โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

เปิดเกณฑ์เงินรางวัลนักกีฬาเหรียญทองโอลิมปิก อัดฉีด 12 ล้านตั้งแต่ปี 59-ไม่ต้องเสียภาษี ! : เสาร์นี้ในอดีต

LINE TODAY ORIGINAL

เผยแพร่ 06 ส.ค. 2564 เวลา 17.00 น. • O.J.

'โอลิมปิกเกมส์' นับเป็นการมหกรรมกีฬานานาชาติที่ทุก ๆ 4 ปี จะถูกจัดขึ้น โดยมีคณะกรรมการโอลิมปิกสากล (IOC) เป็นผู้กำหนดในแต่ละครั้งว่า ประเทศใดจะได้สิทธิ์เป็นเจ้าภาพการแข่งขัน อีกทั้งยังเป็นเส้นทางความฝันของเหล่านักกีฬาที่จะได้พิสูจน์ความสามารถในเวทีระดับโลก

เป้าหมายสำคัญนอกจากการลงแข่งขันนั้นคือ 'เหรียญทอง' ซึ่งกว่าจะคว้ามาได้ ต้องผ่านการฝึกซ้อมอย่างหนักหน่วง ทุ่มเททั้งแรงกายแรงใจ เพื่อทำความฝันครั้งนี้ให้สำเร็จอย่างสมบูรณ์แบบ 

ตลอดระยะเวลาการจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ประเทศไทยเองได้ส่งนักกีฬาที่ฝีมือไม่ธรรมดาลงแข่งขันเช่นกัน ซึ่งในขณะนี้เรามีฮีโร่เหรียญทองสะสมถึง 10 คน ส่วนเหรียญเงินและเหรียญทองแดง รวมทั้งสิ้น 24 คน ทั้งหมดล้วนทำผลงานออกมาได้อย่างยอดเยี่ยม สร้างชื่อเสียงให้กับวงการกีฬาของประเทศไทยเป็นอย่างมาก อีกสิ่งหนึ่งที่แฟนกีฬาให้ความสนใจคือเรื่องของ 'เงินอัดฉีด'

เสาร์นี้ในอดีต : สัปดาห์นี้เราจะพาไปดูหลักเกณฑ์เงินอัดฉีดของเหล่าทัพนักกีฬาไทย ที่สามารถคว้าเหรียญทองกลับมาฝากคนไทยทั้งประเทศ ถือเป็นการตอบแทนความทุ่มเทตลอดการฝึกซ้อมและไขความสงสัยที่ว่าต้องจ่ายภาษีหรือไม่ 

เปิดทำเนียบฮีโร่เหรียญทอง 1996-2020

สมรักษ์ คำสิงห์  คว้าแชมป์มวยสากลสมัครเล่น รุ่นเฟเธอร์เวทในโอลิมปิก 1996 ครั้งที่ 23 เมืองแอตแลนตา อเมริกา 

วิจารณ์ พลฤทธิ์ คว้าแชมป์มวยสากลสมัครเล่น รุ่นฟลายเวทชายในโอลิมปิก 2000 ครั้งที่ 27 ที่ซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย

มนัส บุญจำนงค์ คว้าแชมป์มวยสากลสมัครเล่น รุ่นไลท์เวลเตอร์เวท ในโอลิมปิก 2004 ที่ประเทศกรีซ

อุดมพร พลศักดิ์ คว้าแชมป์ยกน้ำหนัก รุ่น 53 กิโลกรัมหญิงในโอลิมปิก 2004 ที่ประเทศกรีซ เป็นผู้หญิงไทย คนแรกจากยกน้ำหนักหญิง 53 กก.

ปวีณา ทองสุก  คว้าเหรียญทองยกน้ำหนักหญิง รุ่น 75 ก.ก ในโอลิมปิก 2004 ที่ประเทศกรีซ เช่นเดียวกัน

สมจิตร จงจอหอ คว้าเหรียญทองมวยสากลสมัครเล่น รุ่นฟลายเวทชาย ในโอลิมปิก 2008 ที่ปักกิ่ง 

ประภาวดี เจริญรัตนธารากูล คว้าเหรียญทองจาก ยกน้ำหนัก รุ่น 53 กิโลกรัมหญิง ในโอลิมปิก ปักกิ่ง 2008 เช่นกัน

โสภิตา ธนสาร  คว้าเหรียญทองจากยกน้ำหนัก รุ่น 48 กิโลกรัมหญิง ในโอลิมปิก 2016 กรุงริโอ เดอ จาเนโร ประเทศบราซิล

