ในทุกวันรอบตัวเรามักมีเรื่องราวเกิดขึ้นมากมาย ไม่ว่าจะสุขสมหวัง โศกเศร้าเสียใจ โกรธแค้น ฯลฯ ซึ่งทั้งหมดจะถูกลำเลียงจัดเก็บอยู่ใน 'ความทรงจำ' ซึ่งอารมณ์ที่เกิดจากความรู้สึก ถึงจะถูกจัดเก็บแต่ก็ขึ้นอยู่กับตัวคุณว่าเลือกที่จะจดจำหรือปล่อยผ่านไป
แต่ทว่าความทรงจำที่มาจาก 'สถานที่' แม้เพียงได้กลับไปเยือนที่นั้นโดยใช้เวลาไม่นาน ความทรงจำในอดีตก็จะหวนกลับมาหาให้คิดถึงเรื่องราวในอดีตเสมอ เหมือนเพลงท่อนหนึ่งของป๊อบ ปองกูลที่ส่วนหนึ่งร้องว่า'ภาพจำยังชัดเจน'
จากกรณีร้อนแรงในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมากับโรงภาพยนตร์ใจกลางกรุงอย่าง 'สกาลา' ต้องปิดตำนาน หลังตั้งอยู่ที่สยามมานานกว่า 54 ปี ซึ่งเชื่อว่าเป็นอีกหนึ่งสถานที่ทีมีความทรงจำเรื่องราวต่าง ๆ รวมถึงงานศิลปะที่ถูกถ่ายทอดผ่านสถาปัตยกรรมอันทรงคุณค่า
นอกจากนี้ยังเป็นสถานที่ที่มักปรากฏอยู่ในภาพยนตร์ อาทิ รักแห่งสยาม (2550) , บิ๊กบอย (2553) ตุ๊กแกรักแป้งมาก (2557) ฯลฯ ถือเป็นตัวแทนการถ่ายทอดความรู้สึก เรื่องราวของทุกคนที่ได้มาเยือน ณ แห่งนี้
GOODBYE SCALA 🎞️ pic.twitter.com/HpUJCwr3eU
— ไปตามรอยหนังด้วยกันมั้ย (@tamroyfilm) November 2, 2021
เสาร์นี้ในอดีต : จากเรื่องราวดังกล่าวทำให้หวนนึกถึงสถานที่ที่ต้องถูกรื้อถอน ไม่ว่าจะด้วยปัจจัยใดก็ตาม ถึงจะเหลือไว้เพียงความทรงจำ แต่เชื่อมันจะค่อย ๆ เลือนหายไปดุจว่าสิ่งนี้ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
ปิดตำนาน 'เขาดิน'
สถานที่ยอดฮิตอันดับต้น ๆ ของทุกเพศทุกวัย ซึ่งโรงเรียนต่าง ๆ มักพามาทัศนศึกษา กับสวนสัตว์กลางกรุงอย่าง สวนสัตว์ดุสิต หรือ เขาดินวนา หรือหลายคนมักเรียกว่า 'เขาดิน'
เขาดิน ได้ก่อตั้งในช่วงปี พ.ศ. 2481 และปิดตัว พ.ศ. 2561 เนื่องด้วยสถานที่คับแคบ จำทำให้ต้องโยงย้ายไปตั้งในที่ใหม่ ซึ่งขณะนี้อยู่ในช่วงการก่อสร้างโดยตั้งบริเวณตำบลรังสิต อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี
เรียกได้ว่าเป็นสถานที่ที่ได้รวบรวมความฝันของเด็กทุกช่วงวัย และเก็บเกี่ยวประสบการณ์ ความรู้จากนอกห้องเรียน ถึงในปัจจุบันส่วนใหญ่จะสามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้ แต่ความรู้สึกที่ได้รับจากการดูผ่านจอกับการสัมผัสสัตว์ตัวเป็นก็ย่อมต่างกัน ถึงจะปิดตัวลงไป แต่เชื่อว่าถ้าคุณลองคิดนึกถึงครั้งหนึ่งที่ได้วิ่งเล่นในสวนสัตว์ดุสิตครั้งนั้น คุณเองมีความสุขมากเพียงใด
ปิดตำนาน 'ศาลาเฉลิมไทย'
สวัสดียามเช้าที่หน้าโรงภาพยนตร์ ศาลาเฉลิมไทย. วันนี้เสนอฉายเรื่อง พ่อตาจิ๊กโก๋ ดารานำแสดงมีดังนี้.. ทูน…
Posted by เรื่องเล่า ภาพเก่า ในอดีต on Saturday, October 23, 2021
'เพราะฉันรักเธอ' ภาพยนตร์เรื่องสุดท้ายที่ได้ฉาย !
