โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

อย่ามาทะลึ่งเบเบ้! "เพลงไทย" กับประวัติศาสตร์ความสองแง่สองง่าม

LINE TODAY ORIGINAL

เผยแพร่ 21 ต.ค. 2563 เวลา 17.55 น. • AJ.
ภาพโดย Kamran Aydinov / freepik.com
ภาพโดย Kamran Aydinov / freepik.com

เพลงอะไรเนี่ย! ไม่ได้เลย!

ถ้าติดตามโซเชียลมีเดียอย่างต่อเนื่อง หลายคนคงเคยได้ยินเพลงฮิต "ปูหนีบอีปิ" ของพร จันทพร ที่ไอดอลสาวชื่อดัง ลิซ่า- แบล็กพิงก์ (Blackpink) นำท่าไปคัฟเวอร์ในรายการวาไรตี้เกาหลีที่เจ้าตัวไปเป็นแขกรับเชิญ งานนี้เรียกเสียงฮาก็จริง แต่ก็มีเสียงวิจารณ์จากชาวเน็ตเป็นจำนวนมากในความสองแง่สองง่ามและไม่เหมาะสมของเนื้อเพลง ที่มีเนื้อความตอนหนึ่งว่า"ปูหนีบอีปิอีปิอีปิอีปิ เกือบตาย ปูหนีบอีปิอีปิอีปิอีปิ เจ็บหลาย" ซึ่งชาวเน็ตช่วยกันถอดเนื้อเพลงที่มีคำแปลเป็นภาษาอีสาน กล่าวถึงผู้หญิงผิวคล้ำ ทั้งยังพูดถึงอวัยวะเพศหญิงในท่อน "อีปิ" อย่างเนียน ๆ

ว่าด้วย "ความทะลึ่งตึงตัง" ของภาษาไทย

ก่อน "ปูหนีบอีปิ" วงการเพลงลูกทุ่งไทยก็มีเพลงเนื้อหาทะลึ่งตึงตังแบบนี้มาหลายยุคหลายสมัย ถ้าเป็นยุคนี้หลายคนคงต้องนึกถึงเพลง "คันหู" ที่ฟังยังไงก็คิดดีไม่ได้ ไหนจะเพลง "ครางชื่ออ้ายแน" ที่มีท่อนเลียนเสียงครางแบบติดตลก และถ้าย้อนไปในประวัติศาสตร์เพลง เรายังมีเพลง "ผู้ชายในฝัน" ที่มาพร้อมท่อน "เสียบหูให้ตั้งหลายหน เสียบหล่น เสียบหล่น ตั้งห้าหกที" และเพลง"น้องนอนไม่หลับ" ที่พูดถึงความ "กระสับกระส่าย" ยามค่ำคืนของหญิงสาวในบทเพลง

"เพลงฉ่อย" ของไทยก็ไม่น้อยหน้า เพราะเป็นเพลงที่ถูกนำมาขับร้องเพื่อเกี้ยวพาราสี และแน่นอนว่าในกิจกรรมการหลีสาวเหล่หนุ่มแบบนี้ เพลงฉ่อยก็ต้องร้องเล่นด้วยเจตนาปนทะลึ่งนิด ๆ มักมีเนื้อเพลงเชิงชู้สาวเป็นตัวชูโรง แต่ในหลาย ๆ ที่ก็ยังพูดถึงเรื่องทางโลกทั่วไป บางที่ร้องในเชิงธรรมะเสียด้วยซ้ำ เอกลักษณ์ของการแสดงเพลงฉ่อยคือ "ลูกคู่" ที่ต้องสลับกันร้องรับส่งไปมา เป็นการวัดความคมคายและชิงไหวชิงพริบของผู้ทำการแสดงอีกทาง

