โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

“โรงเรียนกดเกรด-ปล่อยเกรด” เกลื่อนประเทศ! แล้วคุณภาพ “การศึกษาไทย” อยู่ที่ไหน?

Another View

เผยแพร่ 27 พ.ย. 2561 เวลา 01.00 น.

“โรงเรียนกดเกรด-ปล่อยเกรดเกลื่อนประเทศ! แล้วคุณภาพการศึกษาไทยอยู่ที่ไหน? 

หลังจากระบบ Entrance ในรูปแบบดั้งเดิมที่เป็นการสอบเข้ามหาวิทยาลัย โดยอาศัยการสอบวัดความรู้จากข้อสอบกลางปีละสองครั้ง ได้ยกเลิกไปในการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อ ปีการศึกษา 2549  เกรดเฉลี่ยหรือคะแนน GPA (Grade Point Average) ของแต่ละโรงเรียนก็ได้ก้าวเข้ามามีบทบาทเป็นตัวแปรตัวหนึ่งที่ส่งผลให้เด็กไทย ได้ – ไม่ได้ เรียนในคณะและมหาวิทยาลัยที่ตนเองตั้งใจไว้ตลอดมาจนปัจจุบัน 

และแม้ว่าจะมีการเปลี่ยนรูปแบบเป็น TCAS - Thai University Central Admission System อย่างในปัจจุบันแล้ว GPA หรือ “เกรด” ก็ยังคงตามมามีบทบาทสำคัญในระบบการคัดเลือก ไม่มากก็น้อย นั่นทำให้ในช่วงที่ผ่านมา ระบบการประเมินผลของแต่ละโรงเรียนนั้นเริ่มเกิด (หรือตั้งใจให้เกิด ?) ปัญหา ในลักษณะ ปล่อยเกรด – กดเกรด แม้จะไม่เป็นที่ฮือฮา เพราะถูกปิดปากเงียบไปด้วยคำว่า “ได้ประโยชน์กันทุกคน” นักเรียนได้เข้าศึกษาต่อในคณะและสถาบันที่ตั้งใจโรงเรียนได้มีขื่อว่าส่งนักเรียนให้ถึงฝั่งมากมายแต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าปัญหาก็คือปัญหา” 

แม้จะไม่ส่งผลระยะสั้น แต่ก็ส่งผลถึง “คุณภาพของประชากร” ในระยะยาวแน่นอน ?

 ส่องปัญหามาตรฐานการศึกษาไทยอยู่อันดับไหนในโลก 

เราทุกคนคงเคยได้ยินข่าวคราว (หรือเคยได้สัมผัส) ถึงคุณภาพการศึกษาไทย ว่าอยู่ในระดับที่ไม่พัฒนาสักเท่าไหร่ ซ้ำร้ายยังอาจจะแย่ลงด้วยมาตรฐานการจัดการศึกษาที่ต่ำลง ข่าวคราวของครูผู้สอนที่ออกมามีประเด็นด้านจรรยาบรรณ ศีลธรรมและคุณภาพกันอย่างต่อเนื่อง ชวนให้สงสัยกันเหลือเกินว่า มาตรฐานการศึกษาไทยในเวลานี้มันอยู่ตรงไหนของโลกกันไปแล้ว ?

ล่าสุดโครงการประเมินผลนักเรียนนานาชาติ (Programme for International Student Assessment – PISA) ขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organisation for Economic Co-operation and Development - OECD) ซึ่งเป็นการวัดผลคุณภาพการศึกษาจากนักเรียนในประเทศที่เข้าร่วมโครงการทั่วโลกกว่า 70 ประเทศ โดยมุ่งเน้นไปที่การประเมินศักยภาพและความสามารถพื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตในโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลานี้ ทุกๆ 3 ปี ได้ชี้ชัดออกมาว่า เด็กไทยสอบตกทุกด้านและซ้ำร้ายผลการประเมินนั้นยังน้อยกว่าผลการประเมินรอบที่ผ่านมาเสียด้วยซ้ำโดยทักษะการอ่านลดลง32 คะแนนวิทยาศาสตร์ลดลง23 คะแนนคณิตศาสตร์ลดลง11 คะแนนถูกประเทศเพื่อนบ้านทิ้งห่างไปหลายขุมทั้งเวียดนามและสิงคโปร์