ไม่แน่ใจว่าผู้อ่านจะทันในยุคโรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมไทย ที่ตั้งอยู่ที่ ถ.ราชดำเนินกลางกับถ.มหาไชย ในยุคนั้น ซึ่งถูกสร้างขึ้นในช่วง พ.ศ. 2483 แต่สามารถเข้าชมครั้งแรกในช่วงปี พ.ศ. 2492 ซึ่งในช่วงระยะเวลาที่ได้ตั้งนั้นก็มีการปรับเปลี่ยนอยู่เสมอ จากโรงมหรสพสู่โรงภาพยนตร์
แต่แล้วตำนานก็ต้องปิดตัวลงเนื่องด้วยบดบังทัศนียภาพของโลหะปราสาท วัดราชนัดดา จึงถูกถูกรื้อถอนในช่วง พ.ศ. 2532 โดยมิติของ คณะรัฐมนตรีรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ ท่ามกลางเสียงโต้แย่งของประชาชนในยุคนั้น ศาลาเฉลิมไทยใช้งบในการก่อสร้างประมาณ 1 ล้านบาท โดยผ่านจากออกแบบจาก อาจารย์ศิววงศ์ กุญชร ณ อยุธยา
ทั้งนี้จอมพล ป.พิบูลสงคราม มีแนวคิดที่จะเนรมิตให้ถนนราชดำเนินกลางเป็นเหมือนย่าน ฌองส์เอลิเซ่ ที่ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งการออกแบบในยุคสนัยถือเป็นสถาปัตยกรรมที่มีความร่วมสมัย
ถ้าผู้อ่านทันในยุคศาลาเฉลิมไทยที่ยังคงฉายภาพยนตร์ เชื่อว่ากลิ่นอายในยุคนั้นน่าจะมีความโรแมนติกไม่มากก็น้อย เนื่องด้วยเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ผู้คนสามารถเข้าถึงสื่ออย่างภาพยนตร์ และเชื่อว่าเป็นครั้งแรกของหลายคนที่จะดูหนังจาก 'ศาลาเฉลิมไทย'
ปิดตำนาน บ้าน 4 เสาเทเวศร์
ภาพ …สุดท้าย บ้านสี่เสาฯ ส่วนห้องนอน “ป๋า” ก่อน รื้อทุบ…..ราบ ..แล้ว วันนี้ . . การรื้อทุบ บ้านสี่เสาเทเวศร์ …
Posted by Wassana Nanuam on Monday, September 21, 2020
เหลือไว้เพียงแค่ชื่อ !
