เชื่อว่าเงินเก็บที่มีอยู่ในบัญชี ไม่ว่ามีมากหรือน้อยแค่ไหน แต่หากมีวิธีที่สามารถทำให้ตัวเลขในบัญชีเพิ่มขึ้นได้ก็คงเป็นเรื่องดีที่น่าลอง สัปดาห์นี้เรามาว่ากันเด้วยวิธีที่ทำให้เงินที่มีนั้นเพิ่มขึ้น เพื่อความชื่นใจเล็กๆ น้อยๆ ในช่วงยุคที่การเงินฝืดเคืองกันเช่นนี้ จะมีวิธีไหนที่พอจะทำกันได้บ้าง มาลองดู…
เริ่มกันที่ วิธีที่ 1 : “อย่า เป็น หนี้”
วงการลูกหนี้ เมื่อก้าวขาเข้าไปแล้วนอกจากจะออกยาก ยังรวยยากอีกต่างหาก เพราะเมื่อเริ่มเป็นหนี้ นั่นคือสัญญาณความฝืดเคืองของระบบหมุนเวียนทางการเงิน ซ้ำร้ายไปกว่านั้น การพยายามกระเสือกกระสนดิ้นรนออกจากสภาวะหนี้ด้วยวิธีที่ไม่ถูกต้อง อาจทำให้ยิ่งจมลงไปเรื่อยๆ และกลายเป็นการเพาะบ่มนิสัยที่ไม่ดีในการใช้เงิน ทางที่ดีเริ่มจาก ‘เปลี่ยนนิสัย’ ในการใช้เงินตั้งแต่วันนี้ เพื่อหยุดตัวเลขของ ‘หนี้’ ยกตัวอย่างเช่นการจ่ายหนี้บัตรเครดิตแบบเต็มจำนวนแทนที่จะจ่ายแบบขั้นต่ำ หรือการจัดระเบียบการเงินใหม่ แบ่งเงินที่ได้มาเพื่อมาชำระหนี้ แทนการที่จะไปยืมคนนั้นมาโปะหนี้ของคนนี้ เพราะมันเป็นแค่การเปลี่ยนเจ้าหนี้ แต่ไม่ได้ทำให้หนี้ก้อนนั้นหมดไป จงจำไว้ว่า ‘อย่าริเริ่มที่จะลงทุนใหม่จนกว่าจะปลดหนี้ก้อนเก่าให้ได้เสียก่อน’
วิธีที่ 2 : จงมี ‘วินัย’ ในการลงทุน
เป็นเรื่องธรรมดาที่คนส่วนใหญ่จะมีความสนใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่งในระยะสั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการออกกำลังกายที่เดี๋ยวทำเดี๋ยวเลิก หรือการสนในเทรนด์ที่หวือหวาแต่ทว่าอยู่ได้ไม่นาน แต่เรื่องของการลงทุนจะทำนิสัยแบบนี้ไม่ได้เป็นอันขาด เพราะอาจทำให้ผลตอบแทนวูบวาบเช่นกัน ทางที่ดีหากคิดจะลงทุนจงมุ่งมั่นตั้งใจ มีวินัย ทั้งเรื่องของการศึกษาข้อมูลและการติดตามข่าวสาร เพื่อผลการตอบแทนที่ดีกว่าการเอาเงินไปลงเอาไว้เฉยๆ
วิธีที่ 3 : รู้จักการ ‘กระจายความเสี่ยง’
อย่าเอาเงินทั้งหมดที่มีไปรวมลงทุนไว้ในที่เดียว การลงทุนหลายๆ อย่างในเวลาเดียวกันไม่ถือเป็นการนอกใจ สามารถทำได้ไม่ใช่เรื่องผิด อยากแนะนำให้นักลงทุนมือใหม่นำเงินของคุณไปใช้กับตัวเลือกที่หลากหลาย เช่น อสังหาริมทรัพย์ พันธบัตร หุ้น และสินค้าโภคภัณฑ์ เป็นหนึ่งในวิธีที่ดีที่สุดในการเพิ่มเงินของคุณโดยลดโอกาสในการขาดทุนทั้งหมด หากการลงทุนเกิดการพลาดพลั้งก็ยังมีส่วนอื่นๆ ที่คอยรองรับเหมือนเบาะที่ไม่ว่าจะหนาหรือบางก็ยังดีกว่าไม่มีอะไรมารองรับเลย
