โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

ครูดียังมีอยู่! 5 ครูสุดทุ่มเท ที่สังคมไทยกำลังต้องการ

LINE TODAY ORIGINAL

เผยแพร่ 30 ก.ย 2563 เวลา 18.10 น. • AJ.
Photo by Jerry Wang on Unsplash
Photo by Jerry Wang on Unsplash

ประสบการณ์สมัยเรียนของคุณเป็นอย่างไรบ้าง?

หลังเห็นข่าวครูทำร้ายเด็กที่กำลังเป็นประเด็นในสังคมไทยขณะนี้ ทำให้เรากลับมาฉุกคิดถึงประสบการณ์ในวัยเรียนของตนเองและคนรอบข้าง พบว่าการถูกครูตี หรือทำโทษด้วยวิธีต่าง ๆ เป็นเรื่องที่ทุกคนล้วนเคยประสบ ซึ่งการลงโทษบางอย่างเมื่อย้อนนึกไปก็อดตั้งคำถามไม่ได้ว่าถ้าหากเกิดขึ้นในยุคนี้ เรื่องราวจะต่างออกไปไหม?

ครูไทย ไหวไหม?

ครูไทยทำงานหนัก ข้อเท็จจริงที่เราต่างรู้ดี จากสถิติ พบว่ากว่า 94% ของครูไทยทำงานเกินเวลา 8 ชั่วโมง โดยเกือบ 60% มีภาระงานอื่นที่นอกเหนือจากการสอนด้วย และเมื่อเปรียบเทียบขนาดของโรงเรียน ยังพบว่าครูในโรงเรียนขนาดเล็กรับภาระมากกว่าเดิม โดยมีทั้งการทำงานวันหยุด ทำงานล่วงเวลา และทำโครงการต่าง ๆ จากหน่วยงานรัฐจำนวนมหาศาล เรียกได้ว่าต้องใช้ทั้งความรู้ความสามารถ และต้องเสียสละเวลาส่วนตัวมากทีเดียว

อย่างไรก็ตาม"คดีทำร้ายเด็ก" เป็นเรื่องที่ไม่ควรเกิดขึ้น ไม่ว่าครูบาอาจารย์หรือผู้ดูแลจะต้องพบเจอกับความเครียดสะสม หรือความไม่เป็นธรรมในระบบการศึกษาอย่างไร หรือต่อให้เด็กคนไหนเข้าเรียนโรงเรียนแบบไหน การดูแลจิตใจและร่างกายของเด็กควรเป็นมาตรฐานที่ทุกโรงเรียนควรมอบให้เด็กทุกคนอย่างเท่าเทียมกันอยู่แล้ว

และเมื่อเรื่องพื้นฐานอย่างการดูแลให้เด็ก ๆ ปลอดภัยยังเป็นเรื่องที่ปกครองต้องคอยลุ้น การได้พบครูดี ๆ คงเปรียบเสมือนการถูกรางวัลกันเลยทีเดียว แม้จะไม่อยากให้"ครูดี" ต้องเป็นเรื่องเหนือจริง แต่เราก็อยากรวบรวมคุณครูแสนดี ที่เคยเป็นกระแสในโลกโซเชียล ให้ทุกคนได้ฮีลใจจากกระแส "ครูโหด" กันบ้าง ถือว่าขอทวงคืนความเป็นธรรมให้คุณครูผู้ทุ่มเทในประเทศไทยแล้วกัน

1.ครูบุปผชาติ - แม่พิมพ์ผู้เสียสละ

เป็นข่าวไปราวปีที่แล้ว เมื่อคุณครูบุปผชาติ แห่งโรงเรียนวิชาวดี จังหวัดนครสวรรค์ ลงทุนช่วยเหลือเด็ก ๆ ที่ขาดทุนทรัพย์ด้วยการใช้เวลาส่วนตัวลงมือทำห่อหมกขาย เป็นโรงเรียนเอกชนที่ไม่เก็บค่าเล่าเรียนจากผู้ปกครองแม้แต่บาทเดียว ซึ่งธุรกิจขายห่อหมก ก็ยังมีนักเรียนที่ว่างจากการเรียนมาช่วยทำ เป็นการสอนวิชาชีพให้เด็ก ๆ ไปในตัว ข่าวนี้เป็นข่าวเกี่ยวกับครูไทยที่เราจำได้ และยังประทับใจทุกครั้งที่นึกถึง

2.ครูปาล์ม - เช็กชื่อด้วยความฝัน

ไอเดียของครูปาล์มไม่เพียงเรียกรอยยิ้มจากผู้ใหญ่อย่างเรา แต่ยังเป็นการกระตุ้นให้เด็ก ๆ ได้คิดถึงอาชีพในฝันขณะเช็กชื่อ ซึ่งก็มีทั้งนายกฯ อาจารย์ และที่พีคสุด ๆ เห็นจะเป็นพระ! แต่ไม่ว่าจะเป็นอาชีพอะไร อย่างน้อยการที่เห็นเด็ก ๆ ได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เปี่ยมสุขก็รู้สึกอบอุ่นแล้ว

เช็คชื่อนักเรียน ตามอาชีพในฝันของเด็กๆค่ะ

โพสต์โดย Warayut Prasopsin เมื่อ วันศุกร์ที่ 25 กันยายน 2020

3.ครูปุ๊กกี้ - นักเรียนทุกคนคือเพื่อนซี้ของครู!

