โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

ไอน์สไตน์ไม่ได้พูด - วินทร์ เลียววาริณ

TOP PICK TODAY

เผยแพร่ 20 ธ.ค. 2563 เวลา 18.39 น. • วินทร์ เลียววาริณ

อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ เป็นคนฉลาดระดับอัจฉริยะ คิดค้นทฤษฎีที่เปลี่ยนโลกฟิสิกส์และเปลี่ยนโลก นอกจากนี้ยังมีมุมมองน่าสนใจในเรื่องต่าง ๆ ดังนั้นเวลาเขาพูดอะไร คนมักจะฟัง

และเขาก็พูดไว้มากมาย ! หลายสิบปีหลังจากเขาลาโลกไปแล้ว ก็ยังมีคนอ้างคำคมของเขามากมายนับไม่ถ้วน

ของเขา ? เอ้อ ! ขออภัย ! อาจจะไม่ใช่ของเขาทั้งหมด !

สมัยแรกที่ผมเขียนสารคดีวิทยาศาสตร์ ผมชอบอ้างคำของไอน์สไตน์หลายประโยค แต่มาพบทีหลังว่าปล่อยไก่ไปหลายตัว คำคมเด็ด ๆ หลายประโยคไม่ใช่คำของไอน์สไตน์

แต่ผมคงไม่ใช่คนเดียวในโลกที่พบปัญหานี้ เพราะมีคำคมฉลาด ๆ จำนวนมากที่เขาไม่ได้พูด และถูกอ้างอิงบ่อยจนชาวโลกเชื่อเรียบร้อยแล้ว

ดังนั้นก่อนจะอ้างชื่อเขา ควรแน่ใจก่อนว่าเขาพูดจริงหรือเปล่า

เรามาตรวจสอบไอน์สไตน์กันดีไหมว่าอันไหนถูก อันไหนไม่ใช่คำของเขา

▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪

(1) “When you sit with a nice girl for two hours you think it’s only a minute, but when you sit on a hot stove for a minute you think it’s two hours. That’s relativity.” 

เมื่อคุณนั่งกับสาวสวยนานสองชั่วโมง คุณคิดว่ามันเป็นแค่นาทีเดียว แต่เมื่อคุณนั่งบนเตาร้อนหนึ่งนาที คุณคิดว่ามันยาวสองชั่วโมง นี่ก็คือสัมพัทธภาพ

ข้อความดังกล่าวถูกอ้างอิงบ่อยมาก มันเป็นสาธกอธิบายทฤษฎีสัมพัทธภาพที่เห็นภาพและจำง่าย แต่ไอน์สไตน์ไม่ได้พูด !

ใครเป็นคนพูด ?

เจ้าของคำคือนักข่าวผู้เขียนเกร็ดเกี่ยวกับไอน์สไตน์ ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ New York Times ปี 1929 เขาแค่เขียนเปรียบเทียบเอาเอง มันกลายเป็นสาธกฮิต คนส่วนมากเข้าใจว่าไอน์สไตน์พูด

(2) “The definition of insanity is doing the same thing over and over and expecting different results.” 

คำจำกัดความของความบ้าคือการทำแบบเดิม ๆ ซ้ำแล้วซ้ำอีก และคาดหวังผลลัพธ์ที่แตกต่าง

ประโยคนี้ฮิตมาก มีคนอ้างถึงบ่อยมาก และอ้างคนพูดหลายคน เช่น มาร์ก ทเวน, เบนจามิน แฟรงกลิน และ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ แต่ไม่ถูกทั้งนั้น 

เราไม่รู้ว่าต้นกำเนิดมาจากใครและยุคไหน แต่มีหนังสืออย่างน้อยสองเล่มที่เขียนถึง คือ Sudden Death (1983) ของ Rita Mae Brown และ Narcotics Anonymous Book (1983) ในเล่มหลังเขียนว่า “Insanity is repeating the same mistakes and expecting different results.” 