ปล่อยเกรด – กดเกรดคือทางออกหรือปัญหาของเด็กไทย

เมื่อผลออกมาเป็นเช่นนี้ จึงสะท้อนออกมาว่า ระบบการศึกษาของไทยนั้นมีปัญหาใช่ไหรือไม่ ? คำตอบก็คือใช่ แต่ถามว่า ปัญหานี้เกิดขึ้นจากการปล่อยเกรดของโรงเรียนต่างๆ เพื่อมุ่งหวังให้เกิดโอกาสสอบเข้ามหาวิทยาลัยของนักเรียน นำมาซึ่งชื่อเสียงของโรงเรียนทั้งหมด ใช่หรือไม่ คำตอบก็น่าจะไม่ใช่ 

เพราะผลการประเมินของศูนย์ทดสอบและประเมินเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาและวิชาชีพ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ได้นำคะแนนการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (Ordinary National Educational Test - O-NET) ที่ผ่านมาของเด็ก ม. 6 แต่ละโรงเรียน ที่เป็นคะแนนจากการประเมินจากข้อสอบกลางเดียวกันทั่วประเทศไปเปรียบเทียบกับผลการเรียนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย (GPAX) พบว่า จากโรงเรียน2,583 โรงเรียนมีการปล่อยเกรดสูงถึง1,224 โรงเรียนแต่ในขณะเดียวกันก็กลับพบว่ามีโรงเรียนที่กดเกรดเกินไปถึง1,238 โรงเรียน!

ดังนั้นคำถามที่ต้องถามต่อไปก็คือ ในเมื่อมีอัตราของโรงเรียนที่ปล่อยเกรด และกดเกรดมากแทบจะพอๆ กันขนาดนี้ ทำไมค่ามาตรฐานการศึกษาของไทย ยังตกต่ำอย่างต่อเนื่อง ผลสรุปง่ายๆที่ชัดเจนที่สุดก็คือทั้งการปล่อยเกรดและกดเกรดนั้นไม่ใช่ทางออกแต่เป็นปัญหาของเด็กไทยทั้งคู่!

เปิดโมเดลประเทศที่ประสบความสำเร็จด้านการพัฒนาการศึกษาอาจจะพบปัญหาที่แท้จริงของไทย

การศึกษาของสภาพเศรษฐกิจโลก - World Economic Forum ซึ่งได้จัดอันดับให้ “ประเทศฟินแลนด์” มีการศึกษาที่ดีที่สุดในโลกนั้น อาจจะทำให้เราได้คำตอบที่แท้จริงว่า อะไรคือปัญหาสำคัญของการศึกษาไทยกันแน่ และในเมื่อการปล่อยเกรด – กดเกรด ไม่ใช่ทางออกแต่เป็นปัญหาของเด็กไทยเสียด้วยซ้ำ แล้วอะไรเล่าจะเป็นจะเป็นทางออกของเด็กไทยที่แท้จริง ? คำตอบเหล่านี้อาจจะอยู่ใน 7 เหตุผลที่ World Economic Forum จัดให้ฟินแลนด์เป็นประเทศที่มีการจัดการศึกษาที่ดีที่สุดดังต่อไปนี้

ประการแรก โรงเรียนในฟินแลนด์ไม่จำเป็นต้องแข่งขันกันสร้างชื่อเสียงเพื่อแย่งนักเรียน เพราะไม่มีโรงเรียนเอกชนในประเทศเลย ทุกสถาบันการศึกษาดำเนินการโดยงบประมาณจากภาครัฐ การร่วมมือกันระหว่างโรงเรียนและมหาวิทยาลัยจึงเป็นไปอย่างราบรื่น ประการที่สอง อาชีพครูในฟินแลนด์นั้น เป็นอาชีพที่ได้รับความเคารพ และเงินเดือนสูง ทำให้มีการแข่งขันกันอย่างเข้มข้น ประการที่สาม การทำงานวิจัยทางด้านการศึกษามาปรับใช้อย่างจริงจังให้รู้ดำรู้แดงไปเลยว่า งานวิจัยชิ้นไหนได้ผลดี หรือไม่ดีอย่างไร ประการที่สี่ ครูฟินแลนด์ได้รับการสนับสนุนให้ถือห้องเรียนเป็นห้องทดลอง ไม่ว่าจะเป็นการสอนหรือกิจกรรมแบบไหน ก็สามารถเกิดขึ้นได้ในห้องเรียน ประการที่ห้า การเล่นต้องสำคัญเท่ากับการเรียน ครูฟินแลนด์ทุกคนต้องทำตามกฎกระทรวงศึกษาธิการ ที่ระบุว่าใน 1 ชั่วโมงเรียน ต้องแบ่งเป็นการสอนจากครู 45 นาที และการเล่น 15 นาที ประการที่หก การบ้านที่น้อยด้วยความเชื่อมั่นว่าครูได้ใช้เวลาในห้องเรียนอย่างเต็มประสิทธิภาพเพียงพอแล้วในการสั่งสอนความรู้ การทำการบ้านนอกเวลาเรียนจึงถูกมองว่าไม่จำเป็น และเวลาที่เด็กอยู่บ้าน ควรมีไว้เพื่อการเรียนรู้ถึงการใช้ชีวิตและอยู่กับครอบครัว ซึ่งสำคัญไม่แพ้การเรียน และประการสุดท้าย ฟินแลนด์เป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศในโลกที่มีการศึกษาฟรีที่ได้มาตรฐานสูงตั้งแต่ระดับเดย์แคร์ เนิร์สเซอรี และอนุบาล