นอกจากบทเพลง วรรณกรรมไทยยังโดดเด่นด้านการเล่นคำให้อ่านสนุกและมีสีสัน ดูอย่าง "สรรพลี้หวน"(ใช่! มันเอาไว้ผวนนั่นแหละ!) วรรณกรรมท้องถิ่นภาคใต้ที่เน้นการแต่งโดยใช้คำผวน ซึ่งก็อย่างที่ทุกคนน่าจะเดากันได้จากชื่อเรื่อง ว่าวรรณกรรมเรื่องนี้แทรกคำผวนไปในทุกบท และแฝงความหมายทางเพศจนอาจเรียกได้ว่าเป็นความลามกเลยทีเดียว (ยกตัวอย่างชื่อตัวละคร เช่น ท้าวโคตวย เจ้าคีแหม และฤษีแหบ เป็นต้น)

แม้จะไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง แต่"สรรพลี้หวน" แสดงให้เราเห็นถึงวัฒนธรรมไทย ที่มีความเหนียมอายแต่ในใจแสนทะลึ่ง จึงต้องเลี่ยงคำลามกที่ถือกันว่าเป็นเรื่องสกปรกและไม่ควรนำมาพูดในที่สาธารณะ เปลี่ยนเป็นเทคนิคผวนคำ ให้ดูซอฟต์ลงและตลกขบขันแทน

ทะลึ่งมาตั้งนาน แล้วทำไมรับ "ปูหนีบอีปิ" ไม่ได้?

ในความทะลึ่งตึงตัง สังคมยังคาดหวังให้สื่อและสิ่งบันเทิงต่าง ๆ ถูกผลิตบนความเหมาะสม ในกรณีของ "ปูหนีบอีปิ" อาจติดขัดตรงเนื้อหาพูดถึงรูปลักษณ์ (ผิวคล้ำ) และมุ่งเน้นที่เพศหญิงจนเกินไป ชาวเน็ตยังวิพากษ์วิจารณ์ถึงกรณีที่เพลงเนื้อหาแบบนี้ได้รับความนิยมในวงกว้าง แทนที่จะเป็นเพลงอื่นที่มีเนื้อหาน่าฟัง และไม่ "ทะลึ่ง" เท่านี้

อย่างไรก็ตาม เพลงที่เป็นต้นตอของดราม่าเรื่องนี้ได้รับยอดวิวเพิ่มเป็นล้าน หลังรายการวาไรตี้ที่ไอดอลสาวนำท่าเต้นไปคัฟเวอร์ออกอากาศเพียง 5 วัน และกลายเป็นไวรัลที่กำลังมาแรงที่สุดที่วัยรุ่นแห่เต้นตาม

-

อ้างอิง

silpa-mag.com

bottomlineis.co

thematter.co

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0

ความเห็น 38

  • Prashit
    อย่าคิดลึก
    03 พ.ย. 2563 เวลา 00.01 น.
  • Prashit
    ฟังแล้วอย่าคิดลึกฟังให้สนุกๆ
    03 พ.ย. 2563 เวลา 00.00 น.
  • คาวมจริงรับไม่ได้หรือ งัยวะ มีต้วผู้ก็ต้องมีตัวเมีย
    02 พ.ย. 2563 เวลา 23.44 น.
  • กำพล
    ความเนียน ในการใช้ภาษา มันต่างกันครับ เพลงแต่ก่อน ต้องใช้จินตนาการ หรือประสพการของผู้ฟังสักหน่อยจึงจะเข้าใจ แต่เพลงสมัยนี้ ไม่ต้องเลน เด็ก 5-6 ขวบ ฟังก้รู้ว่าพูดถึงอวัยวะเพศ มันจ่งบอกถึงความสามารถทางภาษาของผู้แต่ง
    02 พ.ย. 2563 เวลา 22.52 น.
  • just687
    ลิซ่าเต้นปุบดังปับ คนเกาะกระแสก็จะเกิด
    02 พ.ย. 2563 เวลา 22.49 น.
ดูทั้งหมด