(3) “Everyone is a genius. But if you judge a fish by its ability to climb a tree, it will live its whole life believing that it is stupid.” 

ทุกคนเป็นอัจฉริยะทั้งนั้น แต่ถ้าคุณตัดสินปลาตัวหนึ่งจากความสามารถในการปีนต้นไม้ ตลอดชีวิตของมัน มันจะเชื่อว่ามันโง่เง่า

ไม่มีหลักฐานใด ๆ ที่ชี้ว่าไอน์สไตน์เป็นเจ้าของคำพูดนี้ อย่างไรก็ตาม มันอาจจะเป็นการดัดแปลงคำพูดของไอน์สไตน์ ในบทความปี 1936 เรื่อง Self-Portrait ไอน์สไตน์เขียนว่า “What is significant in one’s own existence one is hardly aware, and it certainly should not bother the other fellow. What does a fish know about the water in which he swims all his life?” เรามักไม่ใส่ใจสิ่งที่สำคัญในการมีตัวตนอยู่ของเรา และมันก็ไม่ควรรบกวนคนอื่นอย่างยิ่ง ปลาจะรู้อะไรเกี่ยวกับน้ำที่มันว่ายตลอดชีวิต ?

(4) “Education is that which remains, if one has forgotten everything he learned in school.” 

การศึกษาคือสิ่งที่หลงเหลืออยู่ ถ้าใครคนหนึ่งลืมทุกอย่างที่เรียนในโรงเรียนแล้ว

ไอน์สไตน์ไม่ได้พูด เขายกคำพูดมาจากที่ไหนที่หนึ่งเพื่อประกอบการเขียนบทความเกี่ยวกับการศึกษา ในหนังสือของเขาเรื่อง Out of My Later Years

(5) “International law exists only in textbooks on international law.” 

กฎหมายระหว่างประเทศมีอยู่เฉพาะในตำราเรื่องกฎหมายระหว่างประเทศ

ไอน์สไตน์ไม่ได้พูด ใครเป็นคนพูด ? 

แม้ไม่ใช่คนพูด แต่เขาอยู่ด้วยตอนพูด คนพูดคือ Ashley Montagu ระหว่างที่เขาสัมภาษณ์ไอน์สไตน์ 

(6) “Any intelligent fool can make things bigger, more complex, and more violent. It takes a touch of genius—and a lot of courage to move in the opposite direction.” 

ไอ้งั่งฉลาด ๆ ที่ไหนก็สามารถสร้างของให้ใหญ่ขึ้น ซับซ้อนขึ้น และบ้าขึ้น มันต้องใช้ความฉลาดนิดหน่อยกับความกล้ามาก ๆ ที่จะเดินไปในทิศทางตรงกันข้าม

เปล่า ไอน์สไตน์ไม่ได้พูด มันมาจากหนังสือรวมบทความ Small is Beautiful: A Study of Economics As If People Mattered (1973) ของ E.F. Schumacher

(7) “Not everything that counts can be counted.” 

ไม่ทุกสิ่งที่สำคัญนั้นนับได้ (คำว่า count แปลได้ว่า นับ หรือสำคัญก็ได้)

ไอน์สไตน์ไม่ใช่คนพูด เจ้าของคือศาสตราจารย์ด้านสังคมศาสตร์ วิลเลียม บรูซ คาเมรอน ในหนังสือปี 1963 ชื่อ Informal Sociology: A Casual Introduction to Sociological Thinking

ประโยคเต็มคือ “It would be nice if all of the data which sociologists require could be enumerated because then we could run them through IBM machines and draw charts as the economists do. However, not everything that can be counted counts, and not everything that counts can be counted.” 

