เชื่อว่าหลายคนมี ‘ตัวตลก’ สิ่งที่สั่นประสาท ทำให้ใจอยู่ไม่สุข อะไรสักอย่างที่ซ่อนอยู่ในมุมลึกสุดของอดีต อาจเป็นความทรงจำที่ตั้งใจเก็บ ปิดบังต่อตัวเองและคนรอบข้าง แล้วลืมไปหมด ปิดกั้นไม่ให้ ‘ความน่าสะพรึงกลัว’ มาหลอกหลอนในชีวิตจริงและปัจจุบัน
It (2017) และ It: Chapter Two (2019) ของ Stephen King สตีเฟ่น คิง นักเขียนนิยายสยองขวัญในตำนาน ดึงประเด็นเรื่องผลกระทบจาก ’ความกลัว’ ในอดีตต่อรอยต่อระหว่าง ‘วัยเยาว์’ กับ ‘วัยผู้ใหญ่’ เมื่อลองมองย้อนกลับไป มาเล่นผ่านตัวตลก หรือสัญลักษณ์แห่ง ‘ความไม่แน่นอน’ อย่าง Pennywise เพนนีไวส์ ได้อย่างน่าจดจำและระทึกขวัญไปตามกลุ่มเด็กๆขึ้แพ้ Losers Club ซึ่งในภาคสอง กลายเป็นผู้ใหญ่ที่ลึกๆ ยังไม่สามารถ ‘ตกลง’ กับตัวเองเรื่องอดีตที่ผ่านมาได้เลย
จากการอ่านนิยาย It (1986) ที่รวมหนังทั้งสองภาคเข้าด้วยกัน เราค้นพบคำคมและประโยคเด่นๆ ที่บ่งบอกลักษณะนิสัยตัวละครและสะท้อนประเด็นหลักของหนัง รวมถึงความคิดของตัวคิงเอง มาเดิน ‘เข้าถ้ำ’ ตามกลุ่มเด็กขี้แพ้ไปหา ‘ร่องรอย’ ความคิดที่คาใจกันเถอะค่ะ
“Now he had to go back to being himself, and that was hard - it got harder to do that every year. It was easier to be brave when you were someone else. - ช่างยากที่ต้องกลับไปเป็นตัวเองอีกตอนนี้ ยากขึ้นทุกปี มันง่ายกว่าที่จะกล้าหาญเมื่อเป็นคนอื่น” Richie Tozier ริชชี่ โทเซอร์ (Bill Hader บิล เฮเดอร์ในหนัง) คิดกับตัวเองขณะขับรถกลับไปสู่เดอร์รี่ ที่ๆทุกอย่างเริ่มต้น ตามคำขอของไมค์
ริชชี่เติบโตไปเป็นนักแสดงตลกเดี่ยว ผู้มีชื่อเสียง หากโดดเดี่ยว และลึกๆ มีความลับซ่อนในใจอยู่ (ที่หนังใบ้ให้ผู้ชมในตอนจบ แต่ไม่เคยให้ริชชี่ออกปากพูดจริงจัง) เขาสะดวกและสบายใจกว่าที่จะสวมรอยเป็นคนอื่น แสดงเสแสร้งไปตามบทหรือสถานการณ์ที่กำหนด แทนที่จะเผชิญหน้า ตั้งสติ และยอมรับ ‘ตัวตน’ ของตนเอง ในสิ่งที่ตัวเองเป็น และความรู้สึกจริงๆ ที่ตัวเองมี ทั้งต่อตัวเองและผู้อื่น ด้วยถูกแรงกดดันจากสังคมในวัยเด็ก และติดตัวมาจนปัจจุบัน
การหวลกลับสู่ถิ่นเดิมในวัยผู้ใหญ่ เป็นเหมือน ‘สัญญาณ’ ที่สะกิดริชชี่จาก ‘หมอกควัน’ ที่เขาห้อมล้อมตัวเองไว้ในปัจจุบัน หนึ่งในบทเรียนที่ต้องก้าวผ่านและทำให้สำเร็จก่อนพิชิตเพนนีไวส์ คือการเป็นตัวของตัวเอง (อย่างที่ริชชี่เป็นในตอนจบของหนัง เมื่อเขาปลดปล่อยอารมณ์เรื่องความสูญเสียเอ็ดดี้ และสลักชื่ออักษรย่อของทั้งคู่ R+E ไว้บนแผ่นไม้)
*Bill Denbrough บิล เดนโบร์ ก็กล่าวประโยคคำตอบของสาเหตุที่กลุ่มเด็กขึ้แพ้กลับไปยังเดอร์รี่: *
*“Why would a person do that, Bill? Why would a person go back into the nightmare of her own accord?” *
*Bill said, “The o-o-only reason I can f-figure is that p-people go back to f-f-find thems-s-selves.” *
“ทำไมคน ๆ นึงถึงทำงั้นละบิล ทำไมถึงจงใจกลับไปเจอฝันร้ายเอง?”