เมื่อให้นึกถึงแถวเทเวศร์มีอะไรที่เป็นจุดเด่น เชื่อว่าชื่อสถานที่แห่งนี้ต้องเป็นตำตอบของหลายคนนั้นคือ 'บ้าน 4 เสาเทเวศ' ถึงผู้คนอย่างเราไม่มีวันที่ได้สัมผัสเดินชมผ่านใน แต่ก็มักมีภาพเหล่านักการเมืองเดินทางเข้าออกสถานที่แห่งนี้อยู่บ่อยครั้ง เพื่อเข้าพบ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ อดีตประธานองคมนตรี และรัฐบุรุษ เนื่องด้วยเป็นที่พักตั้งแต่เข้ามารับตำแหน่ง
หลังจาก พล.อ.เปรม ถึงแก่อสัญกรรม เมื่อ 26 พฤษภาคม 2562 บ้านหลังนี้ก็ไร้ผู้คน แต่แล้ววันที่ 21 ก.ย. 2563 สื่อทั้งโทรทัศน์และโลกออนไลน์ได้ต่างแชร์ข่าวที่ว่าบ้าน 4 เสาเทเวศร์ ได้ถูกรื้อถอนเหลือแต่เศษหิน เศษปูน เพียงเท่านั้น ส่วนข้าวของได้กลับไปยังที่บ้านเกิด
สถานที่=คีย์เวิร์ดแห่งความทรงจำ
อย่างที่เผยในช่วงต้นที่ว่า 'ภาพจำยังชัดเจน' ไม่ว่าจะมองไปทางไหนก็มักมีเรื่องราวความทรงจำซ้อนอยู่และมักถูกกระตุ้นเรื่องราวทื่เก็บอยู่ในส่วนของสมอง จนเกิดเป็นภาพในความทรงจำขึ้นมา ซึ่งพฤติกรรมนี้เรียกว่าทฤษฎีผูกยึดตามสถานการณ์ (contextual-binding theory) คือการสืบค้นของสมองมนุษย์จากสิ่งที่เคยเผชิญมาไม่ว่าจะดีหรือร้ายก็ตามและขึ้นอยู่กับจิตใจว่าเลือกที่จำหรือลืมมันไป
'ทั้งนี้เรื่องราวที่ได้หยิบยกมาในข้างต้น ล้วนเป็นความทรงจำของใครหลายคน แม้สถานที่นั้นจะมีเรื่องที่น่าจดจำหรือไม่ก็ตาม แต่ลึก ๆ ของจิตใจก็ยังคงคำนึงถึงอดีตครั้งที่เราได้สัมผัส ประสบพบเจอ รวมถึงสิ่งที่สะท้อนผ่านสถาปัตยกรรมของวัตถุของสังคมในยุคนั้นและคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ถึงจะต้องปิดตำนานลงไปแต่ความทรงจำก็ยังคงอยู่ '
อ้างอิง
ความเห็น 11
ไตรลักษณ์คืออนิจจังความไม่เที่ยงแท้ ทุกขังทุกอย่างบนโลกเป็นแต่เรื่องความทุกข์ทั้งหมด อนัตตาความไม่มีตัวตน 3 อย่างนี้เป็นเรื่องจริงแท้แน่นอนในทุกๆเรื่อง
30 พ.ย. 2564 เวลา 21.44 น.
Wacharapon
ปล่อยไป.
12 พ.ย. 2564 เวลา 16.22 น.
โด่ง
ไปดูหนังบ่อย ปูยี จักรพรรดิองค์สุดท้าย ดูมีพักครื่งด้วย เศร้าที่ มันจะหายไป ตามกาลเวลา
08 พ.ย. 2564 เวลา 08.57 น.
Krung
เสียดายทุกแห่ง ยกเว้นบ้านหลายเสา
07 พ.ย. 2564 เวลา 08.45 น.
judies (taevisual)
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป
วันหนึ่งใดๆล้วนสูญสลายไปเหมือนไม่มีอยู่จริง
การฝืนการเปลี่ยนแปลงนั้นต้นเหตุมาจากผลประโยชน์ทั้งสิ้นไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม
ฉันรู้สึกดีกับการมีสิ่งนี้อยู่ นี่คือประโยชน์แก่ตนเอง
ฉันอยากปกป้องเอาไว้เพื่อให้เป็นประโยชน์
แก่คนรุ่นหลัง นี่คือทางอ้อม
บางคนฝืนก็เพื่อปกป้องแนวคิดของตนเอง
ไม่ให้ถูกทำลายลงเท่านั้น
ผมไม่ใช่คนพุทธ แต่ผมคิดว่าคนพุทธควรจะปล่อยวางให้เป็น ทุกคนจะได้ไม่ทุกข์กับเรื่องที่ไม่จำเป็นต้องทุกข์ เพราะมันไม่เกิดประโยชน์อะไร let them be
07 พ.ย. 2564 เวลา 05.50 น.
ดูทั้งหมด