ส่อง “ลุงตู่” เล่นโซเชียล! “ฟังเสียง” หรือ“หาเสียง” กันแน่?
ถึงกับผงะ เมื่อครั้งแรกที่มีความเคลื่อนไหวในเฟซบุ๊กแฟนเพจที่มีชื่อว่า "ประยุทธ์ จันทร์โอชา (Prayut Chan-o-cha)" เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2561 เริ่มต้นด้วยรูปโปรไฟล์บุคคลที่ตรงกับชื่อเพจเป๊ะ… หลายคนคิดว่าเป็นเฟซฯ ปลอม หรือเฟซฯ หลุม เอาไว้ดักคนที่มีอุดมการณ์ทางการเมืองทั้งหลาย
กระทั่งวันที่ 14 ตุลาคม ก็ได้มีการเคลื่อนไหวอีกครั้งในเชิงแถลงข่าวว่า ทั้งการเปลี่ยนรูปโปรไฟล์ และข้อความเปิดตัว “สวัสดีครั้บพี่น้องประชาชนที่รักทุกท่าน จากที่พวกเราส่วนใหญ่นิยมสื่อสารกันผ่าน Facebook อยู่เป็นประจำ ผมจึงถือโอกาสเปิด Facebook ส่วนตัวของผม เพื่อใช้เป็นอีกหนึ่งช่องทางในการสื่อสารแนวนโยบาย การทำงานของผมและรัฐบาล รวมถึงเล่าสู่กันฟังถึงข้อมูลที่จะเป็นประโยชน์ และเป็นช่องทางที่ผมและพี่น้องประชาชนจะเข้าถึงกันได้ดียิ่ขึ้น หากท่านมีข้อเสนอแนะ ต้องการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือต้องการให้ผมลงไปดูแลแก้ปัญหา ก็สามารถเขียนมาเล่าสู่กันฟังได้ เพื่อที่ผมและทีมงานจะได้มีข้อมูลและดูแลช่วยเหลือได้โดยตรงครับ” เป็นการยืนยันอีกครั้งว่าเฟซฯ ดังกล่าวเป็นของนายกรัฐมตรีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาของแท้แน่นอน
เมื่อเข้าสู่การเป็นเจ้าของช่องทางโลกออนไลน์มีหรือจะไม่ถูกจับตา
นอกจากจะมีเฟซฯ แล้วยังมีการเปิดใช้บัญชีทวิตเตอร์ และอินสตาแกรม รวมทั้งเว็บไซต์ www.prayutchan-o-cha.com ควบคู่กันด้วย สิ่งที่ตามมาคือคำถามจากหลายคนในสังคมว่า การกระทำดังกล่าวสามารถทำได้ด้วยหรือ? ไม่ถูกนับรวมว่าเข้าข่ายการหาเสียงหรือ?
เปิดเฟซบุ๊คได้ไม่เข้าข่ายหาเสียง
หลังเปิดตัวอย่างเป็นทางการ คำถามแรกที่ตามมาก็คือ การกระทำดังกล่าวไม่เข้าข่ายการหาเสียงใช่หรือไม่? โดยหลังจากนั้นไม่กี่วัน ก็ได้มีการแถลงข่าวจากภาพส่วนที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้โดยตรงอย่าง "นายอิทธิพร บุญประคอง" ประธานกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้ออกมาชี้แจงว่าด้วยการใช้สื่อโซเชียลของนายกรัฐมนตรี ไม่ใช่ประเด็นเรื่องการหาเสียง และตามนิยามของคำว่า “กิจกรรมทางการเมือง” ที่มีระบุไว้ในคำสั่งคสช. นั้น คสช. จะเป็นผู้ชี้ว่าสิ่งไหนทำได้ ทำไม่ได้ ไม่ใช่กกต. ซึ่งกกต. มีหน้าที่ดูว่าการกระทำ จะส่งผลกระทบต่อการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นหรือไม่ ถ้ายังไม่เห็นว่าการกระทำใดๆ ยังไม่เข้าข่ายเป็นการกระทำที่จะกระทบจ่อการเลือกตั้งที่จะมีขึ้น ก็จะยังไม่ดำเนินการ
ขณะที่ "พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด" โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีการเปิดช่องทางสื่อออนไลน์ของนายกฯ เป็นของตนเอง ที่หลายคนเกรงว่าจะเป็นไปเพื่อการหาเสียงออนไลน์หรือไม่ โดยมองว่าใครๆ ก็สามารถวิพากษ์วิจารร์กันได้ทุกเรื่อง ไม่ว่าจะทำอะไร ลงพื้นที่ตรวจราชการในกรุงเทพฯ หรือต่างจังหวัด หรือการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) สัญจรนอกสถานที่ก็หาว่ารุกหาเสียง แต่หากไม่ติดต่อกับประชาชนเลยก็กลายเป็นเข้าถึงยาก ดังนั้นหากคนจะตำหนิก็ตำหนิได้ทุกเรื่อง หากเข้าใจว่าเป็นช่องทางหนึ่งที่นายกฯ ต้องการติดต่อสื่อสารกับประชาชนโดยตรงก็จบ ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร อีกทั้งยังเห็นว่านักการเมืองแทบทุกคนที่ออกมาต่อว่าครั้งนี้ ตนเองก็ทำเหมือนกัน
