ไม่ต้องเป็นเภสัชก็ขายยาได้? แล้วชาวบ้านจะมั่นใจได้ไงว่ากินแล้วไม่ตาย!
หลังจากเป็นประเด็นร้อนแรงแซงโค้งตั้งแต่เดือนสิงหาคมที่ผ่านมา กับการเคลื่อนไหวทางสังคมของวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับ พ.ร.บ.ยา ฉบับใหม่ ที่ อย. ได้หยิบขึ้นมาปัดฝุ่นในปี 2561 ด้วยคำถามที่ว่า ร่าง พ.ร.บ.ยา นี้ จะเอื้อประโยชน์แก่ประชาชนจริงๆ หรือ?
แม้ทาง อย. ได้มีการเผยแพร่ข้อดีที่มุ่งเน้นคุ้มครองประชาชน ของ พ.ร.บ.ยา ฉบับใหม่นี้สู่สังคมไทย แต่ดูเหมือนว่า 10 ข้อดีที่ อย. หยิบยกขึ้นมานั้น จะไม่สามารถต้านทานกระแสการเคลื่อนไหวภายใต้มาตรา 22 (5) ที่ว่าด้วยเรื่องของ การเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบวิชาชีพอื่นนอกเหนือจากแพทย์มีอำนาจในการสั่งจ่ายยาได้
ในวันที่ 14 ตุลาคม 2561 ชมรมเภสัชกรภาคใต้ และ 12 เครือข่ายวิชาชีพเภสัชกรรม นำโดย ภญ.สุจิดา กุลถวายพร ประธานชมรมเภสัชกรภาคใต้ ได้แถลงการณ์คัดค้านร่าง พ.ร.บ.ยา ฉบับเดือนตุลาคม 2561 : ฉบับยื่นต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยระบุว่า “เนื่องจากร่างพ.ร.บ.ยาฉบับที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) กระทรวงสาธารณสุขยื่นเสนอต่อครม.นั้นผู้ที่รับผิดชอบจัดทำร่างพ.ร.บ.ยาฉบับดังกล่าวได้สรุปการรับฟังความคิดเห็นไปฝ่ายเดียวว่า“ชมรมเภสัชกรภาคใต้เห็นด้วยกับร่างพ.ร.บ.ยาที่จะเสนอต่อครม.” ซึ่งไม่เป็นความจริง
และล่าสุดเมื่อวันที่ 18 ต.ค. 2561 กลุ่มเภสัชกรจังหวัดขอนแก่น ผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมและประชาชน ได้เข้ายื่นหนังสือให้กับ นายชำนาญ ทองดี รองผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น เพื่อส่งต่อข้อเสนอให้ระงับการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติยา ถึง พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ขอให้พิจารณาระงับการพิจารณาพ.ร.บ.ยาฉบับนี้ และขอให้เกิดกระบวนการร่าง พ.ร.บ.ยาฉบับใหม่ด้วยหลักการและแนวคิดทางกฎหมายที่ถูกต้อง โดยยึดหลักการคุ้มครองประชาชนให้ปลอดภัยจากการใช้ยาอย่างแท้จริง
ทั้งนี้ ภก.ปรุฬห์ รุจนธำรงค์ อาจารย์ประจำคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ชี้ว่า ร่างพ.ร.บ.ยาฉบับนี้ถือเป็นการลดมาตรฐานการคุ้มครองผู้บริโภคลงหลายประการ สิ่งที่จะเกิดขึ้นในวงการธุรกิจ จะทำให้คลินิกสุขภาพสามารถอ้างเรื่องการจ่ายยาสำหรับผู้ป่วยเฉพาะราย โดยไม่ต้องมีใบอนุญาตขายยา และมีลักษณะการดำเนินธุรกิจในลักษณะเดียวกับร้านยา โดยภาพรวมร่างพ.ร.บ.ยาจึงดูเหมือนเป็นเรื่องธุรกิจแต่แฝงว่าต้องการคุ้มครองประชาชน
อีกทั้ง นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ยังกล่าวด้วยว่า ในส่วนของการแก้ไข พ.ร.บ.ยา ฉบับใหม่ เรื่องจะเพิ่มวิชาชีพที่จะสามารถจ่ายยาได้นั้น จริงๆแล้วสิ่งที่ดีที่สุดคือต้องให้เภสัชกรเป็นคนจ่ายยาซึ่งจำนวนเภสัชกรไม่ได้ขาดและต้องตอบคำถามว่าวิชาชีพที่จะเพิ่มเข้ามา เช่น พยาบาล ทันตแพทย์ เวชศาสตร์ฟื้นฟู มีความสามารถและมีคุณสมบัติเหล่านี้หรือไม่ หากตอบคำถามได้ตนก็ไม่ได้ขัดข้องที่จะเพิ่มวิชาชีพเหล่านี้ให้สามารถจ่ายยาได้ ซึ่งหากไม่ได้ก็อาจจะต้องมีการจำกัด
อย่างไรก็ตาม ทิศทางของ พ.ร.บ. ยา ฉบับใหม่นี้ ไม่ได้มีผลต่อวิชาชีพที่เกี่ยวข้องเพียงเท่านั้น ดังนั้นจึงเป็นประเด็นที่ต้องติดตามกันต่อไปอย่างใกล้ชิด เนื่องจากเป็นสิทธิของประชาชนที่ควรจะได้รับบริการทางการแพทย์ที่มีมาตรฐานดีเพียงพอ เพราะสุดท้ายปลายทางแล้ว ผู้ที่จะ “ได้” หรือ “เสีย” ประโยชน์ที่แท้จริง ก็คือ “ประชาชน” ผู้รับยานั่นเอง
แหล่งที่มา : https://morning-news.bectero.com/social-crime/16-Oct-2018/131683
https://www.thaipost.net/main/detail/20271
ความเห็น 96
RIN🍇🍈🍉🍊🍋🍌🍍🍎🍏🍐🍑🍒🍓🍅🥥🥝🥑
ถ้าให้ผ่าน! งั้นจะเรียนเภสัชไปทำไมตั้งหกปี เอาอะไรมาคิด กว่าจะเรียนจบมามันยากนะคุณคิดง่ายจริง นึกถึงจิตใจคนที่เรียนคณะนี้บ้างซิ มักง่ายจริงๆเลยเพราะผลประโยชน์แท้ๆ....
29 ต.ค. 2561 เวลา 08.56 น.
เอื้อประโยชณ์ก็เห็นอยู่ แต่ยาวไป เอสเอ็มอีตาย
เภสัช จะขาดแคลน ไม่มีใครอยากเรียน
เรียนนาน เรียนแพงทำไม่ โอกาสเงินเดือน ธุรกิจก็น้อยลง
คิดไม่กี่คน แต่จะทำให้คนเป็นพันเป็นหมื่นมางใจกัน จะตีกันและ
29 ต.ค. 2561 เวลา 04.11 น.
แล้วที่เภสัชเปิด ร้านขายยา ให้ใครจ่ายยาให้
28 ต.ค. 2561 เวลา 05.06 น.
ยังไงก็ตายให้ขายกันไปเถอะ
27 ต.ค. 2561 เวลา 21.17 น.
ร้านขายยาทุกวันนี้ก็ไม่มีเภสัชฯหรอก มีแต่ป้ายชื่อแขวนติดไว้
27 ต.ค. 2561 เวลา 21.05 น.
ดูทั้งหมด