โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

ครบรอบ 14 ปี ผ่าตัดแฝดสยาม 'หัวใจ-ตับ' ติดกัน รอดปลอดภัยทั้งคู่ : เสาร์นี้ในอดีต

LINE TODAY ORIGINAL

เผยแพร่ 19 ก.พ. 2564 เวลา 17.00 น. • O.J.

เมื่อพูดถึง ‘แฝดสยาม’ หลายคนคงนึกถึง ‘อิน-จัน’ ฝาแฝดที่โด่งดังไปทั่วโลก ซึ่งทั้งคู่ใช้ชีวิตโดยมีหน้าอกติดกันและใช้ตับร่วมกัน นับว่าเป็นฝาแฝดคู่แรกของโลกที่สามารถดำรงชีพเหมือนคนปกติจนถึงวินาทีสุดท้าย 

แต่ถ้าหากผู้อ่านยังจำกันได้เมื่อ 14 ปีก่อน คนไทยต่างฮือฮากับวงการแพทย์ไทยเป็นอย่างมากในการผ่าตัดแยกแฝดสยามสำเร็จถือเป็นครั้งแรกของโลก

เสาร์นี้ในอดีต : จะพาย้อนไปเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2550 ทีมแพทย์ศิริราช ได้แถลงความสำเร็จ สามารถผ่าตัดแยกร่างแฝดสยาม 'ปานตะวัน-ปานวาด' ขณะนั้นมีอายุเพียงวัย 8 เดือน นับเป็นครั้งแรกของโลกที่หลังผ่าตัดแยกร่างแล้วมีชีวิตรอด โดยใช้เวลาผ่าตัดนานถึง 12 ชม.

'ปานตะวัน-ปานวาด' เป็นแฝดสยายที่มีลำตัวด้านหน้าติดกันตั้งแต่บริเวณทรวงอกลงมาถึงผนังหน้าท้อง ซึ่งอวัยวะภายในที่ติดกัน 2 ส่วน คือ ‘ตับและหัวใจ’ โดยมีตับติดกันเป็นบริเวณกว้าง รวมทั้งมีหัวใจเชื่อมต่อกันด้วย โดยหัวใจห้องบนขวาของแฝดพี่ ปานตะวัน เชื่อมกับหัวใจห้องบนซ้ายของแฝดน้อง ปานวาด และมีเลือดจากปานตะวันไหลผ่านมายังปานวาดตลอดเวลา

วินาทีชีวิตของ 'ปานวาด-ปานตะวัน' 

20 กุมภาพันธ์ 2550 นับเป็นวันที่บีบคนหัวใจผู้เป็นพ่อแม่ของ 'ปานตะวัน-ปานวาด' โดยทีมแพทย์ได้ลงความเห็นว่าจะผ่าตัดแยกร่าง ซึ่งจากการตรวจสอบร่างการของแฝดสยามพบมีสิ่งที่เชื่อมต่อกันถึง 2 จุด ที่ต้องระวัดระวังเป็นอย่างมาก 

โดยการผ่าแยกแฝดสยามปานวาด-ปานตะวัน เริ่มตั้งแต่การดมยาสลบจนทารกทั้งคู่ออกจากห้องผ่าตัด ใช้เวลาทั้งสิ้นประมาณ 12 ชั่วโมงเศษ ใช้ทีมงานทั้งสิ้น 61 คน เป็นวิสัญญีแพทย์ 14 คน ศัลยแพทย์หัวใจ 5 คน ศัลยแพทย์ตกแต่ง 7 คน กุมารศัลยแพทย์ 5 คน และพยาบาลห้องผ่าตัด 30 คน ซึ่งจุดสำคัญของการผ่าตัดในครั้งนี้คือในส่วนของ 'หัวใจ' 

ศ.คลินิก นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล 1 ในทีมแพทย์ที่ร่วมผ่าตัดครั้งสำคัญเผยว่า หัวใจของ ปานวาด-ปานตะวัน มีเลือดไหลเวียนซึ่งกันและกัน จุดนี้เองที่ทำให้ทีมแพทย์ต่างวิตกกังวลหวั่นเป็นอันตรายแก่เด็กทั้ง โดยกุมารแพทย์ใช้วิธีสวนหัวใจด้วยสายสวนติดบอลลูนเพื่อเข้าไปปิด บริเวณรอยเชื่อมต่อของหัวใจเสมือนเป็นการแยกหัวใจชั่วคราว ปรากฏว่าไม่เกิดผลเสียต่อทารกทั้งสองแต่อย่างใดจึงตัดสินใจผ่าตัดแยกร่าง

ซึ่งหลังจากแยกหัวใจสำเร็จ ปานตะวันแฝดพี่ไม่มีปัญหาอะไร แต่ปานวาดซึ่งเป็นแฝดน้องนั้นหัวใจด้านบนมีช่องรั่วอยู่เล็กน้อยไม่รุน แรงมาก ซึ่งช่องนี้ไม่สามารถปิดโดยใช้เครื่องมือได้ ต้องผ่าตัดปิดเท่านั้น และคาดว่าจะผ่าตัดปิดให้ได้เมื่อเด็กเติบโตมากกว่านี้ ซึ่งในช่วงที่ยังไม่ได้ผ่าตัดจะต้องให้ยารักษา

แล้วทำไมแฝดติดกัน ? 

แฝดตัวติดกันเกิดจากไข่ที่ได้รับการผสมเพียงใบเดียว ดังนั้นฝาแฝดประเภทนี้จึงเป็นแฝดแท้ที่มีรูปร่างหน้าตาเหมือนกันเสมอ ในทางการแพทย์มีคำอธิบาย 2 ทฤษฎีที่ชี้ว่าเหตุใดแฝดบางคู่จึงมีร่างกายเชื่อมติดกันได้ ซึ่งอาจเกิดจากการแบ่งเซลล์แยกเป็นตัวอ่อน 2 ตัวที่ล่าช้าเกินไป ทำให้มีอวัยวะบางส่วนแยกกันไม่ขาด หรือไม่ก็เกิดการแยกตัวอย่างสมบูรณ์แล้ว แต่บางส่วนของตัวอ่อนยังคงสัมผัสกันอยู่ ทำให้เซลล์เกิดเชื่อมประสานกันเมื่อตัวอ่อนเติบโตขึ้น

"ทั้งนี้จากการทีมแพทย์ได้สืบค้นข้อมูลวารสารทั่วโลกพบว่า ยังไม่พบว่ามีการผ่าตัดเด็กแฝดที่ตัวติดกัน หัวใจติดกัน ผนังหัวใจติดกัน และตับติดกัน แล้วรอดชีวิตทั้งคู่ ดังนั้น ปานวาด-ปานตะวัน น่าจะเป็นครั้งแรกในโลกที่ รพ.ศิริราช ผ่าตัดแยกแฝดสยามที่มีหัวใจติดกันและตับติดกันเป็นผลสำเร็จ"

ซึ่งปัจจุบัน "ปานวาด-ปานตะวัน" เติบโตเป็นเด็กที่แข็งแรงและสามารถใช้ชีวิตได้ปกติเหมือนกับเด็กทั่วไป  

อ้างอิง

clinicdek.com , komchadluek.net , wikipedia.org. , vburabhaOfficial , BBC

ขอบคุณภาพ ไทยรัฐ

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0