มันคงจะดีถ้าข้อมูลทั้งหมดที่นักสังคมวิทยาต้องการสามารถนับคำนวณได้ เพราะเมื่อนั้นเราก็จะสามารถย่อยข้อมูลด้วยเครื่องไอบีเอ็ม แล้วเขียนแผนผังอย่างที่นักเศรษฐศาสตร์ทำ อย่างไรก็ตาม ไม่ทุกสิ่งที่นับได้มีความสำคัญ และไม่ทุกสิ่งที่สำคัญนั้นนับได้

(8) “Two things inspire me to awe — the starry heavens above and the moral universe within.” 

สองสิ่งทำให้ผมยำเกรง คือสวรรค์แห่งดวงดาราเบื้องบนกับจักรวาลแห่งศีลธรรมภายใน

ไอน์สไตน์ไม่ได้พูด เจ้าของคำพูดคือนักปรัชญาชาวเยอรมัน Immanuel Kant ในหนังสือเรื่อง Critique of Practical Reason ตีพิมพ์ในปี 1889

ประโยคเต็มคือ “Two things fill the mind with ever-increasing wonder and awe, the more often and the more intensely the mind of thought is drawn to them: the starry heavens above me and moral law within me.” 

สองสิ่งบรรจุในความคิดด้วยความประหลาดใจและความยำเกรงที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งความคิดถูกดึงดูดไปหาสองสิ่งนี้บ่อยขึ้นและเข้มข้นขึ้น คือสวรรค์แห่งดวงดาราเหนือหัวผมกับกฎแห่งศีลธรรมภายในตัวผม

(9) “Evil is the result of what happens when Man does not have God’s love present in his heart.” 

ความชั่วร้ายเป็นผลลัพธ์ของสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อมนุษย์ไม่มีความรักของพระเจ้าในหัวใจ

ไม่มีหลักฐานว่าไอน์สไตน์เป็นคนพูด เป็นคำที่เกิดขึ้นนานหลังยุคไอน์สไตน์ อาจเป็นข้อมูลไวรัลในราวปี 1999

(10) “You do not really understand something unless you can explain it to your grandmother.” 

คุณไม่ได้เข้าใจบางสิ่งจริงๆ หรอก นอกเสียจากว่าคุณสามารถอธิบายมันให้ยายคุณเข้าใจ

และ “If you can’t explain something to a six-year-old, you really don’t understand it yourself.” 

ถ้าคุณไม่สามารถอธิบายบางสิ่งให้เด็กหกขวบเข้าใจ คุณไม่ได้เข้าใจมันจริง ๆ หรอก

ไอน์สไตน์ไม่ได้พูด เชื่อว่าน่าจะเป็นนักฟิสิกส์ Ernest Rutherford ที่บอกว่า “It should be possible to explain the laws of physics to a barmaid.”

(11) “The average human only uses 10 percent of his brain.” 

คนทั่วไปใช้สมองแค่สิบเปอร์เซ็นต์

ไอน์สไตน์ไม่ได้พูด แต่มีหลายคนพูดจนไม่รู้ว่าใครเป็นต้นคิด เช่น Craig Karges 

(12) “Common sense is actually nothing more than a deposit of prejudices laid down in the mind prior to the age of eighteen.” 

สามัญสำนึกไม่มีอะไรมากไปกว่าผลรวมของอคติซึ่งถูกฝังในความคิดก่อนอายุสิบแปด

ประโยคนี้ไอน์สไตน์อาจจะพูด แต่ก็อาจไม่ใช่ 

นิตยสาร Harper’s Magazine สัมภาษณ์ไอน์สไตน์ Lincoln Barrett ผู้สัมภาษณ์เขียนว่า “But as Einstein has pointed out, common sense is actually nothing more than a deposit of prejudices laid down in the mind prior to the age of eighteen.” 

อาจเป็นคำของไอน์สไตน์ที่เอ่ยช่วงสัมภาษณ์ หรืออาจเป็นคำที่ผู้เขียนแต่งขึ้น ก็เป็นไปได้ทั้งคู่

(13) “Time is nature’s way of keeping everything from happening at once.”