ประชาชนควรทำตัวอย่างไร
สำหรับเหล่าผู้เสพติดโลกโซเชียล โดยเฉพาะเฟซบุ๊กแอดดิก (เสพติดเฟซบุ๊ก) ย่อมอดไม่ได้ที่จะรู้สึกสงสัย รวมทั้งเป็นกังวลกับการมีตัวตนบนโลกโซเชียลของผู้นำประเทศ ไม่ว่าจะเป็นประเด็นอันแสนหมิ่นเหม่ว่านี่เป็นการหาเสียงได้หรือไม่ เพราะบนเฟซบุ๊คใครๆ ก็สามารถโพสต์อะไรก็ได้ ทั้งเรื่องที่ดีหรือไม่ดีก็ตาม และหลายคนก็มักจะเลือกพรีเซนต์ตัวเองในด้านที่ดีกันเสียเป็นส่วนใหญ่ เพื่อให้คนเลือกที่จะเห็นเราในด้านดี ยิ่งไปกว่านั้นยังทำให้หลายคนรักเรามากยิ่งขึ้นได้อีกด้วย นอกจากนี้ก็อดไม่ได้ที่ทำให้หลายคนคิดไปไกลกว่านั้นว่า การเป็นเจ้าของเฟซบุ๊กแฟนเพจนั้นยังสามารถเข้าไปส่องเฟซบุ๊กของใครก็ได้ (ที่ตั้งค่าความเป็นสาธารณะไว้) ผ่านการคอมเมนต์ หรือการกดไลค์ หรือแม้กระทั่งกดโกรธเพจของท่านผู้นำประเทศ คล้ายๆ กับเวลาที่มีญาติผู้ใหญ่เป็นเฟรนด์ในเฟซบุ๊กกับเรา แล้วทำให้เราเริ่มทำตัวไม่ถูกว่าจะกดติดตามท่านไปดีไหม แสดงความรู้สึกได้มากน้อยเพียงใด สามารถเสนอความคิดเห็นได้จริงหรือไม่? ถ้าสิ่งที่เราซักถามหรือคอมเมนต์ไม่ถูกใจจะไม่นำไปสู่การขุดคุ้ย หรือล่าแม่มดทางการเมืองแบบที่ผ่านมาใช่ไหมก็ยังเป็นเรื่องที่ชาวเน็ตยังคงหวั่นใจไม่น้อยเลยทีเดียว
ความเห็นของประชาชนส่วนรวม: โดยผลสำรวจอย่างสวนดุสิตโพล 42.75% มีความเห็นว่านี่คือการหยั่งเสียง วัดความนิยม และหวังผลทางการเมืองอีกด้วย และ 42.92% มีความเห็นว่าการเปิดเพจฯ นายกเป็นการหาเสียง
คำถามจากเหล่านักการเมือง
ดูเหมือนว่าผลกระทบดังกล่าวที่มีต่อประชาชนยังไม่สร้างความร้อนเนื้อร้อนใจ ให้เท่ากับบรรดานักการเมืองหลายต่อหลายคน แน่นอนว่าโดยมากมองว่านี่คือการหาเสียง และรู้สึกไม่ได้รับความเป็นธรรม นอกจากนี้ยังเป็นห่วงไปถึงทีมงานที่ช่วยดูแลเพจของนายกฯ ในทิศทางแสดงความเป็นห่วงเกรงว่าจะไม่นำเสนอความเห็นของประชาชนที่ส่งต่อไปยังทุกช่องทางออนไลน์ของนายกฯ ในทุกด้าน โดยเกรงว่าจะเสนอแต่คำชื่นชม สุดท้ายแล้วปัญหา หรือความเดือดร้อนของประชาชนก็จะไม่ถึงหูผู้นำประเทศอย่างแท้จริง
ดูเหมือนว่าการมีอยู่ของนายกฯ บนโลกโซเชียลเป็นการสร้างแรงสั่นสะเทือนให้หลายคนกลับมาให้ความสนใจกับการทำงานของรัฐบาล และสนใจการเมืองในประเทศกันอีกครั้ง ซึ่งก็คงต้องอาศัยเวลาและการติดตามเท่านั้นที่จะตอบได้ว่าผลลัพธ์ที่ออกมาจะเป็นอย่างไร และทำให้ประเทศเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนามากน้อยเพียงใด
ความเห็น 65
..
4 ปีกว่า มันเคยสนใจอะไร แต่ตอนนี้เป็นอีแอบ อยากสืบทอดอำนาจต่อไป แต่ไม่กล้าเปิดตัวตรงๆ ตลบแตลงไปวันๆ เบื่อมากๆ
07 พ.ย. 2561 เวลา 15.46 น.
Duan pen
สมัครเข้าพัก3ช่าไปเลยแล้วจะได้บันทึกในประวัติสาดชาดว่า4ช่า
28 ต.ค. 2561 เวลา 05.27 น.
'ป
คนอื่นทำไม่ได้ แต่ผมทำได้เพราะผมฟังเสียงของประชาชนครับ ถุยๆๆๆ เบื่อมึงจัง
26 ต.ค. 2561 เวลา 05.07 น.
ทาร์ซานเจ้าป่า
ถ้าไม่ตาถั่วก็คงดูออกว่าแม่งสร้างภาพตลอด ไหนจะออกนโยบายแจกฟรี ไหนจะทำเป็นจ๊ะจ๋ารักเด็กรักสัตว์ ทั้งๆที่ก่อนหน้านี้แม่งตวาดสื่อตวาดประชาชนมาตลอด
25 ต.ค. 2561 เวลา 22.03 น.
Toon879
เกลียด จริง ว่ะ
25 ต.ค. 2561 เวลา 16.33 น.
ดูทั้งหมด