บิลตอบว่า “เหตุผลเดียวที่ฉันคิดออก ก็คือคนกลับไปเพื่อหาตัวเองให้เจอ”
มาดูฝั่งพระเอกของเรากันบ้าง ในหนังสือ ออดร้า Audra ภรรยาของบิล มีบทบาทมากขึ้น (ซึ่งเป็นอีกพล๊อตเสริม ที่ถูกตัดไปจากหนัง เมื่อทั้งออดร้าและสามีของเบฟตามไปเดอร์รี่ด้วย) และบิลมีเวลาในการบอกเธอเรื่องอดีตและเหตุผลที่เขาต้องทิ้งชีวิตในกองถ่ายกระทันหันมากกว่าในหนัง
“We were all bleeding - เราเลือดออกกันหมด,” he said เขาว่า, “We were standing in the water not far from where Eddie Kaspbrak and Ben Hanscom and I built the dam at that time - ตอนนั้นเราอยู่ไม่ไกลจากที่เอ็ดดี้ คาสบราคและเบน ฮานสคอม และผมสร้างเขื่อน“ เขาเล่าให้ออดร้าฟัง เราประทับใจคำพูดของบิลที่ว่า ‘เราเลือดออกกันหมด’ โดยรวมกลุ่มเด็กขึ้แพ้เป็นกลุ่มเดียวจากสรรพนาม ‘เรา’ และเป็นภาษาที่ทำให้คนอ่าน ‘เห็นภาพ’ ตามบิล นึกถึง ‘อิท’ เป็น ‘ความทรงตำเปื้อนเลือด - blood soaked memory’ เช่นเลือดซิบๆ จากแผลเป็นบนฝ่ามือหลังถูกกรีดด้วยคอขวดเพื่อสาบานในฉากจบของ It (2017)
ที่น่าสนใจกว่าการใช้ภาษาของบิลคือกระบวนการความคิดของเขา และเส้นทางอาชีพที่เขาเลือกเมื่อเป็นผู้ใหญ่ นักวิจารณ์หลายสำนักเห็นตรงกันว่าบิลเป็นตัวแทนของสตีเฟ่น คิงเอง (ทำให้ฉากที่คิงปรากฎตัวในร้านขายของเก่าเจ๋งมากๆในความคิดเรา) ทั้งความเป็นนักเขียน และนิยายสยองขวัญโด่งดังมากมายที่มักตกม้าตายตอนจบ (มาจากคำติเตียนนิยายของคิง)
*“He could feel them settling into their accustomed places, their feverish bodies jostling each other…. Here we are inside Bill’s head again! Let’s think about George! Okay! Who wants to start? *
*You think too much, Bill. *
*No, that wasn’t the problem. The problem was, he imagined too much.” *
“เขารู้สึกถึงความคิดที่ทิ้งตัวลงในที่ๆของมัน มวลร้อนรุ่มเบียดเสียดกันไปมา… เราอยู่ในหัวบิลอีกแล้ว! คิดถึงจอร์จกันดีกว่า! โอเค! ใครอยากเริ่มก่อน?
