โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

“ประเทศไทย” ขยะเยอะเป็นอันดับ 6 ของโลก!! ปัญหาเรื่องขยะใครควรรับผิดชอบ?

Another View

เผยแพร่ 15 ก.พ. 2562 เวลา 13.00 น.

“ประเทศไทยขยะเยอะเป็นอันดับ6 ของโลก!! ปัญหาเรื่องขยะใครควรรับผิดชอบ?

BY : TEERAPAT LOHANAN

ขยะ! สิ่งเล็ก ๆ ที่ใกล้ตัวของเรามากที่สุด ไม่ว่าอะไรก็ตามรอบตัวเรา เมื่อผ่านเวลา หรือหมดอายุการใช้งานมันไปแล้ว มันก็จะแปรรูปจากสิ่งเดิมเป็นสิ่งที่เราเรียกกันว่า“ขยะ”  แต่ก็เพราะว่ามันเป็นสิ่งที่ใกล้ชิดกับเรามากที่สุดนั่นแหละ มันจึงเป็นสิ่งที่ถูกละเลยได้โดยง่ายที่สุดด้วยเช่นกัน จนพอกพูนขึ้นเรื่อย ๆ และเกิดเป็นปัญหาขึ้นมา

ปัจจุบันปัญหาเรื่องขยะ เป็นปัญหาอันดับต้น ๆ ของโลกของเราเลย และก็ยังมีแนวโน้มการเกิดขยะพลาสติกที่มากขึ้นทุก ๆ ปีอีกด้วย เนื่องด้วยอัตราประชากรที่เพิ่มขึ้นมากในทุก ๆ ปี ซึ่งทางภาครัฐในหลาย ๆ ประเทศต่างก็พยายามจัดการแก้ไขปัญหาเรื่องขยะกันอย่างเป็นจริงเป็นจังกันอยู่ แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ยังจัดการได้ไม่หมดอยู่ดี

มีงานวิจัยที่เผยว่าช่วงเวลาที่ผ่านมามีปริมาณขยะพลาสติกรั่วไหลสู่ท้องทะเลเป็นจำนวนกว่า 13 ล้านตันต่อปี และขยะเหล่านี้เองที่เป็นต้นตอสำคัญทำให้มหาสมุทรแปซิฟิกกลายเป็นแพขยะขนาดใหญ่ หรือที่เรียกในระดับสากลว่า Great Pacific Garbage Patch ซึ่งปัจจุบันมีขนาดใหญ่ถึง 1.6 ล้านตารางกิโลเมตร หรือใหญ่กว่าประเทศฝรั่งเศส เยอรมนี และสเปนมัดรวมกัน

ในขณะที่ทั่วโลกกำลังประสบปัญหาเรื่องขยะกัน ทางประเทศไทยเองก็ประสบปัญหาดังกล่าวไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าประเทศใดในโลก เพราะเมื่อปีที่ผ่านมาพบว่าประเทศไทยสร้างปริมาณขยะทางทะเลและขยะมูลฝอย 27.4 ล้านตัน ส่งผลให้ติดอันดับ 6 ของประเทศที่มีปริมาณขยะเยอะที่สุดในโลก

จึงเป็นที่มาให้ เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 256 ที่ผ่านมา ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการขยะพลาสติก ได้ประชุมพิจารณา (ร่าง) แผนการปฏิบัติการด้านการจัดการขยะพลาสติก 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580) พิจารณากำหนดการลดและเลิกใช้ผลิตภัณฑ์พลาสติกประเภทใช้ครั้งเดียวทิ้ง (Single-use Plastic) ที่พบมากในขยะทะเลของประเทศไทย และก่อให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม โดยกำหนดให้เลิกใช้พลาสติก 7 ชนิด ดังต่อไปนี้

ซึ่งมาตรการเหล่านี้ก็ถือว่าเป็นมาตรการได้รับการตอบรับที่ดีจากกรีนพีซ แต่ก็จะดีมากกว่านี้ถ้าหากว่าใช้มาตรการอื่น ๆ ควบคู่ไปอีกด้วย “การเลิกใช้พลาสติกทั้ง 7 ชนิดนี้ถือว่าเป็นเรื่องดีกับทางภาครัฐ แต่ในขณะเดียวกันก็ยังคงมีลู่ทางอื่น ๆ ที่ภาครัฐยังสามารถทำได้อีก อย่างหลายประเทศในทวีปยุโรปที่สร้างแรงจูงใจให้กับผู้ผลิต เช่น การลดหย่อนภาษีให้กับผู้ผลิตที่มีนโยบายลดการใช้พลาสติกในการดำเนินธุรกิจ หรือการจัดเก็บค่าธรรมเนียมสำหรับผู้ต้องการรับถุงพลาสติกตามห้างสรรพสินค้า เป็นต้น”

และด้วยพฤติกรรมการใช้พลาสติกที่แทรกแทรงเข้ามาในวิถีชีวิตประจำวันเรา จนในทุกวันนี้ถ้าให้เราเลิกใช้มันไปทั้งหมดเลย ก็คงจะเป็นไปไม่ได้ ถ้าอย่างนั้นแล้วเราควรที่จะต้องมาทำตัวให้มีความรับผิดชอบกันหน่อย อย่างเช่นการ งดใช้ถุงพลาสติกเมื่อซื้อของจากร้านขายของและเปลี่ยนมาใช้ถุงผ้าแทน หรือการคัดแยกขยะตามชนิดของถังขยะ เท่านี้ก็เป็นวิธีการง่าย ๆ ที่เราจะสามารถช่วยให้โลกที่เราอยู่อาศัยน่าอยู่ขึ้นมาอีกระดับหนึ่งแล้ว

อ้างอิง : https://thestandard.co/thailand-plan-to-ban-7-types-of-plastic/

https://thestandard.co/circular-living/

ภาพประกอบ : https://greennews.agency/?p=14484

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0