สุดล้ำ! “ใบขับขี่ดิจิตอล” ความสะดวกคนรุ่นใหม่ แล้วตำรวจไทยจะยึดอะไร?
ไม่รู้จะดีใจ หรือตกใจดี เมื่ออ่านพาดหัวข่าวหลายสำนักว่าด้วยของขวัญปีใหม่จากกรมขนส่งทางบก ที่ยืนยันแล้วว่ากลางเดือนมกราคม 2562 เริ่มใช้ใบขับขี่ดิจิตอลเป็นครั้งแรก
ใบขับขี่ดิจิตอลเพื่อตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ โดยรูปแบบของใบขับขี่นั้นเสมือนใบขับขี่จริงทั้งด้านหน้าและด้านหลัง เชื่อมข้อมูลต่าง ๆ ลงในแอปพลิเคชัน D Check in บนสมาร์ทโฟน ซึ่งสามารถแสดงให้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ทันทีเมื่อมีการเรียกตรวจ ทั้งนี้ยังมีเป้าหมายเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนที่ลืมใบขับขี่ นอกจากนี้ยังคาดการณ์ไว้ว่าจะมีการใส่ข้อมูลส่วนตัวที่จำเป็นของเจ้าของบัตรไว้ในแอปพลิเคชันด้วย เช่น กรุ๊ปเลือด และประวัติทางการแพทย์ต่าง ๆ ไว้รองรับกรณีที่เกิดอุบัติเหตุใด ๆ แล้วต้องนำส่งโรงพยาบาลจะได้รับการรักษารวดเร็วกกว่าที่ผ่านมา
โดยทางเจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถตรวจสอบความถูกต้องของบัตรได้โดยการสแกนคิวอาร์โค้ดผ่านทางแอปพลิเคชันได้ นอกจากนี้ยังสามารถตรวจสอบใบสั่งของผู้ขับขี่ที่เคยได้รับทั้งหมด สามารถแสดงตำแหน่งของผู้ใช้งานในกรณีเกิดอุบัติเหตุหรือต้องการความช่วยเหลือฉุกเฉิน รวมทั้งแจ้งเตือนผู้ขับขี่หากถึงระยะเวลาใบขับขี่หมดอายุ ซึ่งช่วงแรกประชาชนที่จะใช้ใบขับขี่บัตรใหม่จะต้องเป็นผู้ถือใบขับขี่แบบใหม่ที่มีคิวอาร์โค้ดอยู่ด้านหลังบัตรก่อน โดยคิดค่าธรรมเนียมเช่นเดียวกับใบขับขี่ชนิดพลาสติก
“นายพีระพล ถาวรสุภเจริญ” อธิบดีกรมขนส่งทางบก ยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า “เตรียมเปิดตัวช่วงกลางเดือนมกราคม 2562 เมื่อใช้งานได้สักระยะจะปรับเป็นระบบดิจิตอลทั่วประเทศต่อไป ปัจจุบันอยู่ระหว่างการทดลองระบบให้มีความเสถียรมากที่สุดให้พร้อมใช้งานต่อไป” และ “ขณะนี้อยู่ระหว่างศึกษาจัดทำหลักสูตรและแนวทางเสนอออกกฎกระทรวงคมนาคมเพื่อบังคับใช้ต่อไป คาดว่าจะแล้วเสร็จในต้นปี 2562 เพื่อเสนอเข้าสู่ที่ประชุมครม. ขอความเห็นชอบก่อนส่งต่อไปยังกฤษฎีกา”
เมื่อตำรวจจราจรห่วงใยเรา
ปล่อยให้ประชาชนงุนงง และเกิดคำถามมากมาย ไม่กี่วันต่อมา “พลตำรวจตรีเอกรักษ์ ลิ้งสังกาศ" จากคณะทำงานแก้ไขปัญหาจราจร สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กล่าวถึงข่าวดังกล่าวว่า
