โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

จิตวิทยาการมีชีวิตที่ดี - หมอเอิ้น พิยะดา

THINK TODAY

เผยแพร่ 22 พ.ค. 2562 เวลา 11.15 น.

“ผู้คนเริ่มตระหนักว่า ความสำเร็จนั้นต้องการมากกว่าความสามารถทางเชาว์ปัญญา

หรือความรู้ความเชี่ยวชาญทางด้านเทคนิค และเราต้องการทักษะอีกชนิดหนึ่งเพื่อที่จะอยู่รอดและเจริญก้าวหน้าได้

ในตลาดงานที่มีการเปลี่ยนแปลง และการแข่งขันที่รุนแรง นั่นคือ คุณภาพภายในตัวเราที่จะฟื้นตัวจากความเครียดได้

มีความคิดริเริ่มที่ดีได้ มองโลกในแง่ดีได้ และมีความสามารถในการปรับตัวได้ดี”

โดย : ดานเนียล โกลแมน ผู้เขียนหนังสือ Emotional Intelligence

คำกล่าวนี้แม้จะถูกกล่าวขึ้นเมื่อยี่สิบปีก่อน แต่กลับเข้ากับบริบทของความสุขและความสำเร็จในการทำงานหรือการทำธุรกิจในยุคปัจจุบัน ที่ตลาดเปลี่ยนแปลงเร็ว การแข่งขันสูง กำไรน้อย แสดงให้เห็นว่า ปัจจัยภายนอกที่มากระตุ้นความเครียดของคนทำงานในยุคปัจจุบันมีมากขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยที่เราควบคุมไม่ได้ 

การควบคุมปัจจัยภายในตัวเราเองได้จึงเป็นสิ่งสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ

ที่จะทำให้เรามีความสุขและประสบความสำเร็จ

ใช่แล้วคะเรากำลังจะพูดถึงการพัฒนาทักษะ ความฉลาดทางอารมณ์ Emotional Intelligence

ที่เราสามารถฝึกฝนได้ แต่หุ่นยนต์อาจยังทำไม่ได้

 ความฉลาดทางอารมณ์ มีพื้นฐานอยู่บน 5 เรื่องหลักคือ

1. การมีความตระหนักรู้ในตัวเอง ( Self Awareness)

การรู้ว่าตัวเองรู้สึกอะไร คิดอะไร ลงมือกระทำไปเพราะอะไร สิ่งที่ทำอยู่มีความหมายต่อชีวิตอย่างไร

เรามีจุดแข็งอะไรที่ควรรักษาและดึงมาใช้ เรามีจุดอ่อนอะไรที่ควรพัฒนา

ปัญหาของการไม่มีความตระหนักในตัวเอง เช่น เราอาจจะมีปัญหากับเพื่อนร่วมงานเพราะเกิดความกังวลเรื่องงานแล้วใช้ความกังวลนั้นในการควบคุม หรือก้าวก่ายงานของคนอื่น เผลอหงุดหงิดใส่ลูกเพราะเพิ่งมีปัญหากับสามี

เป็นต้น

2. การรู้จักควบคุมตัวเอง ( Self Regulation)

รับรู้และยอมรับปัญหาและความยากลำบากที่อาจจะเกิดขึ้นในระหว่างการเดินทางไปสู่เป้าหมาย

การมีเบรกของความคิดและอารมณ์เมื่อประสบกับปัญหา

มีความสามารถในการฟื้นคืนความเศร้าหมอง และจัดการอารมณ์อย่างเหมาะสมถูกที่ถูกเวลา

ปัญหาของการที่เราไม่ฝึกทักษะการควบคุมตัวเองคือ เราอาจมีโอกาสจมดิ่งกับอุปสรรคและปัญหา

จนสุดท้ายอาจกลายเป็นโรคได้ในที่สุด

3. การมีแรงจูงใจ ( Motivation) 

การที่เรามองเห็นเป้าหมายของงานและชีวิต แล้วพัฒนาตัวเองเพื่อให้บรรลุเป้าหมายนั้น

ปัญหาของการไม่ฝึกการมีแรงจูงใจคือ เราอาจรู้สึกท้อแท้หรือท้อถอยได้ง่ายและอาจนำมาซึ่งความล้มเหลวในงานหรือธุรกิจ

4. ความเข้าอกเข้าใจ/ เห็นใจคนอื่น ( Empathy)

การตระหนักถึงความคิดความรู้สึกของผู้อื่นโดยปราศจากการตัดสินความถูกผิด

ให้ความเคารพในความแตกต่าง นอกจากมิตรภาพแล้วยังนำมาซึ่งการดึงศักยภาพของกันและกัน

ปัญหาของการที่เราไม่ได้ฝึกการเข้าอกเข้าใจ คือ เราจะมีความทุกข์กับคำว่า ทำไม? กับคนรอบข้าง และสร้างความสัมพันธ์ที่ห่างเหิน สุดท้ายแล้วเราเองที่จะรู้สึกโดดเดี่ยวแม้จะแวดล้อมด้วยผู้คนมากมาย

5. ทักษะสังคม ( Social Skill)

การรู้จักสื่อสาร และบริหารจัดการความสัมพันธ์ ทั้งกับตัวเอง ครอบครัว ชุมชน และสังคม

ปัญหาของการที่เราไม่ได้ฝึกทักษะสังคม เราจะไม่สามารถใช้ศักยภาพที่เรามีได้อย่างเต็มที่

การที่เราได้มีโอกาสแสดงความคิด แสดงความสามารถ และเชื่อมโยงกับผู้คน เป็นหนทางที่จะทำให้เราได้เห็นคุณค่าในตัวเอง และความหมายของการมีชีวิตได้ง่ายขึ้น

ดังนั้นไม่ว่าเราจะนิยามการมีชีวิตที่ดีของตัวเองไว้ว่าอย่างไร มีงาน มีเงิน มีความรัก มีครอบครัว 

มีชื่อเสียง ถ้าอยากให้สิ่งเหล่านั้นยั่งยืน ในปัจจุบันแค่ฉลาดทางความคิดอาจยังไม่พอ

การพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ของตัวเอง จึงเป็นส่วนประกอบที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของการมีชีวิตที่ดี

https://youtu.be/MAUA5ZUK32o 

อาหารกาย อาหารใจ อาหารความคิดที่ได้จากการเที่ยวภูเก็ต

https://youtu.be/X8J9DJKLUCs

เพลงนี้ดีต่อใจ รักเท่าไรก็ยังไม่พอ

https://youtu.be/Fim6BwyP3MY

Pain ship มาเป็นมิตรกับสภาพแวดล้อมที่เงียบเหงา

---------------------------------------------------------------------------- 

Page FB ดีต่อใจ โดย หมอเอิ้น พิยะดา : https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=10156783544953550&id=306538978549

----------------------------------------------------------------------------

IG :https://www.instagram.com/earnpiyada/

----------------------------------------------------------------------------

Website : http://www.earnpiyada.com/

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0