดระเบิดรถจักรยานยนต์ที่จุดชนวนระยะไกลในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา มีผู้เสียชีวิต 4 คน และได้รับบาดเจ็บอีกกว่า 60 คน 

 31 ธันวาคม – เกิดระเบิด 9 จุดในกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีการเชื่อมโยงกับกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบในภาคใต้ มีผู้เสียชีวิต 3 คน และได้รับบาดเจ็บประมาณ 38 คน

ปี 2555 

31 มีนาคม – เหตุระเบิดที่ภาคใต้ของประเทศไทย พ.ศ. 2555 เกิดเหตุการณ์คาร์บอมบ์ 2 จุดที่ จังหวัดยะลา มีผู้เสียชีวิต 11 ราย บาดเจ็บ 127 ราย และคาร์บอมบ์ที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ในโรงแรมลีการเด้นส์ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 3 ราย และมีผู้ได้รับบาดเจ็บ 416 ราย

ปี 2556

มีการเจรจาสันติภาพในกรุงกัวลาลัมเปอร์ซึ่งเริ่มในเดือนกุมภาพันธ์ อย่างไรก็ดี ฝ่ายไทยไม่แน่ใจว่าตัวแทนของกลุ่ม BRN ที่มีเจรจาด้วยมีอำนาจสั่งการหรือไม่ และปฏิเสธข้อเรียกร้องของฝ่าย BRN การเจรจายุติในเดือนสิงหาคม

“ดังนั้นทุกวันที่ 13 มีนาคม ของทุกปี 3 จังหวัดชายแดนเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงในพื้นที่จึงกำชับความปลอดภัยเป็นพิเศษ เพื่อป้องกันกลุ่มผู้ไม่หวังดีพยายามเข้ามาสร้างสถานการณ์ให้เกิดความรุนแรง และหวังว่าความสงบสุขจะกลับมาดังเดิม”

อ้างอิง  BBC ไทย ,wikipedia

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0