วิธีที่ 4 : ปรับเปลี่ยนการลงทุนตามความสนใจที่เปลี่ยนไป
อายุที่มากขึ้น ความสนใจย่อมมีความเปลี่ยนแปลงไป เปรียบเทียบได้กับหนุ่มหล่อวัยรุ่นที่ให้ความสนใจกับเรื่องที่แตกต่างกับหนุ่มใหญ่วัยกลางคน ฉันใดฉันนั้น ความต้องการทางการเงินของคุณย่อมเปลี่ยนไปตามอายุ และการลงทุนก็เช่นกัน ในช่วงอายุน้อยๆ คุณอาจคิดที่จะนำเงินไปลงทุนในการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูงแต่ให้ผลตอบแทนสูง แต่เมื่อคุณโตขึ้นจะเริ่มมองหาความมั่นคง หรือการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำแต่ได้ผลตอบแทนที่สม่ำเสมอ
วิธีที่ 5 : เริ่มไวก็ได้เปรียบ
ไม่มีต้นไม้ต้นไหนที่ดอาเมล็ดลงดินแล้วจะโตไวให้ดอกให้ผลในวันเดียว.. การลงทุนก็เช่นกัน ทุกอย่างต้องใช้เวลา ยิ่งคุณเริ่มลงทุนเร็วเท่าไร การลงทุนก็ยิ่งมีเวลามากขึ้นในการฟักไข่ และโอกาสของการเติบโตของเงินก็จะยิ่งดีขึ้นเท่านั้น สมมติว่าเป้าหมายทางการเงินของคุณคือการเกษียณอายุก่อนกำหนดเมื่ออายุ 55 ปีการเริ่มวางแผนเพื่อเกษียณตั้งแต่เริ่มชีวิตการทำงานใหม่ๆ จะยิ่งมีเวลามากเพื่อวางแผนเดินตามความฝัน เริ่มไวก็เหนื่อยน้อยกว่าและเครียดน้อยกว่าเริ่มตอนใกล้หมดวัยทำงาน
วิธีที่ 6 : จงลงทุนอย่างชาญฉลาด
อย่าหลงใหลในเสน่ห์โฆษณาการลงทุนที่หวือหวาน่าสนใจ จงทำความเข้าใจให้ละเอียดถี่ถ้วนก่อนตัดสินใจที่จะลงเงิน..
ลงทุนในสิ่งที่คุณสนใจ, อย่าเอาเงินไปลงทุนที่ไม่เข้าใจ และอย่าลงทุนในสิ่งเกินตัว เช่นหากคุณถนัดขายของก็ขาย หรือหากคุณรับไม่ได้กับการปล่อยให้ความผันผวนของตลาดหุ้นกินเงินออมที่ได้มาอย่างยากลำบาก ก็อย่าริเล่นหุ้น ในทางกลับกันถ้าคุณกล้าบ้าบิ่นพอที่จะรับความเสี่ยงได้มาก รายได้ต่อเดือนคุณมากมายมหาศาลจนสามารถจะเสี่ยงได้แบบไม่ต้องกลัว เดี๋ยวก็หาเงินมาได้อีก จะลองดูก็ไม่เสียหาย
วิธีที่ 7 : สิ่งที่ต้องมีคือ ‘ความกล้า’