เบื้องต้นทราบข้อมูลนี้จากข่าวที่ออกมาพร้อมกับสื่อมวลชน แต่ทางตำรวจยังไม่ได้รับการประสานงานจากกรมขนส่งทางบกเรื่องการใช้ใบขับขี่อิเล็กทรอนิกส์ในแอปพลิเคชันแทนการใช้ใบขับขี่ของจริง ทั้งนี้มองว่าอาจเกิดปัญหาในการปฎิบัติและการใช้งานจริง เช่น หากผู้ขับขี่ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจ เรียกตรวจสอบแล้วไม่มีความผิดอะไร ก็ใช้แอปพลิเคชันได้ไม่มีปัญหาอะไร แต่หากทำผิดกฎจราจร จนท.จำเป็นต้องยึดใบขับขี่ตามพ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 140 ว่าด้วยการออกใบสั่งให้ผู้ขับขี่ชำระค่าปรับตามลักษณะควาผิด จนท. จะเรียกเก็บใบขับขี่ ออกใบสั่ง และออกเป็นใบขับขี่ชั่วคราว แต่หากเป็นใบขับขี่ดิจิตอลไม่สามารถทำได้ เพราะปัจจุบันการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างกรมการขนส่งทางบกกับสนง.ตำรวจแห่งชาติยังทำไม่ได้ เช่น เรื่องของใบส่งอัตโนมัติและการอายัดทะเบียนยังไม่สามารถเชื่อมโยงเซิร์ฟเวอร์ข้อมูลกันได้
ด้วยเหตุนี้จึงส่งผลต่อเนื่องไปถึงการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลต่าง ๆ ที่มีอยู่ในแอปพลิเคชันนั้นเป็นของจริงหรือไม่ เพราะอาจมีกลุ่มผู้ไม่หวังดีทำปลอมแปลงขึ้นมาได้ ทั้งนี้ทางตำรวจยืนยันว่าไม่ได้ขัดขวางนโยบายนี้ แต่ติดข้อกฎหมายและข้อปฏิบัติตามหน้าที่ เพราะตำรวจเองก็ไม่ได้ต้องการยึดใบขับขี่อยู่แล้ว ดังจะเห็นได้จากที่ล่าสุดได้มีการเสนอแก้ไขในพ.ร.บ.จราจรทางบกฯ ให้ไม่มีการยึดใบขับขี่ แต่เรื่องดังกล่าวยังคงค้างอยู่ที่ชั้นกฤษฎีกา จึงยังคงต้องปฏิบัติตามกฎหมายเดิมไปก่อน
ยังต้องติดตามกันต่อไป
ซึ่งยังมีรายงานต่ออีกว่าทางกรมขนส่งทางบก อยู่ระหว่างการออกแบบแอปพลิเคชันให้สมบูรณ์แบบที่สุด ในช่วงแรกผู้ขับขี่จะต้องใช้แอปพลิเคชันร่วมกับการพกใบขับขี่ของจริงไปก่อน ส่วนที่ตำรวจท้วงติงมานั้น ทางกรมฯ กำลังเตรียมข้อมูลเพื่อเขาไปหารือถึงรูปแบบการใช้งาน การเชื่อมโยงข้อมูล และแนวทางการปฏิบัติของตำรวจ
ในส่วนของประชาชน ก็ยังคงเลือกอะไรไม่ได้เช่นเคย ในส่วนของนโยบายจากกรมขนส่งก็ดูสะดวกสบาย รวดเร็ว ทุกอย่างจบครบในสมาร์ทโฟนเครื่องเดียว ส่วนที่ตำรวจเสนอมานั้นก็ดูจะตรงกับข้อสงสัยแคลงใจของหลายคนไม่ใช่น้อย โดยเฉพาะเรื่องความพร้อมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการที่จะก้าวสู่ความเป็นดิจิตอลอย่างเต็มตัวเพียงพอหรือยัง การวางระบบที่ชัดเจน รอบคอบ และรัดกุม การเข้าถึงแอปพลิเคชันของประชาชนในทุกระดับชั้นสังคม ความปลอดภัยทั้งทางข้อมูลส่วนตัวบนความเป็นดิจิตอล ความปลอดภัย รวมทั้งการปลอมแปลงที่อาจทำได้ง่ายกว่าใบขับขี่ทั่วไป
การออกมาทักท้วงของตำรวจผู้ที่เกี่ยวข้องกับการใช้รถใช้ถนน (และเรียกเก็บใบขับขี่โดยตรง) ที่ทำให้ดูเหมือนว่าจะเป็นอีกนโยบายร้อน ที่ขาดความรอบคอบรัดกุม อันสะท้อนถึงวิธีการทำงานของภาครัฐครั้งแล้วครั้งเล่า ที่ไม่มีการประชุมหารือกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องให้ชัดเจนแน่นอน ที่ไม่ว่าอย่างไรประชาชนอย่างเราก็ทำได้แค่รอและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด!