ดังนั้นสุดท้ายแล้วการมานั่งถามกันว่า “กดเกรด” หรือ “ปล่อยเกรด” คือทางออกของเด็กไทย คงเป็นคำถามที่ผิดมาตั้งแต่การตั้งคำถามแล้ว เพราะคำถามที่สำคัญที่สุดคือ “เราต้องการอะไรจากระบบการศึกษา” ถ้าคำตอบที่ต้องการนั้นคือ “ประชากรที่มีคุณภาพ” เราก็คงต้องเริ่มตีความคำว่า “ประชากรที่มีคุณภาพ” กันเสียใหม่ ในมุมมองที่เห็นค่าของประชากรทุกคนในแบบของเขาเอง พัฒนาระบบวิธีการวัดผล ด้วยการพัฒนาศักยภาพของแต่ละคน ดูว่าก่อนได้รับการศึกษาพวกเขามีความเข้าใจอยู่ตรงจุดไหน แล้วเขาไปได้ไกลเมื่อเสร็จสิ้นหลักสูตรมากเพียงไรเสียมากกว่า การสร้างเกณฑ์ขึ้นมาโดยใครก็ไม่รู้ แล้วให้พวกเขาปีนกันขึ้นไป จนเราสร้างเด็กที่ทำทุกอย่างเพื่อคะแนน โรงเรียนที่ทำทุกอย่างเพื่อชื่อเสียง

เลิกวัดผลลิง ด้วยการให้ว่ายน้ำ วัดผลปลาด้วยการให้ปีนต้นไม้ อย่างที่เป็นอยู่กันทุกวันนี้กันจะดีกว่าไหม ?

*******************

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม :
https://www.weforum.org/agenda/2017/05/why-finlands-education-system-puts-others-to-shame?utm_content=buffera76ae&utm_medium=social&utm_source=twitter.com&utm_campaign=buffer

https://www.pptvhd36.com/news/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%99/76338

ภาพประกอบจาก

https://f656.wordpress.com/ความสำคัญของพระพุทธศาส/ความสำคัญของพุทธศาสนาก/

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0

ความเห็น 51

  • บุญหลาย
    ขอทางแก้ด้วยขอรับ
    27 พ.ย. 2561 เวลา 12.19 น.
  • ใช่ๆไปที่ไหนก็มีแต่คนพูดทับถมกันเรื่องเกรด
    27 พ.ย. 2561 เวลา 10.50 น.
  • นะสิริพร
    ครูในฟินแลนด์ตั้งใจสอนอย่างเต็มที่ แต่ครูในไทยตั้งใจทำวิทยะฐานะเพื่อตัวเองอย่างเต็มที่เหมือนกัน แล้วจะเอาเวลาที่ไหนมาสอนเด็กได้เต็มที่ สงสารเด็กไทย
    27 พ.ย. 2561 เวลา 09.45 น.
  • อร 😀🍇🍋🍎
    ระบบการศึกษาไทยควรปรับปรุงอย่างแรง
    27 พ.ย. 2561 เวลา 09.30 น.
  • Suthep Mora.
    มันผิดด้วยหรือ​ ที่ต้นตะบองเพ็ชต้นนึ่งไม่สามารถจะโตได้ดี​ ในดินเหนียว
    27 พ.ย. 2561 เวลา 08.32 น.
ดูทั้งหมด