ไม่มีใครทำอะไรเป็นตั้งแต่เกิด และไม่มีใครที่ทำอะไรเองได้โดยไม่เคลเริ่มลงมือทำ ดังนั้น หากคุณต้องการที่จะสร้างรายได้ให้เติบโตและร่ำรวย คุณก็ต้องทิ้งความกลัวไว้เสียก่อนแล้วเริ่มลงมือ การไม่เสี่ยงอะไรเลย ก็เหมือนเอาทุกอย่างไปเสี่ยงเหมือนกัน หลายคนคิดว่าการออมเงินก็เหมือนการลงทุน แต่แท้จริงแล้วมันไม่ใช่! หากคุณเลือกที่จะกอดเงินก็บของคุณเอาไว้ อย่าลืมว่าค่าของเงินนั้นลดลงไปเรื่อยๆ ปีนี้ข้าวจานหนึ่งอาจราคา 50บาท แต่อีกอีกสิบปีข้างหน้า 50บาทอาจไม่พอให้ท้องอิ่ม เห็นหรือยังว่าการอยู่เฉยๆ โดยไม่ลงทุนอะไรเลยใช่ว่าจะปลอดภัย แน่ๆ ว่าไม่ได้ผลกำไรอะไรเข้ามา และเล็งเห็นได้ชัดเจนเลยว่ามูลค่าของเงินนั้นก็ยังลดลงอีกด้วย .. เห็นหรือยังว่าการลงทุนนั้นสำคัญเพียงไหน
วิธีที่ 8 : ปรึกษา ‘ผู้เชี่ยวชาญ’
หากคุณรู้ตัวว่าไม่มีความถนัดในการลงทุน หรือไม่รู้จะตั้งเป้าหมายทางการเงินอย่างไร ขอแนะนำว่าคุณควรขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญทางการเงิน หรือปรึกษากับคนใกล้ชิดที่เก่งเรื่องตัวเลขและสามารถเป็นตัวอย่างของการทำเงินด้วยการลงทุนที่ชาญฉลาด เพื่อให้ที่ปรึกษาทางการเงินช่วยตรวจสอบการเงินของคุณ และแนะนำการลงทุนที่เหมาะสมกับความต้องการและและตอบโจทย์ตามความสนใจของคุณ เขาอาจช่วยให้คุณเข้าใจกลยุทธ์การลงทุนในการลงทุนได้ดียิ่งขึ้น
อย่างไรก็ตาม คำถามที่น่าสนใจหนึ่งที่อยากทิ้งท้ายไว้ให้คิดกันก็คือ ‘เมื่อไหร่ที่เราจะรู้สึกว่าเรา รวย แล้วจริงๆ?’ หลายคนอาคิดตัดสินกันที่การมีเสื้อผ้าดีๆ มีของใช้แบรนด์เนม ได้กินอาหารหรูๆ ใช้ชีวิตอยู่ในคฤหาสน์ มีรถยุโรปราคาแพงขับ หรือแท้ที่จริงแล้วความร่ำรวยที่แท้จริง คือการสะสมเงินให้เพียงพอเพื่ออนาคตทางการเงินที่มั่นคง ส่วนเรื่องอื่นๆ นั้นเป็นเพียงเรื่องรองลงมา ลงค้นหาตัวตนและความต้องการที่แท้จริง แล้วตั้งเป้าหมายและเริ่มลงมือทำ
ข้อมูลจาก policybazaar.com
ความเห็น 19
ROJCNX
เกาะผู้รู้ไว้ ดีกว่านั่งมึนๆดูโซเชียลไปวันๆอยู่คนเดียว
01 ต.ค. 2565 เวลา 07.15 น.
Niyomsukh Heiter
ไมมีได้เก็บ?
01 พ.ค. 2565 เวลา 18.42 น.
No Frills
ซื้อกองทุนดีที่สุดเหมาะกับการเริ่มต้น
14 ก.ย 2564 เวลา 02.31 น.
Zafare
ปัญหาไม่ใช่การขยาย
แต่คือไม่มีให้ขยาย
01 ก.ย 2564 เวลา 06.32 น.
คิดไม่ออก บอกปวีณา
น่าสนใจ ลงทุนในอะไร กำไร คืนทุน เร็ว น่ะ
13 ส.ค. 2564 เวลา 22.03 น.
ดูทั้งหมด