นายคิดมากไปนะ บิล
ไม่ นั่นไม่ใช่ปัญหา ปัญหาคือ เขาคิดไปเองมากไป”
ในฐานะนัก(อยาก)เขียน(และคนคิดมากคนหนึ่ง) ที่อาจปล่อยความคิดหลุดลอยจนวนเวียนกันไปมาเสียยุ่งเหยิง เราเป็นเหมือนบิล และคิงตรงนี้ ความคิดมัก ‘ออกเสียง’ กันเอง ตีกันในหัวของคนๆเดียว และทำให้เราว่าตัวเองว่าคิดมากอีกแล้ว ก่อนจะค่อยๆรู้ตัวว่า สิ่งที่ทำให้ทุกข์หนักกว่าการคิดมาก คือการคิดวาดภาพ คิดไปเองต่างๆนานามากเกินไป ทั้งที่เหตุการณ์ยังไม่เกิดขึ้นจริง เป็นเหตุการณ์ในอดีตที่กลับไปแก้ไขไม่ได้ (เหมือนที่บิลวางเรื่องจอร์จจี้ไม่ลง) หรือเป็นเหตุการณ์ที่วาดภาพวางฉากและตัวละครขึ้นเองจากคำและประโยคที่จำจนฝังและกัดกินใจ ถึงไม่รู้ว่าความจริงเป็นอย่างไร ก็อดทรมานตัวเองด้วย ‘ถ้างั้น… หรือหรือว่า… What If / Might have’ ไม่ได้
ในขณะที่เรายังหลงอยู่ในความคิดของตัวเอง เวลาก็ผ่านไปจนเกือบไม่ทันรู้สึกตัว อีกประโยคของคิงนิยาม ‘การเติบโต’ ผ่านนิยายอิทได้อย่างชัดเจนและสวยงาม:
*“The kid in you just leaked out, like the air out of a tire. And one day you looked in the mirror and there was a grown up looking back at you…. It all happened while you were asleep, maybe.” *
“เด็กน้อยในตัวคุณเล็ดลอดออกมา เหมือนลมปล่อยออกจากยาง และวันหนึ่งคุณมองในกระจก ก็มีผู้ใหญ่มองกลับมา ทั้งหมดคงเกิดขึ้นเมื่อคุณหลับไปละมั้ง”
จู่ๆ เราก็โตขึ้น จู่ๆ กลุ่มเด็กขึ้แพ้ก็กลายเป็นผู้ใหญ่ขึ้แพ้ที่แบกสัมภาระแผลใจ ความคิด ความรู้สึกผิดและปัญหาที่คิดว่าแก้ไขไม่ได้จากวัยเด็กมาสู่ชีวิตวัยผู้ใหญ่ด้วย อีกภาพในหัวเราเมื่อเด็กน้อย ‘เล็ดลอด’ หนีออกไป ก็เหมือนลูกโป่งสีแดงที่ถูกปล่อยลม เหมือนวัยเด็กที่หายไปและคว้ากลับมาไม่ได้
จะมีก็แต่ ‘ความทรงจำ’ ที่ติดตัว มากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับแต่ละคน Misery (1987) นิยายอีกเรื่องของคิง กล่าวถึงนักเขียนผู้ถูกลักพาตัวโดยหญิงผู้เคลมว่าตนเป็น ‘แฟนพันธุ์แท้’ ของเขา กล่าวถึง ‘ความทรงจำของนักเขียน’ ซึ่งมีความละเอียดอ่อนและหนักหนาในความคิดของคนหัวใจศิลป์คนหนึ่ง เช่นบิล ที่นำ ‘ความกลัว’ สมัยเด็กมาเขียนเป็นนิยายสยองขวัญเป็นเล่มๆ เช่นเราเอง ที่สร้างงานเขียนขึ้นจากการค้นคว้าหาสิ่งเกี่ยวข้องในประสบการณ์ชีวิตที่ผ่านมา:
*“Writers remember everything…especially the hurts. Strip a writer to the buff, point to the scars, and he'll tell you the story of each small one. From the big ones you get novels. A little talent is a nice thing to have if you want to be a writer, but the only real requirement is the ability to remember the story of every scar.Art consists of the persistence of memory.” *
“นักเขียนจดจำทุกอย่างได้ โดยเฉพาะบาดแผล ปลดเปลื้องนักเขียนจนเหลือแต่หนังหุ้มกระดูก ชี้ไปที่แผลเป็น แล้วเขาจะเล่าเรื่องของแต่ละแผลรอยเล็กให้คุณฟัง แผลรอยใหญ่คุณจะได้นิยาย พรสวรรค์นิดหน่อยน่ะ มีไว้ก็ดีหากคุณอยากเป็นนักเขียน แต่สิ่งเดียวที่ควรมีจริงๆคือความสามารถในการจำเรื่องราวของทุกแผล
ศิลปะคือความทรงจำที่ฝังแน่น”
ความเห็น 1
ผมคิดว่าทุกเรื่องที่ได้กล่าวมานั้น อาจจะเป็นการสื่อให้รู้ถึงในเรื่องของความคิดหรือปล่าว เพราะว่าความคิดนั้นย่อมสามารถที่จะเครื่องนำพาชีวิตให้ประสบกับความสำเร็จหรือว่าผิดหวังได้อยู่เสมออย่างนั้นหรือปล่าว.
11 ต.ค. 2562 เวลา 08.43 น.
ดูทั้งหมด