ประโยคนี้มักถูกอ้างว่าเป็นของไอน์สไตน์ แต่ต้นฉบับมาจากนวนิยาย The Time Professor (1921) โดย Ray Cummings ภาษาต้นฉบับคือ “Time is what keeps everything from happening at once.” เวลามีไว้เพื่อไม่ให้ทุกสิ่งทุกอย่างเกิดขึ้นทีเดียวพร้อมกัน

(14) “Nuclear power is a hell of a way to boil water.” 

พลังงานนิวเคลียร์เป็นวิธีต้มน้ำแบบสุด ๆ ไปเลย

ไอน์สไตน์ไม่เคยพูดประโยคนี้ คนพูดคือ คาร์ล กรอสส์แมน จากหนังสือ What You are Not Supposed to Know About Nuclear Power

(15) “Logic will get you from A to B. Imagination will take you everywhere.” 

ตรรกะจะพาคุณจากจุด A ไปจุด B จินตนาการจะพาคุณไปทุกหนทุกแห่ง

ประโยคนี้ไอน์สไตน์พูดก็จริง แต่ถูกถ่ายทอดเพี้ยนจากต้นฉบับ มันมาจากบทสัมภาษณ์ไอน์สไตน์โดยหนังสือพิมพ์ Saturday Evening Post ในปี 1929

หนังสือพิมพ์ถามเขาว่า “งั้นคุณก็ไว้ใจจินตนาการของคุณมากกว่าความรู้ของคุณ?”

ไอน์สไตน์ตอบว่า “ผมเป็นศิลปินพอที่จะเสกสร้างอย่างเป็นอิสระบนจินตนาการของผม จินตนาการสำคัญกว่าความรู้ ความรู้มีข้อจำกัด จินตนาการวิ่งข้ามโลก”

(16) “Information is not knowledge. The only source of knowledge is experience.” 

ข้อมูลไม่ใช่ความรู้ ต้นกำเนิดเดียวของความรู้คือประสบการณ์

ไอน์สไตน์ก็ไม่ได้พูดเช่นกัน มันถูกดัดแปลงมาจากคำของ John Locke ในหนังสือ Essay Concerning Human Understanding

ข้อความต้นฉบับคือ “Whence has it [the Mind] all the materials of Reason and Knowledge? To this I answer, in one Word, From Experience.” บรรดาเหตุผลและความรู้ทั้งหลายในความคิดได้มาจากอะไร? ผมขอตอบด้วยคำคำเดียวว่า จากประสบการณ์

▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪

ประโยคต่อไปนี้ ไม่มีหลักฐานว่าไอน์สไตน์พูด แต่ก็ไม่รู้ว่ามาจากไหน

(17) “I fear the day that technology will surpass our human interaction. The world will have a generation of idiots.” 

ผมกลัววันที่เทคโนโลยีจะก้าวข้ามปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์ โลกจะเกิดคนรุ่นงี่เง่า

(18) “A little knowledge is a dangerous thing. So is a lot.” 

ความรู้นิดเดียวเป็นเรื่องอันตราย เช่นเดียวกับความรู้มาก ๆ

(19) “The mind that opens to a new idea never comes back to its original size.” 

ความคิดที่เปิดไอเดียใหม่ ๆ ไม่เคยกลับคืนสู่ขนาดเดิมของมัน

(20) “If a cluttered desk is a sign of a cluttered mind then what are we to think of an empty desk?” 

ถ้าโต๊ะรกเป็นสัญญาณของความคิดรก แล้วโต๊ะว่างล่ะ ?

(21) “If the bee disappears from the surface of the earth, man would have no more than four years to live. No more bees, no more pollination… no more men!” 

ถ้าผึ้งหายไปจากโลก มนุษย์จะอยู่ได้ไม่เกินสี่ปี ไม่มีผึ้ง ก็ไม่มีการผสมเกสร และไม่มีคน

(22) “ If the facts don’t fit the theory, change the facts.” 