ที่มา:
https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_1962822
https://www.tnews.co.th/contents/487022
ความเห็น 80
แทน
การปลอมแปลงทำได้ง่ายขึ้น ช่องโหว่มีเยอะ ผลเสียที่จะตามมามีเยอะ เข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลได้ง่ายขึ้น สมาร์ทโฟนมือถือจองบางคนมีราคาแพง ถ้ามันยึดมือถือ กิเลสหนาครอบงำ ท่านคิดว่ามันมีตำหวดดีทั้งประเทศงั้นเลยหรือ เลว ชั่วช้าสามานก็มีโคตรเยอะในสถานีตำหวดต่อหนึ่งสถานี คนทั้งประเทศ ยากจน ปานกลาง ร่ำรวย บนดอย ในป่าในเขา ใช้สมาร์โฟนกันหมดทุกคนงั้นหรือ ปัดโธ่ อย่าให้มันเป็นเหมือนห้ามนั่งท้ายรถกระบะ ให้ไปได้สองคนเลยท่าน
23 ธ.ค. 2561 เวลา 06.47 น.
สัน
สรุปก็เงินเป็นใหญ่ ปรับ ปรับ ใช้เงิน ยิ่งมีเงินเยอะ ก็ผิดได้ คนจนๆ จะจ่ายที อึ้ง พกหลายๆใบ ยังดีกว่า เป็น app คนบ้านนอก มันพกโทรศัพท์ ไปไร่ ไปสวนเหรอ
23 ธ.ค. 2561 เวลา 06.44 น.
แทน
ถ้ามันยึดมือถือกูละ จะทำไง บางคนก็มีมือถือมีมูลค่าแพง แล้วคนทั้งประเทศทุกคนใช้สมาร์ทโฟนทุกคนหรอ อ้าวเฮ้ย มีช่องว่างอีกเยอะเลยที่จะมีการปฏิบัติหน้าที่ของตำหวดที่ไม่สุจริตโปร่งใส กับใบขับขี่ดิจิตอลนี้ ผลเสียมีอีกเยอะ อย่าให้มันเป็นเหมือนห้ามนั่งท้ายกระบะ เลยครับท่าน
23 ธ.ค. 2561 เวลา 06.41 น.
Chamlong
ดีมากครับเป็นการพัฒนาไปทิศทางที่ดีเราต้องกล้าที่จะเปลี่ยนแปลงเราต้องใจกว้างด้านความคินเพราะทุกวันนี้เรามีเทคโนโลยีเกื่อบจะทั้งกมดแล้วเราต้องก้าวให้ทันโลกอนาคต
21 ธ.ค. 2561 เวลา 03.00 น.
จะบอกว่าอย่าพึ่งร้อนรนรนรานไปคุณตำหวด จะยึดทำไมใบขับขี่อ่ะ ถ้าคนขับทำผิดออกใบสั่งสิครับ เดี๋ยวเขาก็ไปจ่ายค่าปรับกันเอง ถ้าไม่จ่ายก็ต่อใบขับขี่ไม่ได้ แล้วจะคิดเล็กคิดน้อยไปทำไม หรือว่าจะเสียผลประโยชน์หรืออย่างไร..คิดระบบให้มันครอบคุมสิครับ
ถ้าคิดไม่ออก เดวจะบอกให้ว่าทำยังไง อย่าแกล้งโง่สิ
กุละเบื่อ ...ฉี๋ละมะฉี๋ตู้ยิ่ง..
21 ธ.ค. 2561 เวลา 02.10 น.
ดูทั้งหมด