สุกัญญา ศรีสุราช คว้าเหรียญทองจากยกน้ำหนักรุ่น 58 กิโลกรัมหญิง โอลิมปิก 2016 กรุงริโอ เดอ จาเนโร ประเทศบราซิล

และล่าสุดกับ พาณิภัค วงศ์พัฒนกิจ คว้าเหรียญทองจาก เทควันโด รุ่น 49 กิโลกรมหญิงโอลิมปิกเกมส์ โตเกียว 2020

รางวัลตอบแทนความสำเร็จ 

ทุกความสำเร็จก็มักจะมีสิ่งตอบแทน เพื่อเป็นขวัญกำลังใจที่สามารถนำเหรียญทองโอลิมปิกเกมส์มาฝากกับคนไทย ซึ่งตลอดระยะที่ผ่านมาตามหน้าสื่อเรามักจะเห็นถึงหน่วยงานต่าง ๆ มอบเงินรางวัลอัดฉีดให้แก่ความสำเร็จนั้น ๆ

นอกจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนแล้ว ยังมี 'กองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ' ที่คอยมอบเงินรางวัลแก่นักกีฬาบุคลกากรกีฬา เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนทุกครั้งที่มีการแข่งขัน ไม่ว่าจะเป็น ซีเกมส์,เอเชียนเกมส์ รวมถึงโอลิมปิก

เงื่อนไขเดิมตั้งแต่ปี 59   

อย่างที่เผยในข้างต้นการแข่งขันโอลิมปิกจะถูกจัดขึ้นทุก ๆ 4 ปี ซึ่งเมื่อทีมงานได้ลองย้อนดูชุดเอกสารการมอบเงินรางวัลของ กองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ได้ออกมาเปิดเผยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการให้เงินรางวัลแก่นักกีฬา บุคลกากรกีฬา และสมาคมกีฬาที่ใช้คำว่า ในปี พ.ศ.2559 กับ พ.ศ. 2562 พบว่าหากนักกีฬาไทยคว้าเหรียญรางวัลจะได้รับเงินอัดฉีด ดังนี้

เหรียญทอง เป็นเงิน 12,000,000 บาท,

เหรียญเงิน เป็นเงิน 7,200,000 บาท 

และเหรียญทองแดง เป็นเงิน 4,800,000 บาท

นอกจากเงินรางวัลที่นักกีฬาจะได้รับนั้น ก็มีหลักเกณฑ์ตัวเลือกการรับเงินที่เหมือนกันทั้ง 2 รูปแบบ แบบที่ 1 แบ่งจ่ายเป็นก้อนในอัตราร้อยละ 50 ที่เหลืออีกร้อยละ 50 จ่ายเป็นรายเดือน ภายในระยะเวลา 4 ปี 

และแบบที่ 2 จ่ายเป็นเงินก้อนทั้งหมดในครั้งเดียว แต่เงินรางวัลจะลดลง โดยเหรียญทองได้ 10,000,000 บาท, เหรียญเงิน 6,000,000 บาท และเหรียญทองแดง 4,000,000 บาท

ทั้งนี้กองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ยังคงสนับสนุนนักกีฬาทุกประเภทในทุก ๆ ปี และหวังประเทศไทยจะได้เหล่าฮีโร่เหรียญทองเพิ่มขึ้น 

เงินอัดฉีดต้องจ่ายภาษี ? 

ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาหลังจากที่คนไทยได้เฮลั่นบ้าน กับเหรียญทองแรกจากน้องเทนนิสและได้สร้างประวัติศาสตร์เหรียญทองแรกของกีฬาเทควันโดหญิง รุ่นน้ำหนักไม่เกิน 49 กิโลกรัม ซึ่งขณะนี้เงินอัดฉีดสูงถึง 21,880,000 บาท 

จากประเด็นดังกล่าวสู่การตั้งคำถามของคนบางกลุ่มที่ว่า ได้รับเงินอัดฉีดสูงขนานนี้อย่าลืมจ่ายภาษี ซึ่งทาง ดร.ก้องศักด ยอดมณี ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย ยืนยันผ่านทาง Facebook ส่วนตัวว่า "ตามที่มีประเด็นข่าวเกี่ยวกับกรณีนักกีฬาที่ได้รับเงินรางวัลหรือเงินอัดฉีดจากรัฐบาล จะต้องเสียภาษีหรือไม่นั้น

 ผมขอยืนยันว่านักกีฬาที่ได้รับเงินอัดฉีดจากรัฐบาล จากการได้เหรียญรางวัลในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก อย่างน้องเทนนิส (เหรียญทองจากกีฬาเทควันโด) จะได้รับการยกเว้น ไม่ต้องนำเงินรางวัลดังกล่าวมาคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ 