เป็นไวรัลเมื่อไม่กี่วันมานี้ เมื่อคุณครูปุ๊กกี้ใช้วิธีทักทายเหล่าน้องอนุบาลก่อนเข้าเรียนด้วยรูปแบบที่แตกต่างกัน โดยจะมีป้ายระบุไว้หน้าห้องเป็นสัญลักษณ์การกอด การแปะมือ การเต้น และอื่น ๆ ให้นักเรียนมาจิ้มเลือกก่อนเข้าห้อง นับเป็นวิธีสร้างความผูกพันระหว่างครูนักเรียนที่แสนจะน่ารัก ได้ใจชาวเน็ตไปเต็ม ๆ

กิจกรรมเช้านี้ของเด็กๆ

โพสต์โดย ภัทราวรรณ เหล่าสมบัติ เมื่อ วันอาทิตย์ที่ 27 กันยายน 2020

4.ครูนกเล็ก - ความสร้างสรรค์ต้องเริ่มจากคนสอน

ครูนกเล็กเป็นครูคนแรก ๆ ที่เป็นไวรัลจากคลิปสื่อการเรียนการสอน (ก่อนยุค "เมาคลีล่าสัตว์" แน่นอน) คลิปของครูนกเล็กเป็นคลิปสอนหนังสือที่ที่อัดแน่นทั้งความรู้ ความบันเทิง โดยครูนกเล็กเล่าว่าขั้นตอนตั้งแต่แต่งเพลงจนถึงลงคลิปใช้เวลาเกือบ 2 เดือน แลกมากับความรู้ของเด็ก ๆ ก็แสนคุ้ม ถ้าตอนเด็ก ๆ ได้เรียนแบบนี้บ้างก็คงดี!

5.ครูโม - ตบมือแหน่สู!

ครูโมทำให้เรารู้ว่าการสอนหนังสือต้องใช้ความเข้าใจและความอดทนสูงมาก คลิปที่เธอสอนนักเรียนสะกดคำอย่างมุ่งมั่นจนเจ้าหนูสะกดได้อย่างถูกต้องทำให้เราภูมิใจไม่แพ้ครูโม ยิ่งเห็นคุณครูหันไปชวนเพื่อนร่วมชั้นช่วยเฮยิ่งขำ! เชื่อแล้วว่าคุณครูภูมิใจจริง ๆ

ขอบคุณคลิปจาก AMARIN TV

ไม่ใช่แค่คุณครู แต่ไม่ว่าอาชีพใด ถ้าทุ่มเทมากพอก็สมควรได้รับความชื่นชมและเสียงปรบมือ เราเชื่อว่าคุณครูที่ดีมีอีกมากเหลือเกินในสังคมไทย ที่สอนเด็ก ๆ ด้วยความเข้าใจและความรัก แทนที่จะใช้ความรุนแรงอย่างที่เราเห็นในข่าว

หากเรามองว่าการตีหรือการทำร้ายร่างกายคือการลงโทษ เรามั่นใจได้แค่ไหนว่าคุณครูผู้นั้นมีจริยธรรมมากพอในการตัดสินโทษให้เด็กนักเรียน การทำโทษแบบไหนถึงจะเหมาะสม มีวิธีอื่นนอกจากการทำโทษไหม? หรือการลงโทษอาจไม่ใช่คำตอบสุดท้าย?

-

อ้างอิง

Inskru - พื้นที่แบ่งปันไอเดียการสอน 

posttoday.com 

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0

ความเห็น 69

  • ภรรยาผมก็เป็นครูที่รักเด็กครับ วันคล้ายวันเกิดปีนี้เด็กนักเรียนเอาเค้กมาแสดงความยินดีวันคล้ายวันเกิดทุกๆปีแต่ปีนี้จะย้ายโรงเรียนแล้วเพราะสอบเลื่อนตำแหน่งได้ ก็ใจหายแทนเหมือนกันเพราะสอนที่นี่นมา10ปี
    01 ต.ค. 2563 เวลา 00.19 น.
  • Somsak
    อยากให้ ศธ. พิจารณาส่งเสริมครูเหล่านี้ให้เป็นครูต้นแบบ การศึกษาของไทย
    01 ต.ค. 2563 เวลา 00.19 น.
  • S.Tassanee
    เรายัง​สู่เสมอค่ะ.เพราะเกิดมาเพื่อเป็นครู
    30 ก.ย 2563 เวลา 22.32 น.
  • Lek Yutt
    เห็นภาพแล้วน้ำตาซึมกันคนละแบบกับที่เป็นข่าวเลย😗😘
    30 ก.ย 2563 เวลา 19.40 น.
  • mtassanee
    การคัดผู้ที่จะมาเป็นครูควรตรวจสุขภาพจิตเป็นอันดับแรกค่ะ เพราะงานครูเป็นงานเครียดกับการรับมือกับนักเรียนที่หลากหลาย ทั้งไม่มีปัญหา ปัญหาน้อย ปัญหามาก ป่วยเมื่อครูป่วยเจอสถาพแบบนี้ ควบคุมจิตไม่ได้ ผลร้ายอย่างที่เห็นๆกัน ข่มขืน ตี ด่าแบบรุนแรง เจอด้วยตัวเองเลยค่ะบรรจุมาสอบได้เพราะเรียนเก่งมากแต่ป่วย ด้านอารมณ์ ครูไม่ควรคัดเฉพาะเก่ง ตรวจสุขภาพจิตด้วยค่ะ ฝาก รมต.
    30 ก.ย 2563 เวลา 23.24 น.
ดูทั้งหมด