ถ้าข้อเท็จจริงไม่เข้ากับทฤษฎี จงเปลี่ยนข้อเท็จจริง

ประโยคนี้ออกแนวขำ ๆ น่าจะใช่ไอน์สไตน์นะ ในเมื่อเขาก็มีอารมณ์ขัน ?

แต่ไอน์สไตน์ไม่ได้พูด มันมาจากบทความด้านวิศวกรรมในปี 1958 ที่เขียนว่า “There is an age-old adage, ‘If the facts don’t fit the theory, change the theory.’ But too often it’s easier to keep the theory and change the facts.” มีคำโบราณหนึ่งว่า ‘ถ้าข้อเท็จจริงไม่เข้ากับทฤษฎี จงเปลี่ยนทฤษฎี’ แต่บ่อยครั้งมันง่ายกว่าที่จะรักษาทฤษฎีเอาไว้ แล้วเปลี่ยนข้อเท็จจริง

คำคมประโยคนี้ทำให้เราอดคิดเติมแต่งต่อไปไม่ได้ว่า “ถ้าไอน์สไตน์ไม่ได้พูด เราก็เปลี่ยนให้ไอน์สไตน์พูด”

อาจเพราะเขาเป็นอัจฉริยะที่เรารัก เมื่อเราเจอคำคมดี ๆ คมคาย เราก็มักโยนให้ไอน์สไตน์ 

▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪▪

หมายเหตุ วินทร์ เลียววาริณ

นี่จะเป็นบทความชิ้นสุดท้ายบนหน้า LINE TODAY ปีหน้าจะมีการปรับโครงสร้างพื้นที่ และจะไม่มีหน้านี้อีก

ผมเขียนบทความในพื้นที่นี้มาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2561 รวมเวลาสองปีครึ่ง ขอบคุณผู้อ่านที่ตามอ่านต่อเนื่อง หวังว่าคงได้รับประโยชน์บ้างตามสมควร

ผู้เขียนยังไม่ได้หายไปไหน ท่านสามารถอ่านบทความใหม่ ๆ และข้อเขียนอื่น ๆ ได้ทุกวันในเพจเฟซบุ๊ก https://www.facebook.com/winlyovarin/ หรือเว็บไซต์ www.winbookclub.com

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0

ความเห็น 10

  • Tid
    เสียดาย​ ชอบอ่านค่ะ​ สรรหามาแต่เรื่องดีๆ​ ทั้งนั้น​ ปรับปรุงพื้นที่ข่าว​ แต่ตัดของดีๆออกไป​ อย่างนี้จะเรียกว่าปรับปรุงได้ยังไง​
    21 ธ.ค. 2563 เวลา 08.34 น.
  • Pichai
    หลายคนก็รู้ไม่จริงก็คิดว่าเป็นคำพูดของไอน์สไตน์. พระสงฆ์ใส่แหวนภาคเหนือก็เช่นกัน พูดเกี่ยวกับไอน์สไตน์กับศาสนาพุทธ เป็นตุเป็นตะ!!! บทความสั่งลาที่ดีมากกๆครับ. ขอบคุณมากครับ
    21 ธ.ค. 2563 เวลา 06.01 น.
  • K a o r i
    "Only two things are infinite, the universe and human stupidity, and I'm not sure about the former..." มีเพียงสองสิ่งเท่านั้นที่ไร้ขอบเขต นั่นคือจักรวาลกับความเขลาของมนุษย์... และผมไม่แน่ใจเกี่ยวกับอันแรก..." 🙄 อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์
    21 ธ.ค. 2563 เวลา 05.08 น.
  • โอเลี้ยง®
    เขาบอกมา
    21 ธ.ค. 2563 เวลา 00.33 น.
  • N.K.Asia consultants
    แจ่ม
    21 ธ.ค. 2563 เวลา 11.56 น.
ดูทั้งหมด