เพราะถือว่านักกีฬาเหล่านั้นเป็นผู้ทำคุณประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติ สร้างความสุขให้กับทุกคน และเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับเด็กและเยาวชนครับ"

ขณะที่ทางเพจนักวางแผนทางการเงิน iTAX Thailand ได้ออกมาโพสต์ข้อมูลถึงเรื่องดังกล่าวด้วยเช่นกัน แต่ถึงแม้จะได้รับเงินให้เปล่าเกิน 10 ล้านบาท ถ้าผู้รับเป็นนักกีฬา รวมถึงสต๊าฟโค้ช และเงินให้เปล่านั้นเป็นเงินอัดฉีด เนื่องจากเข้าร่วมการแข่งขันรายการมหกรรมกีฬาและรายการแข่งขันกีฬาสมัครเล่นระดับนานาชาติ เช่น Olympic Tokyo 2020 

นักกีฬาและทีมผู้ฝึกสอนจะได้รับยกเว้นภาษีให้เป็นกรณีพิเศษ ไม่ต้องนำเงินอัดฉีดส่วนที่เกิน 10 ล้านบาทมาเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแต่อย่างใด 

ทั้งนี้ ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 293) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ที่นักกีฬา และผู้ฝึกสอนกีฬา ได้รับจากการให้โดยเสน่หาเนื่องในพิธีหรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณี เพื่อเป็นรางวัล อันเนื่องมาจากการเข้าร่วมการแข่งขันรายการมหกรรมกีฬาและ รายการแข่งขันกีฬาสมัครเล่นระดับนานาชาติ เฉพาะส่วนที่เกินสิบล้านบาท

ได้ระบุการแข่งขันรายการมหกรรมกีฬา หมายความว่า การแข่งขันกีฬา ที่คณะกรรมการ โอลิมปิกแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ หรือคณะกรรมการพาราลิมปิกแห่งประเทศไทย ส่งเข้าแข่งขัน ดังต่อไปนี้

-โอลิมปิกเกมส์ (ฤดูร้อน – ฤดูหนาว)

- พาราลิมปิกเกมส์

- เอเชี่ยนเกมส์ (ฤดูร้อน – ฤดูหนาว)

- อาเซียนพาราเกมส์

- เอเชี่ยนพาราเกมส์

-เอเชี่ยนอินดอร์มาเชี่ยลอาร์ทเกมส์

-เอเชี่ยนบีชเกมส์

-ซีเกมส์

การแข่งขันกีฬาสมัครเล่นระดับนานาชาติ หมายความว่า การแข่งขันกีฬา ที่สมาคมกีฬา ส่งเข้าแข่งขัน ดังนี้

-การแข่งขันชิงชนะเลิศแห่งโลก

-การแข่งขันชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย

-การแข่งขันชิงชนะเลิศแห่งอาเซียน

-รายการแข่งขันระดับนานาชาติที่สหพันธ์กีฬานานาชาติเป็นเจ้าของการจัดการแข่งขัน

ดังนั้นเงินอัดฉีดนักกีฬาไม่ว่าจะเป็นเงิน 3,000 บาท หรือ 30 ล้านบาท ก็ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้

อ้างอิง 

Gongsak Yodmani 

การกีฬาแห่งประเทศไทย ( Sports Authority of Thailand )

thaipbs

ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร

olympicthai.org

iTAX Thailand

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0

ความเห็น 17

  • Pikul789
    ทุ่มเทแรงกายแรงใจนักกีฬาไทยมีเป้าหมายไว้พุ่งขน ขอให้ทุกคนมีฝัน ฝันให้ไกลไปให้ถึง
    14 ส.ค. 2564 เวลา 07.36 น.
  • pitak
    เอาเงินไปสร้างร.พ.มีประโยชน์กว่าไหม
    08 ส.ค. 2564 เวลา 23.10 น.
  • สาธิต สว.ปี 2564
    คนบางคนหิวแสง จะเอาเรื่องให้ได้ จะบ้า
    07 ส.ค. 2564 เวลา 14.59 น.
  • tanadol
    ที่เเน่ๆใน3เหรียญนี้จะมีคนไทยสักกี่คนที่ทำได้.
    07 ส.ค. 2564 เวลา 14.35 น.
  • tanadol
    เหรียญตะกั่วให้กี่บาทจ๊ะ
    07 ส.ค. 2564 เวลา 14.34 น.
ดูทั้งหมด